แจกของฟรี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว:
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
แจกของฟรี
»
Job
»
งาน
»
เทคนิคในการหางาน,สมัครงาน,สัมภาษณ์งาน
»
ข้อมูลที่ควรรู้ แต่ (ยัง) ไม่ควรถาม เมื่อไปสัมภาษณ์งาน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ข้อมูลที่ควรรู้ แต่ (ยัง) ไม่ควรถาม เมื่อไปสัมภาษณ์งาน (อ่าน 1545 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Master
[color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
Global Moderator
Sr. Member
กระทู้: 487
พอยท์: 0
ข้อมูลที่ควรรู้ แต่ (ยัง) ไม่ควรถาม เมื่อไปสัมภาษณ์งาน
«
เมื่อ:
20 พฤศจิกายน 2016, 12:04:11 »
ในบทความนี้จะเป็นการรวบรวมคำถามที่คนหางานส่วนใหญ่ อยากจะรู้ อยากจะถามเนื่องจากคิดว่าถ้ารู้ข้อมูลดังกล่าวแล้วก็จะเป็นประโยชน์ ในการพิจารณาตัดสินใจเลือกเข้าทำงานในบริษัท หรือองค์กรนั้นๆ ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจกันได้ทั่วไป แต่ในบางครั้งบางคำถาม ก็เป็นเรื่องที่อ่อนไหว ชวนให้มองเจตนาของผู้ถามซึ่งเป็นผู้สมัครงานในขณะนั้นไปในทางไม่ดี และไม่เกิดประโยชน์ต่อภาพพจน์ของตัวผู้ถามเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถามกับกรรมการซึ่งอาจมาจากฝ่ายบุคคล หรือหัวหน้างานที่เป็นผู้สัมภาษณ์คัดเลือกเราเข้าทำงาน ยกตัวอย่าง คำถามในเรื่องต่างๆ เช่น
1.ถาม เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับบริษัทหรือองค์กร เช่น บริษัทเปิดมาแล้วกี่ปี? มีพนักงานกี่คน? เป็นบริษัทต่างชาติ หรือของคนไทย? กำไรดีไหม? จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยหรือปล่าว? สินค้าคืออะไร?ใครเป็นคู่ค้ารายใหญ่?บริษัทมีผลงานเด่นอะไรบ้าง?ใครเป็นผู้ บริหารสูงสุด? ผู้สัมภาษณ์ อาจจะรู้สึกว่า ถ้าคุณยังไม่รู้ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ ก็อาจจะไม่เหมาะที่จะทำงานที่นี่ก็เป็นได้ ทางที่ดีควรทำการบ้านหาข้อมูลเหล่านี้ไปเองก่อนจะดีกว่า ดีไม่ดีกรรมการอาจย้อนถามผู้สมัครด้วยคำถามเหล่านี้ เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการเตรียมตัวเข้าสัมภาษณ์งานของผู้สมัครก็เป็นได้
2.ถาม เกี่ยวกับการขาดลามาสาย เช่น เข้างานกี่โมง?เลิกงานกี่โมง?มาสายได้ถึงกี่โมง? มาสายแล้วโดนหักเงินไหม? สามารถยืดหยุ่นเวลาเข้างานได้ไหม? จะได้สิทธิ์พักร้อนกี่วัน?พักร้อนติดกับวันหยุดยาวได้ไหม? ลากิจได้กี่วัน ?ลาป่วยเกินสิทธิ์แล้วจะโดนหักเงินเดือนไหม? มีสิทธิ์เบิกค่าล่วงเวลาได้ไหม? โดยทั่วไป ฝ่ายบุคคลมักจะชี้แจงระเบียบต่างๆเหล่านี้ให้พนักงานทราบใน ช่วงการปฐมนิเทศก่อนเริ่มงานอยู่แล้ว และถ้าผู้สมัครตั้งใจจะมาทำงานจริงๆ เรื่องพวกนี้ถือเป็นเรื่องรอง จากเรื่องงาน ควรอดใจไว้รอถามตอนได้งานแล้วจะดูดีกว่า
3.คำ ถามประเภท กบเลือกนาย เช่น เจ้านายเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง?มีครอบครัวแล้วหรือยัง ?อายุเท่าไหร่ ? ดุหรือไม่ ?เสียงดังมั้ย ? เป็นคนใจกว้างมั้ย ?เปิดรับฟังความคิดเห็น หรือไม่ ?ชอบให้ลูกน้องเอาอกเอาใจเป็นพิเศษ หรือเปล่า?ชอบสั่งงานหลายๆอย่างพร้อมกันหรือเปล่า? เจ้านายมาทำงานเช้ามั้ย ?กลับดึกมากมั้ย ? เจ้านายชอบปาร์ตี้หรือปล่าว?ดื่มเก่งมั้ย? ซึ่งบางทีคนที่ฟังคำถามเหล่านี้อาจจะเป็นเจ้านายของผู้ถามในอนาคต อาจจะรู้สึกว่าถูกคุกคามมากเกินไป เพราะบทบาทตอนนั้นคุณเป็นผู้สมัคร ที่ควรต้องตอบเรื่องของตัวเองมากกว่า จึงขอแนะนำให้หาข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งอื่นจะดีกว่า
4.อัตรา การลาออก (Turn Over Rate) ของคนในบริษัท หรือของคนในฝ่ายที่เราจะเข้าไปทำ มากน้อยแค่ไหน ? ส่วนใหญ่ลาออกด้วยเหตุผลอะไร ? ลาออกแล้วไปที่ไหน? แม้ว่าผู้สมัครจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้จากแหล่งไหนมาก็ตาม คำถามลักษณะนี้อาจทำลายบรรยากาศในการสนทนากันในขณะนั้นได้ ควรหลีกเลี่ยงไปหาข้อมูลจากแหล่งอื่น หรือสอบถามบุคคลที่สามจะเหมาะสมกว่ามาก
5.ถาม แต่เรื่อง เงิน เงิน เงิน และ เงิน เช่น จะเสนอเงินเดือนให้เท่าไหร่ ? มีโบนัสไหม?ให้กี่เดือน?เงินเดือนขึ้นปีละกี่เปอร์เซ็นต์?มีเบี้ยเลี้ยง พิเศษอะไรบ้าง?เบิกค่าเอ็นเตอร์เทนได้ไหม?มีค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ให้เท่าไหร่ ? มีโครงการให้กู้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ กู้ฉุกเฉินอะไรบ้าง? เข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนทำงานทุกคน แต่ข้อเท็จจริงคือ คำถามกลุ่มนี้เป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหว ควรมีการพูดคุยเมื่อฝ่ายนายจ้างเป็นผู้เริ่มเปิดการสนทนาเรื่องเหล่านี้ก่อน เท่านั้น หลักการของเรื่องนี้คือ องค์กรต่างๆมักต้องการดึงดูด คนดี คนเก่ง ให้มาร่วมงานด้วยอยู่แล้ว ถ้านายจ้างพบผู้สมัครที่น่าสนใจ ก็มักจะยื่นข้อเสนอดีๆให้เองโดยไม่ต้องเรียกร้อง หรือเมื่อนายจ้างยื่นข้อเสนอการทำงานให้ ผู้สมัครค่อยขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือต่อรองอีกครั้งก็ยังไม่สายเกินไป
6.ที่ นี่แต่งตัวมาทำงานกันยังงัย?ใส่กางเกงยีนส์ได้มั้ย? ผู้หญิงไม่ใส่กางเกงมาทำงานได้ไหม?จำเป็นต้องใส่สูทหรือเปล่า?ไม่ใส่ยูนิ ฟอร์มได้มั้ย? มีวันที่สามารถแต่งตัวได้ตามสบาย (Casual Day) หรือไม่ ? วันไหน? ตามหลักแล้ว บริษัทหลายๆแห่ง จะมีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งกาย (Dress Code) แจ้งให้พนักงานทราบ ควรอดใจรอจนกว่า นายจ้างจะตอบรับเข้าทำงานแล้วค่อยถามข้อมูลเหล่านี้ ก็คงยังไม่สาย เพราะอย่างไรก็ตาม การที่เราปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานของที่นั้นๆ ย่อมง่ายกว่าการขอเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ของที่นั้นๆ ให้เป็นไปตามใจเรา
7.ถาม เรื่องส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์ เช่น ทำงานที่นี่มากี่ปีแล้ว? อายุเท่าไหร่แล้ว?ในมุมมองของผู้สัมภาษณ์คิดว่าที่นี่น่าอยู่หรือไม่? พี่ได้เลื่อนตำแหน่งเร็วไหม?หรือบางคำถามที่ไม่คิดว่าจะได้ยิน ก็มีน้องๆจบใหม่ ถามกับผู้สัมภาษณ์ เช่น ตอนนี้พี่ได้เงินเดือนเท่าไหร่ ?
ข้อแนะนำ คือ ผู้หางานควรจะมีกลยุทธ์ในการหาข้อมูลต่างๆเหล่านี้ อย่างมีชั้นเชิง แทนที่จะใช้การถามตรงๆ กับผู้สัมภาษณ์ หรือฝ่ายบุคคล อาจหาจากแหล่งข้อมูลอื่น เช่น คนที่เรารู้จักในบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลที่ได้จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
ที่ สำคัญอย่าลืมว่า เราสมัครงานไปเป็นลูกจ้าง ไม่ใช่ไปเป็นเจ้าของหรือประธานบริษัท ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องปรกติ ถ้าอะไรต่างๆ จะไม่เป็นไปดั่งใจ ตามความต้องการของเราได้ทุกๆเรื่อง แต่กระนั้น เราก็สามารถแสวงหาโอกาสที่ดีที่สุด เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในงาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะความสามารถของตัวเราเอง ให้เป็นที่ต้องการ เป็นที่สนใจของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่องต่อไปได้
ที่มา:
http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=6542
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
แจกของฟรี
»
Job
»
งาน
»
เทคนิคในการหางาน,สมัครงาน,สัมภาษณ์งาน
»
ข้อมูลที่ควรรู้ แต่ (ยัง) ไม่ควรถาม เมื่อไปสัมภาษณ์งาน