ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามที่ต้องตอบ (ตัวเอง) สำหรับผู้หางาน  (อ่าน 1493 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
 
ในบทความนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีวิเคราะห์ความพร้อมของผู้หางานด้วยตัว เองอย่างง่ายๆ โดยการตั้งคำถามที่น่าสนใจในประเด็นต่างๆ ที่อยากให้ผู้อ่านได้ลองศึกษาและนำไปใช้ ทั้ง 7 ข้อ ดังต่อไปนี้

 เราต้องการทำงานอะไร
 หลายคนละเลยและมองข้ามความสำคัญของเรื่องนี้ และไปตกม้าตายในห้องสัมภาษณ์ ด้วยการให้คำตอบที่ว่า “ทำอะไรก็ได้” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในด้านอาชีพการงาน ในทางตรงข้ามหากคุณรู้จักวิเคราะห์และทำความรู้จักตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ  ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการมองหางาน หรือคัดสรรอาชีพที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง อีกทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงจากการลองผิดลองถูกให้น้อยที่สุด เพียงแต่คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ลักษณะงานที่เราชอบเป็นอย่างไร เรามีความถนัด หรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดบ้าง

 เราคาดหวังอะไรบ้างจากงานที่ไปสมัคร 
 ประเด็นต่างๆที่คนทำงานคาดหวังจากที่ทำงาน ล้วนเกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน เงินเดือน สวัสดิการ การเดินทางจากที่พัก สภาพแวดล้อมในการทำงาน  การดูแลของเจ้านาย  เพื่อนร่วมงาน ลักษณะของตัวงาน ความแปลกใหม่ท้าทาย การได้พบปะติดต่อกับผู้อื่น การได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์  ฐานะทางสังคม หรือการได้รับการยกย่อง  คุณควรจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆที่คุณคาดหวังจากการไปทำงานในที่นั้นๆ เนื่องจากไม่มีที่ทำงานแห่งใดที่ดีพร้อม มีทุกอย่างหรือให้ได้ทุกอย่างที่คุณต้องการ ในความเป็นจริงหากว่าที่ทำงานที่คุณเลือกสามารถตอบโจทย์ประเด็นหลักๆของคุณ ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ก็ถือได้ว่าคุ้มค่ากับการให้เวลาเข้าไปสู่กระบวนการคัดเลือกบุคลากรของ องค์กรนั้นๆแล้ว ส่วนที่เหลืออาจเป็นเรื่องที่จะต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความสุขในการทำงาน ต่อไป

 เราเตรียมเอกสาร และข้อมูลในการสมัครงานไว้ครบถ้วนหรือไม่
 ปัญหานี้เป็นประเด็นยอดนิยมของผู้สมัครงานมือใหม่ หรืออาจเป็นผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาและก้าวสู่โลกแห่งการทำงาน ข้อควรปฏิบัติคือ ให้เตรียมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานส่วนบุคคล หลักฐานการศึกษา แฟ้มผลงาน และนำส่งเอกสารตามที่องค์กรนั้นๆระบุไว้ ไม่ส่งไปมากเกินความจำเป็น หรือ ส่งไม่ครบตามที่สถานประกอบการนั้นๆ ระบุไว้ เนื่องจากจะมีผลอย่างมากต่อการพิจารณาคัดเลือก ในระหว่างที่กำลังหางานทำ คุณจึงควรมีเอกสารที่ใช้สำหรับการสมัครงานไว้ให้พร้อมและทำสำเนาเอาไว้หลาย ชุดจะได้ไม่ต้องเสียเวลา และเป็นการเพิ่มโอกาสการได้งานทำสำหรับตัวคุณเอง

 เราทำความรู้จักองค์กรที่เราจะไปสมัครงานดีแค่ไหน
 การศึกษาเกี่ยวกับบริษัทที่คุณสนใจอยากเข้าร่วมงานด้วย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการได้งานของคุณ เป็นขั้นตอนที่คุณจะต้องค้นคว้า แสวงหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด ไม่แพ้การวิเคราะห์ตนเองเลย สิ่งที่ควรต้องรู้ ก็คือ องค์กรนั้นมีความเป็นมาอย่างไร มีแนวทางในการดำเนินกิจการอย่างไร มีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด ผลประกอบการดีหรือไม่ โครงสร้างการบริหารงาน ประวัติผู้บริหารที่สำคัญ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของคนที่นั่นเป็นอย่างไร แผนงานในอนาคตของกิจการนั้นๆ รวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้สมัครโดยตรง เช่น สวัสดิการและค่าตอบแทนของพนักงานที่นั่น โอกาสในการก้าวหน้าในสายอาชีพ เพื่อให้คุณสามารถประเมินภาพรวม ความเหมาะสมของตัวคุณกับที่ทำงานนั้น รวมถึงนำเสนอตัวเองได้อย่างตรงจุดอีกด้วย

 เราเตรียมพร้อมแค่ไหนกับการทดสอบต่างๆ
 ในกระบวนการคัดเลือกบุคลากรขององค์กรต่างๆ นอกจากการทดสอบสัมภาษณ์แล้ว หลายๆแห่งยังมีการทดสอบข้อเขียน หรือความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพด้วย ซึ่งในกรณีที่ต้องมีการทดสอบนี้ คุณควรจะต้องทราบรายละเอียดของขอบเขตเนื้อหาการทดสอบ เพื่อที่จะเตรียมตัวได้อย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการฟังต่อๆกันมาจากเพื่อน หรือผู้ที่เคยผ่านการคัดเลือกเท่านั้น แต่คุณควรได้ดูจากประกาศรับสมัครงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากยังไม่ชัดเจนก็อาจโทรสอบถามจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เพื่อคุณจะได้มั่นใจว่าในการทดสอบนั้นๆ คุณมีโอกาสและความพร้อมมากที่สุดที่จะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

 เรามีความเชื่อมั่นในตัวเองเพียงพอแล้วหรือยัง
 เมื่อเราได้เตรียมตัวในด้านอื่นพร้อมแล้ว ก็ไม่ควรที่จะลืมเตรียมการสิ่งสำคัญที่อยู่ภายในตัวของทุกคน คือความเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งจะปรากฎต่อผู้อื่นผ่านการคิด การพูด การกระทำ กิริยาท่าทางต่าง ๆ นายจ้างส่วนใหญ่มักอยากได้ผู้ที่มีความเป็นผู้ใหญ่ มีวุฒิภาวะมีความเชื่อในศักยภาพ และความสามารถของตัวเอง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ลดการพึ่งพา หรือเป็นภาระของผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

 ความประหม่าเป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำให้สถานการณ์ต่างๆดูแย่ไปเสียหมด ไม่เว้นแม้แต่ในห้องสัมภาษณ์งาน ควรมองในมุมที่ว่า เป็นโอกาสที่ดีในการมาสมัครงานและเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกที่ที่ทำงานแห่ง นี้ ถึงแม้ไม่ได้งานที่นี่ อย่างน้อยก็ได้รับประสบการณ์ที่มีค่ากลับไป ซึ่งการมองในแง่บวกนี้จะช่วยให้คุณมีกำลังใจ และแสดงออกถึงความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่

 บุคลิกภาพของเราได้รับการเอาใจใส่ดีพอแล้วหรือยัง
 เป็นเรื่องจริงที่ว่า บุคลิกภาพที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เมื่อเตรียมตัวสำหรับเหตุปัจจัยในการได้งานทำในประเด็นอื่นๆครบหมดแล้ว ก็ไม่ควรละเลยที่จะดูแลตัวเองในเรื่องนี้

 การเป็นคนมีบุคลิกดีนั้นไม่จำเป็นว่าคุณต้องเป็นคนสวย คนหล่อ รูปร่างหน้าตาดี  แต่เป็นเรื่องของการดูแลตัวเองตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ทรงผม ใบหน้า ในเรื่องความสะอาด ความสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ กับสิ่งที่แสดงออกภายนอก เช่น การพูดจา การแสดงออกด้านความคิด  อย่างเป็นธรรมชาติ ฉะฉาน จริงใจ เป็นตัวของตัวเอง มีปฏิภาณไหวพริบ รวมไปถึงเรื่องของสุขภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการที่จะเป็นผู้มีมีบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งจะสามารถสร้างความโดดเด่น สามารถดึงดูดความสนใจผู้ที่สัมภาษณ์หรือนายจ้าง และมีความสัมพันธ์กับโอกาสที่คุณจะได้งานที่คุณสมัครนั้นด้วย


ที่มา: http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=126