ผู้เขียน หัวข้อ: 10 ข้อบกพร่องที่ควรระวังในการกรอกใบสมัครงานและประวัติส่วนตัว  (อ่าน 1543 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด

 จากการสอบถามความเห็นผู้บริหารงานบุคคล หลายๆท่านที่มีประสบการณ์คัดเลือกผู้สมัครงานในธุรกิจชั้นนำต่างๆ มีมุมมองที่หลากหลายที่ล้วนน่าสนใจมากเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้สมัครเบื้องต้น จากการดูใบสมัคร หรือประวัติส่วนตัวที่ผู้สมัครส่งเข้ามา  แม้อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆน้อย แต่ทว่า มีผลโดยตรง และสามารถตัดสินได้เลยว่า ผู้สมัครรายนั้นจะได้รับการคัดเลือกสู่ขั้นตอนต่อไปหรือไม่ ในบทความนี้จึงขอรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่อยากฝากให้ผู้สมัครงานทุกท่านให้ความสนใจ และระมัดระวังมากขึ้นในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ใช้รูปถ่ายไม่เหมาะสมมาสมัครงาน ตัวอย่างเช่น รูปที่ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ รูปในอิริยาบถที่ไม่แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ รูปถ่ายตอนไปเที่ยว รูปถ่ายแฟชั่นต่างๆ เหตุผลง่ายๆที่ใช้ตัดสินของกรรมการผู้คัดเลือกส่วนใหญ่คือ การไม่ให้เกียรติกับองค์กรที่คุณไปสมัคร หรือไม่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการทำงาน

2. ไม่ระบุตำแหน่งงานที่สนใจบางคนใส่ว่า แล้วแต่บริษัทจะพิจารณา เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นคือว่า พิจารณาแน่ๆ แต่ช้าหน่อย หรืออาจไม่พิจารณาเลย เหตุผลเพราะเป้าหมายของคุณไม่ชัดเจน คนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงคุณมีมากมาย และอาจได้โอกาสนั้นไป เพียงแค่ระบุสาขาของงานที่ตัวเองสนใจอย่างชัดเจน และเป็นงานที่สอดคล้องกับคุณสมบัติด้านอื่นๆของผู้สมัคร

3.ลายมืออ่านยาก  กรณีที่ต้องกรอกใบสมัครด้วยลายมือตนเอง หลักการที่ใช้กันอย่างสากล คือ ไม่จำเป็นว่าต้องคัดลายมือด้วยตัวบรรจงในการกรอก แต่ควรเขียนอย่างเป็นระเบียบ ไม่เขียนสูงๆต่ำๆ มีการเว้นวรรคตอนให้เหมาะสม ดูสะอาดตา หลีกเลี่ยงการขูดลบ ขีดฆ่า

4. ตอบไม่ตรงวัตถุประสงค์ของคำถาม เช่น คำถามถามถึงสถานที่ออกบัตร (ประจำตัวประชาชน) เพื่อต้องการทราบถึงชื่ออำเภอ หรือเขตที่ผู้สมัครไปทำบัตร อันจะสะท้อนถึงภูมิลำเนา หรือพื้นที่ที่เคยพักอาศัยหรือพื้นที่ที่ผู้สมัครคุ้นเคยได้  การตอบเพียงแค่ว่า “สำนักงานเขต” ไม่ได้ช่วยให้ผู้คัดเลือกได้ข้อมูลที่เพียงพอ  หรือคำถามถึงสถานที่เกิด วัตถุประสงค์ของคำถาม คือต้องการให้กรอกภูมิลำเนา หรือบ้านเกิด  การระบุ ชื่อคลีนิคแพทย์ ชื่อโรงพยาบาล หรือตอบว่า “เกิดที่บ้าน”จึงไม่ตอบโจทย์ข้อนี้

5. ตอบในคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้สมัครเช่น ผู้สมัครหญิง ตอบคำถามเกี่ยวกับภาระทางทหาร เป็นต้นผู้คัดเลือกบางท่านอาจมองเป็นแค่เรื่องตลก แต่หลายๆท่านจะมองว่าคุณขาดความรอบคอบ และด้อยประสบการณ์และมีผลต่อการพิจารณาคัดเลือกสู่ขั้นตอนต่อไป

6.ใช้ตัวย่อหรือศัพท์แสลง ผู้สมัครหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการสนทนาผ่านทางสื่อออนไลน์ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เลยใช้คำย่อ หรือศัพท์แสลงมาใช้ในการกรอกประวัติตนเอง หรือในใบสมัครงาน ซึ่งทันทีที่กรรมการผู้คัดเลือกอ่านพบ ก็จะประเมินทันทีว่า ผู้สมัครขาดความพร้อมในการทำงาน รวมถึงการขาดวุฒิภาวะในการสื่อสารด้วยการเขียนอีกด้วย

7. เรียงลำดับไม่ถูกต้องเช่น การกรอกประสบการณ์การทำงาน จากปัจจุบันไปอดีต จากอดีตไปปัจจุบันไม่ถูกต้องตามที่ใบสมัครระบุ  หรือสลับช่วงเวลา หลักการสากลทั่วไป คือ เรียงลำดับประสบการณ์ในปัจจุบันย้อนกลับไปหาอดีต (เว้นแต่ในใบสมัครขององค์กรนั้นจะระบุให้กรอกเป็นอย่างอื่น)

8. ระบุช่วงเวลาผิดพลาดจากความเป็นจริง   เช่น ระยะเวลาที่ศึกษาในแต่ละระดับชั้นระยะเวลาใน การทำงานแต่ละแห่ง กรรมการผู้คัดเลือกที่เชี่ยวชาญ จะสามารถระบุความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลส่วนนี้ได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นข้อพึงระวังที่ผู้สมัครต้องให้ความสำคัญ แม้แต่การแปลงจากปีไปมาระหว่าง ค.ศ. กับ พ.ศ. ก็ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนด้วย

9.สะกดคำผิดพลาดหรือตกหล่น  กรณีที่ไม่แน่ใจ ให้ตรวจสอบก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เนื่องจากเมื่อใดที่ใบสมัครหรือประวัติส่วนตัวของคุณอยู่ในมือของกรรมการผู้คัดเลือกแล้ว ย่อมไม่สามารถแก้ไขได้ ทางที่ดีเราควรมีการอ่านทบทวน ทั้งหมดอีกครั้งก่อนส่ง เพื่อเพิ่มโอกาสการได้รับการพิจารณาของใบสมัครหรือประวัติของเรา

10. ให้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน เนื่องจากเวลาของผู้คัดเลือกมีค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับปริมาณใบสมัครหรือประวัติผู้สมัครที่ต้องพิจารณา ผู้สมัครจึงควรหลีกเลี่ยง การใส่ข้อมูลรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับงานที่เคยทำ ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือตรงกับสายงานที่กำลังสมัคร หรือการระบุถึงความสามารถพิเศษที่ขาดความสัมพันธ์กับหน้าที่งานนั้นๆ หลักการที่ควรระลึกไว้เสมอคือ ใบสมัครหรือประวัติส่วนตัวที่กระชับ ได้ใจความ มีคำสำคัญหรือคำหลัก (Keyword)หรือลักษณะงานตรงกับที่นายจ้างประกาศหา ย่อมเป็นที่น่าสนใจและดึงดูดกับนายจ้างมากกว่าเอกสารที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย แต่ขาดความโดดเด่น


ที่มา: http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=4911