ผู้เขียน หัวข้อ: เคล็ดลับในการเขียน "จดหมายสมัครงาน" ตอนที่1  (อ่าน 610 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ในการสมัครงานแต่ละครั้ง สิ่งที่คุณควรนึกถึงอยู่เสมอ ได้แก่
1. ควรส่งจดหมายสมัครงานไปพร้อมกับประวัติส่วนตัว (resume) เสมอ
2. อธิบายอย่างสั้น ๆ ว่าคุณเป็นใคร และทำไมคุณจึงสนใจทำงานในตำแหน่งดังกล่าว
3. บอกให้ทางบริษัท ทราบว่า คุณสามารถทำอะไรให้แก่บริษัทได้บ้าง (แทนที่จะบอกว่าคุณหวังอยากจะได้อะไรจากทางบริษัท)
4. ควรระบุทุกครั้งว่า คุณสนใจและพร้อมที่จะเข้าไปสัมภาษณ์กับทางบริษัท (คุณอาจจะเขียนเพิ่มเติมไปได้ในบางครั้งว่า จะโทรเข้าไปติดตามผลอีกครั้ง)
5. ในจดหมายธุรกิจที่เป็นภาษาอังกฤษ ควรใช้เครื่องหมาย ; แทนที่จะใช้เครื่องหมาย ,
6. ระบุจดหมายถึงชื่อบุคคล รวมทั้งตำแหน่งงานถ้าเป็นชาวต่างชาติมห้ระบุนามสกุลแทนชื่อ (อย่าขึ้นต้นจดหมายว่า "Dear Maria Gansales" )

ย่อหน้าแรก -- ในย่อหน้าแรกของจดหมายสมัครงาน คุณควรเริ่ม แนะนำตัวเองโดยการระบุสาขาที่คุณเรียนมาและปีที่จบ
พร้อมทั้งระบุด้วยว่าคุณสนใจทำงานในตำแหน่งส่วนงานอะไร และระบุว่าคุณทราบเรื่องตำแหน่งงานนี้มาจากที่ใด
(เช่น จากประกาศรับสมัครงานตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือบริษัทจัดหางาน) และที่สำคัญ คุณควรแน่ใจว่า คุณสะกดชื่อบุคคล
และตำแหน่งงานที่คุณติดต่อได้อย่างถูกต้อง ลองดูตัวอย่าง...

I will be graduating from Chulalongkorn University with a Bachelor's degree in Computer Science
and am interested in apportunities at IBM is actively involved with high technology and computer -
systems, which is an area of information system that particularly interests me.

ย่อหน้าที่สอง -- ในย่อหน้านี้ พยายามเล่าถึงคุณสมบัติของคุณสักหนึ่งหรือสองประการ ที่จะทำให้บริษัทนายจ้างสนใจ
บอกให้นายจ้างทราบว่า ทำไมคุณถึงสนใจที่จะทำงานในบริษัทหรือสายงานนั้น ๆ หากคุณเคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
หรือได้ผ่านการฝีกอบรมที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานนั้น ๆ ควรรีบบอกให้นายจ้างทราบในตอนนี้ บอกให้ผู้อ่านใบสมัคร
ดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมจากประวัติส่วนตัว (Resume)ที่แนบไป เพราะ Resume จะเป็นตัวชี้บ่งให้ทางบริษัท
ทราบถึงประวัติโดยละเอียดและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องของคุณ ในกรณีที่คุณสมัครงานโดยทราบข่าวจากประกาศรับสมัคร
ในหนังสือพิมพ์ ควรระบุชื่อตำแหน่งงาน ชื่อหนังสือพิมพ์ วันที่ลงประกาศนั้น ๆ ด้วย ลองพยายามแสดงบริษัทให้เห็นว่า
ทักษะและประสบการณ์ที่คุณมีนั้นเหมาะสมกับตำแหน่งที่คุณสนใจอย่างไร(โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีคุณสมบัติที่ตรงกับคุณสมบัติ
ที่ทางบริษัทต้องการ) ในกรณีที่คุณสมัครงานเข้าไปโดยไม่ระบุตำแหน่งชัดเจน คุณควรแสดงให้ทางบริษัทเห็นว่า คุณสมบัติและ
ประสบการณ์ที่คุณมีนั้น เข้ากันได้ดีกับแนวทาง นโยบายของบริษัทที่คุณสนใจอย่างไร ตัวอย่างเช่น

At Chulalongkorn, I have taken coursework in computer application design and programming, in addition to
the general course requirements for computer science. During the summer of 1997, I worked on programming
and managing database system at Petroleum Authority of Thailand for thier Information System Department.
During this past summer, I worked on at S.J. Healthware on a project HIS. I believe my training at Chulalongkorn
has given me the skills to make a valuable contribution to IBM.

ย่อหน้าที่สาม -- ย่อหน้าสุดท้ายนี้คุณควรจบจดหมายด้วยการบอกกับทางบริษัทว่าคุณพร้อมและอยากื่จะเข้ารับการสัมภาษณ์จากทางบริษัท
เพิ่มเติม (ในกรณีที่สมัครงานกับบริษัทต่างชาติ คุณอาจแสนอวัน และเวลาที่คุณสะดวกจะเข้าไปสัมภาษณ์ได้) ที่สำคัญก็คือ คุณต้องแน่ใจว่า
คุณไม่ได้จบจดหมายโดยทิ้งท้ายแบบไม่เฉพาะเจาะจง หรือจบแบบห้วน ๆ

I would welcome the apportunity to meet with you and discuss my qualifications for the position. If you have any
questions or would like to talk with me, I can be reached by phone at XXX-XXXX or email at wennies@hotmail.com
I look forward to hearing from you soon.

Sincerely,
Wannika Natngam


ที่มา: http://www.jobenter.com/content/job_tips/detail.php?type=1&cid=221
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 6 พฤศจิกายน 2016, 04:34:40 โดย Master »

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ส่วนประกอบของใบสมัครงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 6 พฤศจิกายน 2016, 04:40:08 »

การกรอกใบสมัครเป็นปราการด่านแรกในการที่จะก้าวสู่อาชีพการเป็นลูกจ้าง และมีความสำคัญต่อผู้สมัครงานมาก เพราะใบสมัครงานถูกเรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่สำหรับให้ผู้ประกอบการได้คัดเลือกเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัครงานในเบื้องต้นว่าผู้สมัครงานคนไหนน่าสนใจคนไหนเข้าท่า คนไหนเชิญมาสัมภาษณ์ คนไหนจะคัดใบสมัครทิ้งไป

ใบสมัครแม้จะเป็นเพียงกระดาษสองหน้าที่ผู้ประกอบการยื่นให้คุณกรอกข้อความเกี่ยวกับตัวคุณลงในช่องว่างที่กำหนด ง่ายกว่าตอนที่คุณทำข้อสอบซ่อมในตอนเรียนเสียอีก แต่ก็มีอิทธิพลที่จะชี้ระดับของคนที่กำลังจะหางานทำได้
สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวผู้สมัครงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพิจารณดังนี้

1. ข้อมูลของผู้สมัคร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ความรู้ความสามารถพิเศษบุคคลที่จะอ้างถึง เป็นต้น

2. ลายมือชื่อของผู้สมัคร และลักษณะการกรอกข้อมูล

3. หน้าตาของผู้สมัครงาน

ส่วนประกอบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งประมวลข้อมูลแก่ผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ดังนี้
ข้อมูลของผู้สมัครงาน

1. ประวัติส่วนตัว ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของผู้สมัครงาน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ ดังนี้
วัน เดือน ปี เกิด (อายุ)
สัญชาติ เชื้อชาติ
ศาสนา
ส่วนสูง น้ำหนัก
ที่อยู่ถาวร
ที่อยู่ที่ติดต่อได้
สถานะของที่อยู่อาศัย
สถานะครอบครัว
ข้อมูลของบิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่น้องของผู้สมัคร
สถานะทางทหาร

2. ประวัติการศึกษา จะประกอบด้วยข้อมูลการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นประถมฯ มัธยมฯ อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ชื่อสถาบันการศึกษาในแต่ละระดับ ปีการศึกษาที่เริ่มเรียนและจบการศึกษา หรือวุฒิการศึกษาที่ได้รับ บางแห่งอาจจะให้กรอกระดับคะแนนที่ศึกษาจบมาด้วย

3. ประวัติการทำงาน นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการนำมาพิจารณาอีกก็คือใบผ่านงานที่ผู้สมัครงานได้รับครั้งสุดท้ายก่อนที่จะลาออก ระยะเวลาในการปฏิบัติในสถานประกอบการแต่ละแห่ง อัตราเงินเดือนเมื่อแรกเข้าและเมื่อลาออก สาเหตุที่ลาออก
ข้อมูลส่วนนี้มีความสำคัญต่อผู้สมัครงานมาก ซึ่งผู้ประกอบการจะให้ความสนใจ และจะสอบถามในการสัมภาษณ์ค่อนนข้างจะละเอียดและผู้สมัครก็มักจะตกขั้นตอนในข้อนี้ ถ้าไม่ได้ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงหรือขี้โม้ ก็จะถูกจับแมงโม้ได้ไปช่วงนี้ เพราะผู้สมัครงานตอบรับข้อมูลผิดพลาด หรือบางรายในช่วงเวลา 2 ปี เปลี่ยนสถานประกอบการถึง 4 แห่ง แสดงว่าผู้สมัครงานนั้นจะต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำให้ต้องเปลี่ยนที่ทำงานบ่อย ๆ จึงถูกมองว่าเป็นบุคคลที่มีปัญหาหรือไม่ก็เป็นคนหยิบโหย่งขาดความอดทน ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่เป็นผลดีต่อผู้สมัครงานทั้งสิ้น

4. ความรู้ความสามารถพิเศษ ข้อมูลนี้ค่อนข้างจะกว้างขวางและผู้สมัครงานก็มักจะไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลชี้นำถึงความน่าสนใจของผู้สมัครงาน ที่บอกว่าผู้สมัครรายนี้มีอะไรที่เหนือกว่าคนอื่นๆ หากผู้สมัครงานหลายคนมีคุณสมบัติพื้นฐานที่ใกล้เคียงกับข้อมูลความสามารถพิเศษจะเป็นข้อมูลชี้นำให้เกิดการตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่มีความสามารถพิเศษตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ

5. บุคคลที่จะอ้างอิงได้ ข้อนี้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว การพิจารณาของผู้ประกอบการแทบทุกรายยังไม่พ้นคำที่ว่า “ค่าของคนสำคัญว่าเป็นคนของใคร” สำหรับผู้สมัครงานที่สามารถจะอ้างอิงถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้และผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริง ผลดีจะเกิดกับตัวผู้สมัครงาน


ที่มา: http://www.jobenter.com/content/job_tips/detail.php?type=1&cid=152