ผู้เขียน หัวข้อ: การติดตั้ง WordPress บน Localhost  (อ่าน 775 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
การติดตั้ง WordPress บน Localhost
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2016, 13:43:04 »
สวัสดีครับในหัวข้อนี้จะเป็นการติดตั้ง WordPress แล้วนะครับเราจะมาดูกันว่าติดตั้งอย่างไรและทำไมต้องติดตั้งบน Localhost ก่อนติดตั้งบน Host จริงเลยได้มั้ย
Part 1 : เริ่มข้อแรกก่อนเลยนะครับ “การเตรียมเครื่องมือ”
 1. เว็บเซิร์ฟเวอร์ แนะนำเลยครับ XAMPP
 2. ไฟล์สำหรับติดตั้ง WordPress
 3. โปรแกรมพวก Text Editor สำหรับมือใหม่ผมแนะนำ Brackets.io
Part 2 : ติดตั้ง XAMPP และใช้งาน
 1. ติดตั้ง XAMPP วิธีการก็ติดตั้งเหมือนโปรแกรมทั่วไปครับกด next ๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆแต่ตอนเลือก Path ติดตั้งเนี่ยเลือกไว้ไหนก็ได้นะครับไม่จำเป็นต้อง Drive:c พอติดตั้งเสร็จนะครับให้เข้าไปที่ผมจะยกตัวอย่างผมติดตั้งไว้ที่ Drive:c จากนั้นจะมี Folder ทีชื่อว่า htdocs ตัวนี้จะเป็น web root ของ XAMPP นะครับเราจะติดตั้ง CMS อะไร หรืออยากทำเว็บอะไรให้เอา Folder เว็บของเรามาวางไว้ที่นี่ตาม ภาพตัวอย่างนะครับ
 Sketch15374520 height=384
 2. จากนั้นนำไฟล์ wordpress.zip ที่เราโหลดมาไปแตกไฟล์ไว้ที่ htdocs ครับ (ตามภาพ)
Sketch15374856 height=337
Part 3 : สร้างฐานข้อมูลและติดตั้ง WordPress
 1. เปิด XAMPP Control แล้วเลือก Start > Apache, Start > MySQL
2015-04-15-08.10.11 height=407
 2. เปิด Web Browser แล้วพิมพ์คำว่า Localhost/phpmyadmin
2015-04-15-08.11.04 height=224
3. สร้างชื่อฐานข้อมูลและรูปแบบอักขระ
2015-04-15-08.09.16 height=198
4. กรอกข้อมูลลงในฟิลด์ตามภาพประกอบ
wordpress01 height=535

wordpress021 height=534
wordpress04 height=779
wordpress03 height=261
5. เมื่อทำการติดตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะเข้าสู้หน้า Login เพื่อเข้าระบบจัดการข้อมูลครับ
finish height=514


เห็นมั้ยครับว่าการติดตั้ง WordPress บน Localhost ไม่ยากอย่างที่คิด ส่วนเหตุผลที่ไมถึงต้องติดตั้งบน Localhost เดี๋ยวผมยกตัวอย่างเป็นข้อๆให้นะครับ เอาตามที่ผมคิดได้
1. ไม่ต้องเสียเวลาในการเช่าโฮสเพื่อลองผิดลองถูก (การจะเช่าโฮสอย่างน้อยๆต้องเสียแล้วไม่ต่ำกว่า 500 บาท)
 2. เพื่อศึกษาปรับแต่งได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเพราะอยู่บนเครื่องเราเอง
 3. สำหรับ Themes Developer จะทำงานได้ง่ายมากเพราะไม่ต้องอัพไฟล์ขึ้นโฮสไปรันบ่อยๆ
 4. สามารถใช้ Plugin จำพวก WordPress Migration ในการย้ายขึ้นโฮสจริงได้จึงไม่จำเป็นต้องห่วงว่าข้อมูลที่ทำไว้จะหายหรือไม่เหมือนกัน
ผมยกตัวอย่างคร่าวๆได้ประมาณนี้แหละครับ ยังไงก็ขอให้สนุกกับ WordPress นะครับบทความหน้าผมจะพาไปใช้งานเจ้าตัว WordPress ทีละส่วนๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นครับ