ผู้เขียน หัวข้อ: 10 เหตุผลที่นักศึกษาควรหางานด้วย LinkedIn  (อ่าน 729 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
 สมัยก่อน เรื่องที่นักศึกษามหาวิทยาลัยต้องกังวลนั้นมีเพียง "ค่าเทอม-ค่าติวพิเศษพอไหม", "เราจะลงวิชาไหนต่อดี", "ทำงานพิเศษจะมีเวลาเรียนไหม" และ "สอบเที่ยวนี้จะตกหรือผ่าน" แต่วันนี้ทุกคนควรจะเพิ่มคำถามว่า "วันนี้เรามี LinkedIn แล้วหรือยัง"
 
 การสร้างประวัติไว้กับบริการเครือข่ายสังคมคนทำงานอย่าง LinkedIn นั้นอาจจะห่างไกลจากความคิดของนักศึกษาส่วนใหญ่ เพราะหลายคนมองว่า LinkedIn ควรจะสร้างเมื่อหลังทำงานแล้วเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ นักสังเกตการณ์ในต่างประเทศมองว่า LinkedIn นี้เองที่จะเป็นเครื่องมือทรงพลังที่จะทำให้นิสิตนักศึกษาสามารถก้าวกระโดด ในขั้นตอนการหางานทำได้
 
 Brendan Cruickshank ผู้คร่ำหวอดในวงการหางานออนไลน์ของสหรัฐฯ ตั้งข้อสังเกตในเว็บไซต์ emergingedtech.com ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่นักศึกษาควรมอง LinkedIn ให้เป็นภาพลักษณ์นักบริหารในโลกธุรกิจ และอย่ามองเพียงว่า LinkedIn นั้นต่างจาก Facebook หรือ YouTube ที่การไม่ควรโพสต์ภาพเกเรแหวกแนวหรือข้อความไม่เข้าท่าลงไป แต่ให้มองความต่างที่ LinkedIn สามารถสร้าง personal branding หรือการสร้างชื่อที่จะเป็นใบเบิกทางสู่นายจ้างในอนาคต
       
 10 เหตุผลที่นักศึกษาควรใช้งาน LinkenIn ได้แก่ :
 
 1. เพราะเครือข่ายของตัวเองเป็นเรื่องมีประโยชน์ : แค่การลิงก์หน้า LinkenIn กับเพื่อนที่เรียนด้วยกันก็มีประโยชน์แล้ว เนื่องจากแม้จะเป็นนักศึกษาในขณะนี้ แต่อนาคตคนเหล่านี้จะแยกย้ายไปก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ในวันที่คุณต้องการความร่วมมือหรือช่วยเหลือจากพวกเขา เหล่านี้ นอกจากนี้ อย่าลืมลิงก์ LinkenIn กับอาจารย์ในภาควิชาของคุณ โดยเฉพาะคนที่คุณอาจไว้ใจขอให้เขียนจดหมายแนะนำการสมัครงาน
 
 2. ได้รู้มากขึ้น : เพียงค้นหาบุคคลที่อยู่ใน LinkedIn ซึ่งทำงานเป็นมืออาชีพในสายงานที่คุณสนใจอยู่แล้ว คุณก็จะได้รู้ว่าบุคคลเหล่านี้ผ่านงานและประสบการณ์ใดกว่าจะเป็นตัวจริงใน สายงานนั้น ไม่แน่นักศึกษาอย่างคุณจะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางอาชีพของคุณให้เข้ากับบุคคล ตัวอย่างคนนี้
 
 3. เตรียมสัมภาษณ์ได้ : เมื่อถูกนัดสัมภาษณ์งาน ลองอ่านประวัติบุคคลที่จะสัมภาษณ์คุณไปก่อนคร่าวๆ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้คุณมีข้อมูลพื้นฐานในการสัมภาษณ์ได้ แถมถ้าโชคดียังสร้างความประทับใจแรกพบให้กับเจ้านายในอนาคตก็ได้
 
 4. มีคนอ้างอิง : เครือข่ายสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ว่าคุณรู้จักใคร และใครที่พวกเขาเหล่านั้นรู้จัก ดังนั้นหากคุณอยากรู้จักใครใน LinkedIn ก็เพียงแค่ขอให้เพื่อนของคุณซึ่งเป็นเพื่อนของบุคคลคนนั้นแนะนำให้ ซึ่งดีกว่าการดุ่มเข้าไปแนะนำตัวเองอย่างเจียมตัว
 
 5. มีลุ้นหางานได้ตั้งแต่ยังเรียน : การสร้างประวัติไว้ กับ LinkedIn มีสิทธิ์ที่จะทำให้คุณเป็นที่สนใจของบริษัททั้งที่ยังเรียนไม่จบ เพราะมีโอกาสสูงที่ LinkedIn จะนำคุณไปพบกับผู้คนในวงการธุรกิจที่หลากหลาย
       
 6. รักษาคอนเนคชันจากงานประชุม : หากคุณเข้าร่วมงานประชุมในฐานะนักเรียนนักศึกษา แล้วพบคนเก่งน่านับถือในงานนั้น แน่นอนว่าคุณไม่มีนามบัตรจะแลกกับเขา LinkedIn นี่เองที่จะเป็นสถานที่ซึ่งคุณสามารถรักษาคอนเนคชันไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
 
 7. แชร์ความเป็นไป : เมื่ออัปเดทประวัติหรือประสบการณ์ใหม่ลงใน LinkedIn ทุกคนในเครือข่ายจะได้รับแจ้งการอัปเดทนี้อย่างอัตโนมัติ ผลคือคุณไม่ต้องส่งอีเมลบอกความเป็นไปของเพื่อนเป็นรายคน ไม่เพียงสะดวกแต่ยังทำให้คุณเป็นที่สนใจและรับรู้ของเพื่อนๆในเครือข่าย ซึ่งคนเหล่านี้จะได้รู้ว่าคุณได้รับอบรมความรู้ด้านใดไปแล้ว ทำให้ชื่อของคุณถูกนึกถึงเป็นชื่อแรกหากต้องการคนที่มีคุณสมบัติด้านเดียว กัน
 
 8. เพิ่มพื้นที่เรซูเม : เรซูเมหรือประวัติส่วนตัวเพื่อใช้สมัครงาน 1 หน้ากระดาษนั้นอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้บริษัทรู้จักตัวตนและประสบการณ์ของ คุณ การสร้างประวัติให้ LinkedIn จะทำให้คุณมีพื้นที่กว้างขวางเพื่อใส่รายละเอียดประวัติแบบที่ไม่สามารถทำ ได้ในเรซูเมฉบับกระดาษ และเมื่อคุณต้องพิมพ์เรซูเมเพื่อใข้เป็นหลักฐานสมัครงาน อย่าลืมที่จะวางลิงก์ประวัติ LinkedIn ในรูป URL บนท้ายเรซูเม รวมถึงบนนามบัตรหากคุณสามารถผ่านงานสำเร็จ
 
 9. ได้ศึกษาบริษัทก่อน : เมื่อเป็นเครือข่ายสำหรับคนทำงาน LinkedIn จึงมีข้อมูลนานาบริษัทจำนวนมากให้ศึกษา ข้อมูลนี้จะสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าอยากทำงานที่บริษัทนั้นหรือไม่ใน เบื้องต้น แทนที่จะต้องไปวัดดวงเมื่อทำงานจริง
 
 10. ใช้หางาน : ใน LinkedIn นั้นมีคุณสมบัติค้นหางาน เพียงคลิกที่ลิงก์รายละเอียดงานก็จะพบรายชื่องานที่สอดคล้องกับประวัติที่ คุณกรอกไป แถมข้อดีของระบบหางานใน LinkedIn ที่ไม่มีในเว็บไซต์ใดคือการแสดงรายการบุคคลใน LinkedIn ที่กำลังทำงานกับบริษัทนั้น ซึ่งไม่แน่ว่าคนเหล่านั้นอาจช่วยให้คุณสามารถเข้าเป็นพนักงานในบริษัทนั้น ได้สมใจ
 
 
   
 เกี่ยวกับ Linkedin
 
 Linkedin ถูกตั้งชื่อเล่นว่าเป็น "Facebook สำหรับคนทำงาน" มืออาชีพทั่วโลกต่างพร้อมใจเข้าไปกรอกประวัติส่วนตัวเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้า มาอ่านประวัติการทำงานหรือประสบการณ์ (Resume) ของตัวเอง ปัจจุบัน Linkedin ไม่เพียงมีประโยชน์สำหรับผู้หางาน แต่ยังเป็นแหล่งข้อมูล แหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จในสายอาชีพ เดียวกัน รวมทั้งต่อยอดธุรกิจไปทั่วโลก
 
 จำนวนผู้ใช้ Linkedin ขณะนี้คือมากกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก สมาชิกส่วนใหญ่คือผู้บริหารระดับกลางและสูง มาจากบริษัทระดับชาติหลายแห่ง ผู้ใช้สามารถเป็นสมาชิกกลุ่มที่มีความสนใจหรือทำงานในสายเดียวกันเพื่อแลก เปลี่ยนความเห็นต่อกันได้ตลอดเวลา จุดนี้จะทำให้สมาชิกได้พบกับผู้บริหารสายงานอาชีพในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้อย่างหลากหลาย
 
 รายละเอียดเพิ่มเติมของ Linkedin ติดตามได้ที่ www.linkedin.com


ที่มา: http://www.qlf.or.th/Mobile/Details?contentId=284#