ทักษะทางสังคมที่นายจ้างส่วนใหญ่มองหาเมื่อคุณกำลังสมัครงานหลายคนมีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำถึงทักษะทางด้านอาชีพของตนเอง ซึ่งหมายถึงความรู้และความสามารถเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่สามารถให้คำจำกัดความและวัดผลเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณกำลังมองหางาน ทักษะด้านสังคมของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญพอ ๆ กันกับทักษะด้านอาชีพซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในการทำงาน ทักษะด้านสังคมเป็นสิ่งที่ให้คำจำกัดความและวัดผลเป็นรูปธรรมได้ยากกว่ามาก ทักษะด้านสังคมหมายถึง ทักษะด้านการประสานงาน หรือ “การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน” ซึ่งจะช่วยให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในที่ทำงานได้อย่างราบรื่น
บริษัทหลายแห่งมองหาผู้สมัครที่มีทักษะทั้งสองอย่างเมื่อจะจ้างคนในตำแหน่งงานใด ๆ ก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่าถ้าคุณไม่สามารถเข้ากับคนอื่น ๆ ได้ ไม่มีทัศนคติในเชิงบวก ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี และไม่สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ได้ มันก็อาจไม่สำคัญว่าคุณจะมีพรสวรรค์เก่งกาจมากเพียงใดก็ตาม
Indeed.com เว็บไซต์ชั้นนำสำหรับคนหางาน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะทางสังคมที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับคนหางานและพนักงานบริษัทดังนี้
ทักษะทางสังคมที่มีค่าต่อการทำงานสูงสุด 7 อันดับต่อไปนี้เป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญต่อการทำงานมากที่สุด 7 อันดับแรกที่ควรมีทั้งในการสัมภาษณ์งานและการทำงานจริง จากคุณไมค์ สเตนเนิร์ด (Mike Steinerd) ผู้อำนวยการฝ่ายสรรหาว่าจ้างของเว็บไซต์ Indeed:
1. การทำงานเป็นทีม
นี่ไม่ได้หมายความว่าร่วมมือกันทำงานได้เป็นอย่างดีเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงการแสดงทักษะความเป็นผู้นำออกมาเมื่อจำเป็นได้
2. ความสามารถในการปรับตัว
นี่เป็นทักษะที่มีคุณค่าเป็นอย่างมากสำหรับพนักงาน เพราะคนที่สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ใด ๆ ก็ตามได้ก็จะเป็นคนที่พึ่งพาได้ โดยไม่สำคัญว่ามีเรื่องอะไรพุ่งเข้ามาหาพวกเขาบ้าง
3. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะนี้เกือบจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับงานใด ๆ ก็ตาม การสื่อสารหมายถึงการถ่ายทอดสารที่ตนเองต้องการจะบอกออกมาได้ดี เป็นผู้ฟังที่ดี และใช้ภาษากายได้อย่างเหมาะสม
4. การแก้ปัญหาและการใช้ไหวพริบ
ไม่สำคัญว่าคุณจะทำอาชีพอะไร ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้ไหวพริบเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
5. การยอมรับคำติชม
ไม่เพียงแค่ยอมรับคำติชมด้วยความเต็มใจเท่านั้น แต่ต้องนำเอาคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นมาปรับปรุงตนเอง เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเติบโตในอาชีพ
6. ความมั่นใจเป็นกุญแจสำคัญ
การจะทำเช่นนั้นได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่คุณต้องมีความรู้และทักษะที่พร้อมจะสนับสนุนให้เกิดความมั่นใจในตัวเองได้อยู่เสมอ การมีความมั่นใจและความสามารถจะทำให้ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และลูกค้าเชื่อในสิ่งที่คุณพูด
7. การคิดเชิงสร้างสรรค์
หากคุณสามารถปรากฏตัวขึ้นพร้อมวิธีหรือทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นั่นก็ถือเป็นทักษะที่มีคุณค่าสูงอย่างประเมินค่าไม่ได้เลยทีเดียว เพราะทักษะนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวล้ำหน้าไปอีกขั้นหนึ่งและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี
จะทำให้นายจ้างรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีทักษะอะไรบ้างตอนที่คุณเขียนเรซูเม และจดหมายสมัครงาน ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่คุณต้องเขียนทักษะที่นายจ้างกำลังมองหาไว้ในเอกสารสมัครงานของคุณ หลักการนี้สามารถใช้ได้จริงเมื่อตอนที่คุณสัมภาษณ์งานเช่นกัน คุณจึงต้องอ่านทบทวนสิ่งที่อยู่ในประกาศรับสมัครงาน และเตรียมตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงทักษะเฉพาะของคุณ (ทั้งทักษะทางด้านอาชีพและด้านสังคม) ที่ตรงกับความต้องการสำหรับการทำงานนั้น
คุณต้องแน่ใจด้วยว่าได้พูดถึงทักษะทางสังคมของคุณให้ผู้สัมภาษณ์รับรู้แล้วระหว่างการสัมภาษณ์งาน แสดงให้เขาเห็นถึงทัศนคติในเชิงบวกและความกระตือรือร้นตลอดการสัมภาษณ์งาน อย่าพูดเพียงแค่ว่า คุณมีทักษะที่ทางบริษัทต้องการอยู่ คุณต้องพิสูจน์ให้พวกเขาเห็นด้วย เพราะการลงมือทำจริงสามารถทำให้คนเชื่อถือได้มากกว่าคำพูดปากเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ทำงานที่มีการแข่งขันกันสูง
Reference:
http://jobsearch.about.comที่มา:
http://www.centralsmartjobs.com/th/Home/KnowledgeDetail/88_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%207%20%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81