ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักกับแบบจำลองเครือข่าย (OSI Model)  (อ่าน 654 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ klongthomtech

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 51
  • พอยท์: 200
    • ดูรายละเอียด
มารู้จักกับแบบจำลองเครือข่าย (OSI Model)
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2020, 11:19:32 »

OSI Model (Open Systems Interconnection Model) คือ รูปแบบความคิดที่พรรณาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสาร โดยการแบ่งการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นชั้นต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบการสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น OSI Model นั้นถูกออกแบบมาโดยองค์กร ISO (International Organization for Standardization) เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้มีการแบ่งส่วนการทำงานต่างๆ ทำให้เข้าไปจัดการในส่วนของ Layers ชั้นต่างๆ ได้ถูกต้อง ซึ่ง Layers นั้นได้แบ่งทั้งหมด 7 Layers ซึ่งแต่ละ Layers ก็มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้

Application Layer (แอพพลิเคชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยเป็นแอพพลิเคชันของ OSI มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน คอยรับส่งข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้และกำหนดกติกาอัลกอลิทึมว่าเป็นอย่างไร ให้ทำงานเรื่องอะไร

Presentation Layer (พรีเซนเท'เชิน) เป็น Layer ชั้นที่ 6 เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อให้โปรแกรมทราบว่าข้อมูลที่ส่งมาผ่านเครือข่ายนั้น เป็นข้อมูลประเภทใด ซึ่งชั้นนี้ได้มีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการดักจับข้อมูลของผู้อื่น และให้ตัวเครื่องนั้นรับรู้ได้ว่ามีการส่งข้อมูลไปหา

Session Layer (เซสชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเซสชั่นของโปรแกรม ซึ่งเซสชั่นจะช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารของเว็บไซต์นั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายหน้าต่าง จึงเป็นตัวที่คอยรับส่งข้อมูลไปยังเว็บไซต์ในหลายๆ หน้าต่าง

Transport Layer (แทรนซพอร์ท') เป็น Layer ชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ดูแลการจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลที่เรียกว่า checksum และอาจจะมีการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ โดยพิจารณาจากฝั่งต้นทางกับปลายทาง

Network Layer (เน็ตเวิรค เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะรับ – ส่ง ข้อมูลไปยังเส้นทางที่สะดวก มีระยะสั้น และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ผู้รับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

Data Link Layer (ดาต้า ลิงค์ เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล โดยจะแบ่งการส่งข้อมูลที่ออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้ได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับสัญญาณ NAK กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่

Physical Layer (ฟิสซิเคิล เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 1 หรือเป็น Layer ชั้นล่างสุด ซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ เช่น RS-232-C มีกี่พิน แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลด์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 7 Layers ของระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดในการรับส่งต่างๆ และหากมีปัญหาตรงจุดใด ก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ง่ายและทำให้เราทราบปัญหาได้ง่ายขึ้นด้วยว่ามีปัญหามาจากจุดใด เนื่องจากได้มีการแบ่งการทำงานของอินเทอร์เน็ตออกเป็นชั้นต่างๆ แล้ว