ผู้เขียน หัวข้อ: Startup เส้นทางธุรกิจแบบใหม่ที่ใครก็เริ่มทำได้  (อ่าน 807 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
ถ้าได้ติดตามข่าวสารในวงการไอทีช่วงนี้จะได้ยินคำว่า Startup บ่อยมาก ๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Startup คืออะไร จะเริ่มต้นยังไง ลองมาอ่านบทความนี้ได้ครับ บทความนี้เหมาะกับคนที่อยากเปิดธุรกิจของตัวเองมาก ๆ ครับ
Startup หมายถึง บริษัทเปิดใหม่ โดยมากจะใช้ในบริษัทวงการไอที ซึ่งมีที่มาจากสถานที่แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า Silicon Valley เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอทีชั้นนำต่าง ๆ มากมาย โดยใน Silicon Valley จะมีผู้ที่สนใจเปิดบริษัทอยู่เยอะ และนักลงทุนก็เยอะอีกด้วย
บริษัทไอทีดัง ๆ ระดับโลกหลายแห่งก็ผ่านการเป็น Startup มาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google, Zynga และอีกหลายบริษัท
 Startup ดีตรงที่มีนักลงทุน! หลายคนอาจสงสัยว่า Startup ก็เป็นธุรกิจเปิดใหม่ธรรมดา ไม่ต่างอะไรกับ SME (Small and Medium Enterprise – วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง) ไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมช่วงนี้คนถึงสนใจมาทำ Startup กัน
Startup จะหมายถึงธุรกิจที่วางแผนมาเพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดด (นึกถึง Facebook ดูครับ เติบโตเร็วมาก) ซึ่งแน่นอนว่าถ้าจะทำให้ธุรกิจออกมาดีเราก็ต้องมีบุคลากร ต้องใช้เงินทุน แล้วเงินทุนจะมาจากไหน? คำตอบ คือ นักลงทุน (Investor) ครับ
ธุรกิจ Startup จะมีประเพณีในการหาเงินทุนด้วยการขอเงินจากนักลงทุน ซึ่งแน่นอนว่านักลงทุนก็ไม่ได้จะให้เงินเราฟรี ๆ หรอกครับ เค้าก็จะได้สิทธิ์ในการแบ่งปันรายได้ หรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทไปด้วย
ประเภทของนักลงทุนก็มีหลายแบบนะครับ หลัก ๆ เลยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ Angel Investor กับ Venture Capital
 Angel Investor นักลงทุนเทพบุตร Personal finance height=339
นักลงทุนประเภท Angel Investor จะลงทุนแบบควักเนื้อตัวเองจ่าย ให้กับ Startup ที่ยังเพิ่งเริ่มต้นครับ ซึ่งถ้าเค้าเห็นว่าไอเดีย Startup นี้น่าสนใจ น่าลงทุน เค้าก็จะให้เงินเราเอาไปต่อยอดในการจ้างบุคลากร ซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเอามาพัฒนาสินค้าของเราให้เสร็จครับ สินค้าในที่นี้อาจจะเป็น App, Web App ก็ได้นะครับ
Angel Investor จะเป็นผู้ที่ค่อนข้างยอมเสี่ยงในการลงทุน เพราะเค้าจะยอมควักกระเป๋าตั้งแต่ช่วงที่ Startup ของเรายังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเงินลงทุนครั้งนึงก็ระดับแสน – ล้านบาทครับ ไม่ใช่น้อย ๆ เลย
 Venture Capital นักลงทุนระดับเสี่ย นักลงทุนประเภท Venture Capital หรืออาจเคยได้ยินคนเรียกกันสั้น ๆ ว่า VC จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งต่างกับ Angel Investor ตรงที่จะไม่ค่อยเสี่ยงลงทุนในธุรกิจ Startup ที่อนาคตไม่แน่นอน แต่ถ้าเลือกลงทุนครั้งนึงเค้าก็ทุ่มเงินให้ในระดับร้อยล้านเลยครับ
หลายคนอาจสงสัยว่าที่นักลงทุนยอมเสียเงินหลักล้านกับธุรกิจ Startup นี่คุ้มมั้ย เราลองมาดูในเคสที่ Facebook ซื้อ Instagram ไป 1000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในขณะนั้น Instagram มีนักลงทุนลงเงินไปทั้งหมด 100 ล้านเหรียญเท่านั้น ที่เหลืออีก 900 ล้านเหรียญก็เป็นกำไรล้วน ๆ แบ่งกันเหลือเฟือครับ
 เราควรจะทำ Startup หรือเปล่า พออ่านบทความนี้กันแล้วอาจจะทำให้หลายคนอยากออกจากงานมาเปิด Startup เอง อันนี้เป็นความคิดที่ดีนะครับ เพราะถ้าอยากทำ Startup จริงจังก็ต้องออกจากงานประจำมาทำให้เต็มที่ ผมเคยอ่านเจอประโยคหนึ่งที่มีคนมาพูดในงานเกี่ยวกับ Startup งานหนึ่งในไทย ว่า:
 <blockquote>
“การทำ Startup คือการยอมใช้ชีวิตไม่เหมือนคนทั่วไปสองปี เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่คนทั่วไปไม่มีไปจนตาย”
</blockquote>
อ่านประโยคนี้จบแล้วผมอยากทำ Startup ขึ้นมาเลยครับ ดูเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมาก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ใช่คนที่จะลงทุนมั่ว ๆ นะครับ เค้าต้องเลือกลงทุนธุรกิจที่จะคืนเงินเค้า และให้กำไรกับเค้าได้ นั่นทำให้ 75% ของ Startup ล่มครับ
Quote สำหรับ Startup height=378
“Startup เหมือนกระโดดลงจากเหว แล้วสร้างปีกระหว่างกำลังตกลงมา”
ไม่อยากให้อ่านแล้วคิดว่า Startup เป็นธุรกิจในฝัน แค่มีไอเดียเด็ด ๆ ก็ได้เงินแล้ว ไม่ใช่นะครับ ต้องมีแผนธุรกิจ ต้องมีทีม ซึ่งนักลงทุนจะดูที่บุคลิกของคนในทีมด้วยครับ บางครั้ง VC ใหญ่ ๆ ถึงกับยอมจ่ายเงินเพื่อให้เจ้าของ Startup บินไปเจอเค้าที่อเมริกา เพื่อดูว่าคุณเป็นคนที่เค้าอยากลงทุนด้วยหรือเปล่า
ผมมีคนรู้จักเรียนจบแล้วมาทำ Freelance พร้อมกับ Startup ไปด้วยครับ ผ่านมา 1 ปีตอนนี้ได้ข่าวว่าโปรเจค Startup หยุดชั่วคราว ถ้าใครสนใจจะทำอยากให้ลองคิดไว้ด้วยนะครับว่าช่วงที่ทำ Startup เราจะมีรายได้จากทางอื่นยังไงบ้าง เพราะกว่าจะทำสินค้าตัวอย่าง กว่าจะออกไปตามหานักลงทุนมาร่วมได้ก็ใช้เวลาหลายเดือน หรือเป็นปีเลยทีเดียว ถ้าเราอดตายก่อนก็จบครับ
สุดท้ายนี้ผมมีเทคนิคมาแนะนำในการเทสไอเดียของ Startup ที่เราจะทำครับ ว่าสิ่งที่เราจะทำเนี่ย User จะชอบจริงมั้ย
เทคนิคการทดสอบไอเดีย Startup แบบประหยัด เทคนิคนี้มาจากวีดิโอด้านล่างนี้นะครับ ท่านใดสนใจดูวีดิโอก็กดเข้าไปได้เลยครับ แต่ถ้าอยากอ่านสรุปเป็นภาษาไทยผมก็มีให้ครับ
คุณ Paul Howe เล่าในงาน Ignite ว่าเค้ามีไอเดียทำ Startup ซึ่งเป็น Application ที่เอาไว้ให้คนแชร์ของที่ตัวเองซื้อมา แล้วคนที่ซื้อของชิ้นเดียวกันก็จะมาคุยกันได้ว่าของชิ้นนี้เป็นอย่างไร ใช้แล้วดีไม่ดียังไงบ้าง ซึ่งพอเค้าไปถามเพื่อนว่าไอเดียนี้เป็นยังไง เพื่อนหลาย ๆ คนก็บอกว่า “ไอเดียดีนะ ต้องมีคนอยากใช้แน่เลย แต่ฉันคงไม่ใช้หรอก”
เค้าก็สงสัยว่า อ้าว มันดีแล้วทำไมไม่ใช้ สรุปมันดีหรือไม่ดีกันแน่ เค้าเลยคิดหาวิธีเทสไอเดียก่อนเริ่มทำ Application จริง โดยการใช้ Greasemonkey
Greasemonkey เป็นปลั๊กอิน Chrome/Firefox ที่เราสามารถเขียนสคริปต์ในการใส่อะไรเข้าไปในหน้าเว็บที่เราต้องการก็ได้ และเลือกได้ด้วยว่าจะให้โผล่หน้าไหน ซึ่งเค้าก็หาฟรีแลนซ์มาเขียนปลั๊กอินในการเพิ่ม Feed ใน Facebook ว่าเพื่อนของคุณเพิ่งซื้อสินค้าตัวนี้ไป + เพิ่มตัวอย่างเว็บเค้าเข้าผลการค้นหาใน Google
Startup Idea Test by Greasemonkey height=220
ข้อจำกัด คือ สคริปต์ Greasemonkey จะแสดงเฉพาะในเครื่องเราเครื่องเดียวเท่านั้นครับ เพราะฉะนั้นเค้าต้องทดสอบโดยการเรียกคนทดสอบมานั่งหน้าคอมที่เตรียมเอาไว้ แล้วให้เค้าลองเปิด Facebook, เสิร์จ Google คีย์เวิร์ดที่เราต้องการ
ผลการทดสอบก็คือ… คนส่วนใหญ่ไม่ชอบ จาก 50 คนที่ทดสอบ มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่บอกว่าชอบ เค้าเลยยกเลิกการทำโปรเจคนี้ไป
ในขณะนั้นมีคนทำโปรเจค Startup คล้าย ๆ กันนี้อีกคน โดยเค้าไม่ทดสอบไอเดียก่อน แต่เลือกลงทุนแล้วเริ่มทำเลย ซึ่งคุณ Paul เห็นแล้วก็สงสัยว่าโปรเจคของคู่แข่งจะเป็นอย่างไรต่อไป
ผ่านไป 9 เดือน กับเงินลงทุนร่วม 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ทาง CEO ของบริษัทคู่แข่งก็โพสสเตตัสขึ้นมาว่า “เราคิดว่าคนไม่อยากแชร์ของที่ตัวเองซื้อมา จบ” โปรเจคนั้นล่มพร้อมกับเสียเงินลงทุนหลักล้านเหรียญ โดยที่ถ้าทดสอบไอเดียแบบคุณ Paul ก่อน เค้าก็จะเสียแค่ $40 ค่าจ้างเขียนสคริปต์ Greasemonkey เท่านั้น
Bad Trip 26/365 height=333
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ใครอยากทำ Startup อย่าลืมทดสอบไอเดียกันก่อนนะครับ เดี๋ยวทำเสร็จขายไม่ได้จะยุ่งครับ
Credit รูปในบทความ:
 
ที่มา: http://www.designil.com/what-is-startup-business.html