ผู้เขียน หัวข้อ: แนวทางการดีไซน์บล็อกยุคใหม่  (อ่าน 720 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
แนวทางการดีไซน์บล็อกยุคใหม่
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2016, 20:15:55 »
ในการออกแบบบล็อก จะสังเกตได้ว่าการออกแบบส่วนประกอบต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน ในบทความนี้ผมจะแยกส่วนประกอบพวกนี้ออกเป็น 9 ส่วน หากคุณให้ความสนใจในแต่ละส่วนมากเท่าไหร่ ภาพรวมของบล็อกที่ออกมาจะดูดีมากเท่านั้น
 
  • ส่วนหัว(Header)
  • ส่วนเนื้อหา(Content Area)
  • เมนูหลัก(Primary Navigation)
  • เมนูรอง(Secondary Navigation)
  • หัวเรื่อง(Headlines)
  • ส่วนแสดงความคิดเห็น(Comments)
  • ส่วนท้ายของบทความ(Post?s Footer)
  • ส่วนท้ายของบล็อก(Footer)
  • โฆษณา(Advertisements)
1.ส่วนหัว(Header)  ส่วนหัวเป็นส่วนที่ผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่จะเห็นเป็นส่วนแรก เมื่อเข้ามาในบล็อกของคุณ และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด มันเป็นสิ่งเดียวที่จะแยก ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบล็อกของคุณกับบล็อกอื่น ๆ นับล้านบล็อก เป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของบล็อกคุณเพื่อให้เกิดการจดจำ จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าทำไมส่วนหัวจึงสำคัญมากที่สุด ในบรรดากระบวนการออกแบบบล็อก แม้แต่คนที่ไม่ให้ความสนใจกับการออกแบบบล็อกสักเท่าไหร่ แต่เขาก็ให้ความสำคัญกับส่วนหัวมาก
 
ตัวอย่างส่วนหัวที่ดี
1. Octwelve

 Octwelve เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ตัวอักษรที่สวยงาม ในส่วนหัวเพื่อทำให้ส่วนหัวแตกต่างจากส่วนอื่น ๆ ของบล็อกอย่างเห็นได้ชัด และยังทำให้คุณรู้ว่าบล็อกนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

2. Cult foo
 
 ผมชอบส่วนหัวของ Cultfoo ตรงที่รูปภาพทะลุออกมาจากกรอบ ที่เดิมทีจะเป็นกรอบโค้งและกรอบเหลี่ยม การออกแบบแบบนี้เรียกร้องความสนใจให้บล็อกได้เป็นอย่างดีทีเดียว

 3. Darkmotion

 จุดเด่นของ darkmotion คือ การออกแบบส่วนหัวที่ได้อารมณ์มาก ดูแล้วสนุกสนานรื่นเริง
 
วิธีทำให้การออกแบบส่วนหัวออกมาดูดี
  • ถ้าผมจะออกแบบบล็อกสักอัน สิ่งแรกที่ผมจะทำคือส่วนหัว เพราะ มันเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางในการออกแบบส่วนอื่น ๆ ของบล็อก ดังนั้น ก่อนจะออกแบบส่วนหัวคุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนว่า อะไรที่สื่อให้เห็นถึงความเป็นตัวตนของบล็อกคุณ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ บล็อกของคุณมีไว้เพื่ออะไรและอะไรจะสื่อให้เห็นถึงสิ่งนั้น การทำเช่นนี้ ช่วยให้คุณจะได้ไม่มาปวดหัวทีหลัง ในการแก้ไขระหว่างการออกแบบส่วนหัว
  • ถึงแม้ว่าจะมีแนวทางในการออกแบบส่วนหัวมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้เลยและจะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การสื่อให้ผู้เยี่ยมชมเห็นวัตถุประสงค์ของบล็อก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม รับรู้ถึงวัตถุประสงค์ได้ในทันทีที่เห็นส่วนหัวของบล็อก
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่หยุดนิ่งที่จะลองการออกส่วนหัวแบบอื่น ๆ จนกระทั่งคุณได้เจอสิ่งที่คุณถูกใจ เพราะอย่างที่บอกไปหลายครั้งแล้วว่าส่วนหัวมันสำคัญมากจริง ๆ มันช่วยให้ผู้เยี่ยมชมจดจำบล็อกของคุณได้ด้วย
2. ส่วนเนื้อหา(Content Area)  ส่วนเนื้อหาเป็นส่วนที่ผู้อ่านหรือผู้เยี่ยมชม จะใช้เวลาจดจ่ออยู่นานที่สุด สิ่งสำคัญคือจะต้องแน่ใจว่า ส่วนเนื้อหาง่ายต่อการอ่านและ ไม่ควรมีสิ่งที่ดึงความสนใจผู้อ่านมากจนเกินไป สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ ต้องวางโครงสร้างเนื้อหาให้ดีว่าอะไร สำคัญที่สุดไปจนถึงสำคัญน้อยที่สุด
 
ตัวอย่างส่วนเนื้อหาที่ดี
1. Simplebits

 ส่วนเนื้อหาของ Simplebits ดีที่อ่านง่ายและแยกลิงค์ออกจากส่วนของเนื้อหาได้อย่างชัดเจน แต่มันไม่เรียกร้องความสนใจหรือไม่ตื่นตาตื่นใจสักเท่าไหร่ ออกแนวเรียบง่าย

2. We Love WP

 ปัญหาใหญ่ในการออกแบบพื้นหลังสีทึบคือยากต่อการอ่าน แต่ถ้าหากทำให้ดีแล้วจะดูสวยงามมาก WeLoveWP ใช้สีน้ำตาลอ่อนจึงไม่ตัดกับพื้นหลังที่ออกทึบมากเท่าไหร่ ทำให้อ่านง่าย

3. We Break Stuff

 ผมชอบการผสมผสานรูปแบบลิงค์ระหว่างเส้นใต้ที่เป็นจุด ๆ กับสี ทำให้ดูดี

 วิธีทำให้การออกแบบส่วนเนื้อหาออกมาดูดี
  • ออกแบบโครงสร้างเนื้อหาว่าสิ่งไหนสำคัญมากที่สุด ไปจนถึงสำคัญน้อยที่สุด เช่น หัวเรื่องควรเด่นกว่าลิงค์และข้อความที่เป็นตัวหนา
  • สไตล์การออกแบบเนื้อหาต้องมีส่วนที่ทำหน้าที่เดียวกัน ต้องมีสิ่งที่คล้ายกัน เช่น ลิงค์ต้องมีรูปแบบเหมือนกัน คือ ให้ดูแล้วรู้ว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน ไม่ใช่ว่า ลิงค์อันนึงขีดเส้นใต้ อีกอันนึงทำตัวหนา
  • การกำหนดรูปแบบหรือสไตล์ให้กับลิงค์ ควรทำให้มันเด่นกว่าเนื้อหาธรรมดา เพียงพอที่จะดึงความสนใจผู้อ่านได้แต่ไม่ควรเด่นมากจนเกินไป
3. เมนูหลัก(Primary Navigation)  เมนูหลักคือชุดของลิงค์ที่จะนำพาไปสู่ส่วนของอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน (area) ในบล็อกโดยทั่วไปแล้วจะวางไว้ใกล้กับส่วนหัว (ความจริงไม่ต้องวางไว้ตรงนี้ก็ได้) แต่การวางไว้ใกล้กับส่วนหัวมันมีประโยชน์ตรงที่ ผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่จะคาดหวังว่าเมนูหลักจะต้องอยู่แถวนี้
 
ตัวอย่างเมนูหลักที่ดี
1. A list apart
 
 AList Apart เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งในการนำเมนูหลักไว้ด้านบน

2. Mindtwitch
 
 Mindtwitch ใช้การความแตกต่างของพื้นผิวแสดงทำให้เห็นชัดเจนว่าเป็นเมนูหลัก

3. Jogger
 
 เมนูหลักของ Jogger เรียบง่าย และทำได้ง่าย แต่มันสื่อสารออกมาได้อย่างชัดแจ้ง และยังกลืนเข้ากับส่วนอื่น ๆ ได้อย่างแนบเนียน
 
วิธีทำให้การออกแบบเมนูหลักออกมาดูดี
  • จำนวนลิงค์ในส่วนเมนูหลักไม่ควรมีเยอะเกินไป ทั้งนี้ไม่ได้มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องมีไม่เกินกี่ลิงค์ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่ควรเกิน 6-7 ลิงค์
  • ส่วนของเมนูหลักควรสงวนไว้ให้ เฉพาะลิงค์ที่ไปสู่หน้าหลักของส่วนอื่น ๆ ของบล็อก โดยที่หน้านั้นสามารถพาผู้เยี่ยมชมไปสู่ส่วนย่อยต่าง ๆ(เมนูรองนั่นเอง) ได้อีก
  • ตัวอย่างเมนูหลักที่เห็นได้ทั่วไปคือ การติดต่อ(contact) เกี่ยวกับเรา (about) คุณสมบัติ/คุณลักษณะของเมนูหลัก ขึ้นอยู่กับว่า คุณออกแบบโครงสร้างบล็อกของคุณอย่างไร และ อะไรที่คุณต้องการให้ผู้เยี่ยมชมบล็อกของคุณสนใจ
4. เมนูรอง(Secondary Navigation)  เมนูรองคือชุดของลิงค์ที่นำพาผู้เยี่ยมชมไปยังส่วนย่อยอื่น ๆ ของเนื้อหาที่อยู่ในขอบเขตเดียวกัน(section) โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบส่วนด้านข้าง(sidebar) เมนูรองมีความสำคัญไม่น้อยเหมือนกัน เพราะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงส่วนย่อยอื่น ๆ ของบล็อกที่เมนูหลักไม่ได้คลอบคลุมถึงได้
เมนูรองที่ดีควรจะเป็นลิงค์ไปยังบทความ ที่ผู้เยี่ยมชมคลิกดูมากที่สุด ลิงค์ของชุดบทความ (บทความที่มีหลายตอน) หรือจะเป็นสิ่งอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่คุณอยากให้ผู้อ่านเข้าถึงได้ง่าย
 
ตัวอย่างเมนูรองที่ดี
1. Elitistsnob

 ผมชอบที่ส่วนด้านข้างเด่นชัด แยกออกมาจากส่วนอื่น ๆ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถมองหาได้ง่าย

2. Mancub

ชอบที่ส่วนด้านข้างผุดออกมาจากเนื้อหา

3. Designdisease

 Design Disease ใช้สีส้มทำให้ส่วนข้างเด่นกว่าส่วนอื่น ๆ
 
วิธีทำให้การออกแบบเมนูรองออกมาดูดี
  • หลักการก็เหมือนกับการออกแบบเมนูหลัก คือใส่ลิงค์แค่ที่จำเป็น
  • แยกส่วนของเมนูรองออกจากส่วนอื่น ๆ โดยการใช้รูปแบบลิงค์ที่แตกต่างจากส่วนอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ดูเป็นระบบระเบียบ (ดูรู้ว่านี่คือเมนูรอง ไม่ใช่ปนอยู่กับเนื้อหา) ง่ายต่อการใช้งาน
  • ไม่ควรใส่ของตกแต่งจำพวกโปรแกรมเล็ก ๆ เช่น ปฏิทิน เข้าไปในส่วนของเมนูรองมากนัก เพราะจะทำให้รกตาและมันยังไม่ได้ช่วยให้ผู้เยี่ยมชม หาสิ่งที่ต้องการเจอ
5. หัวเรื่อง(Headlines)  หัวเรื่องของแต่ละบทความมีไว้เพื่อดึงดูดความสนใจผู้อ่าน และยั่วเย้าให้อ่านเนื้อหาทั้งหมดในที่สุด การจะทำเช่นนี้ได้ หัวเรื่องของคุณจะต้องเด่น โดยสามารถทำได้หลากหลายวิธี
 
ตัวอย่างหัวเรื่องที่ดี
1. Henry Jones
 
 Henry Jones เป็นตัวอย่างการออกแบบหัวเรื่องที่ดูเรียบง่ายมาก ๆ แต่ถึงจะเรียบง่ายมันก็สามารถดึงความสนใจมาสู่หัวเรื่องได้ อาจจะด้วยการใช้ไอคอนแปะไว้กับวันที่ และจำนวนความคิดเห็น ที่อยู่ถัดลงมาจากหัวเรื่อง

2. I Love Typography
 
ตัวอย่างนี้ใช้สีสันและแบบตัวอักษรแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ยั่วยวนใจผู้เยี่ยมชม

3. Blogsolid
 
Blogsolid ใช้ยุทธวิธีในการดึงดูดความสนใจผู้เยี่ยมชมมาสู่หัวเรื่อง ด้วยการนำรูปภาพงานศิลปอันงดงามมาวางไว้ใกล้กับหัวเรื่อง
 วิธีทำให้การออกแบบหัวเรื่องออกมาดูดี
  • วิธีที่ง่ายที่สุดเลยก็คือ กำหนดสีให้หัวเรื่องแตกต่างจากตัวเนื้อหา
  • ใช้แบบอักษรให้แตกต่างจากเนื้อหา โดยทั่วไปนิยมใช้ แบบอักษร serif กับหัวเรื่อง และ แบบอักษร non-serif กับส่วนเนื้อหา
  • ขนาดตัวอักษร หัวเรื่องไม่ควรใช้ขนาดตัวอักษรที่ใกล้เคียงกับเนื้อหา (ถึงแม้จะใหญ่กว่าเล็กน้อยก็ตาม) เพราะจะทำให้ผู้อ่านแยกแยะได้ยากว่าอันไหนคือหัวเรื่อง
  • วิธีที่จะทำให้หัวเรื่องเด่นมาแต่ไกล ทำได้โดยเอาวันที่โพสบทความใส่เข้าไปบริเวณเดียวกับหัวเรื่องด้วย
6. ส่วนแสดงความคิดเห็น(Comments)  ส่วนความคิดเห็น เป็นบริเวณที่มีการถกกันเกี่ยวกับบทความจากผู้อ่าน/ผู้เยี่ยมชม หน้าที่ของผู้ออกแบบ จะต้องออกแบบให้บริเวณนี้ดูเป็นการสนทนากัน ด้วยการแยกแต่ละความคิดเห็นออกจากกัน อาจจะด้วยการกำหนดหมายเลขให้แต่ละความคิดเห็น วิธีนี้ยังช่วยให้ง่ายต่อการอ้างอิงความคิดเห็นต่าง ๆ อีกประการ คือแยกความคิดเห็นของเจ้าของบทความ ให้ต่างจากความคิดเห็นทั่วไป เพื่อเอาไว้คั่นว่าได้ตอบความเห็นของผู้อ่านถึงไหนแล้ว หรือ ดูว่ามีความเห็นเพิ่มมาอีกหรือป่าว

 ตัวอย่างส่วนแสดงความคิดเห็นที่ดี
1. Chris Shiflett
 
 Chris? ออกแบบแบบเรียบง่าย อ่านง่าย แยกชื่อผู้ออกความคิดเห็น ออกจาก ความคิดเห็นอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

2. Darkmotion
 
ผมชอบที่เขาแยกส่วนชื่อผู้ออกความเห็น กับ ความคิดเห็น และดูแล้วได้อารมณ์มาก เหมือนการคุยกัน

3. Blog Design Blog
 
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง มีตัวเลขบอกลำดับความคิดเห็น และเน้นชื่อผู้ออกความคิดเห็นด้วยกล่องสีฟ้า ทำให้แยกออกจากส่วนของความคิดเห็น
 วิธีทำให้การออกแบบส่วนแสดงความคิดเห็นออกมาดูดี
  • แยกแต่ละความคิดเห็นออกจากกัน วิธีที่ง่ายที่สุด ทำได้ด้วยการใช้สี และอีกวิธีคือ วางไว้คนละที่กันอาจจะใช้กรอบครอบแต่ละส่วน หรือใช้เส้นคั่นก็ได้
  • ใช้สี และ การออกแบบ ให้ชื่อความคิดเห็นของเจ้าของบท ความเด่นกว่าความคิดเห็นของผู้เยี่ยมชมคนอื่น ๆ เล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรแตกต่างกันแบบสุดโต่ง
  • แยกข้อมูลอื่น ๆ (ชื่อ วันที่ หมายเลขลำดับการโพสความคิดเห็น) ออกมาจากส่วนของความคิดเห็นเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย
7. ส่วนท้ายของบทความ(Post?s Footer)  ส่วนท้ายของบทความจะอยู่ระหว่างด้านล่างบทความ บรรทัดสุดท้ายกับส่วนแสดงความคิดเห็น บ่อยครั้งที่เราจะไม่ค่อยให้ความสนใจกับส่วนนี้สักเท่าไหร่ และคิดว่าไม่สำคัญ แต่ส่วนท้ายของบทความก็มีค่ามากเหมือนกัน เพราะมันเป็นส่วนที่ชักจูงผู้เยี่ยมชม/ผู้อ่าน ไปยังบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ บทความที่สำคัญ

 ตัวอย่างส่วนท้ายของบทความที่ดี
1. Freelanceswitch

ผมชอบการออกแบบบล็อกแบบ Collis มาก ให้ความรู้สึกเรียบร้อย สะอาด ดึงดูดความสนใจ
 ในตัวอย่างนี้เขาทำได้ดีทีเดียว แยกส่วนเนื้อหาออกจากส่วนเพิ่มเติ่มพิเศษในส่วนท้ายบทความได้ชัดเจน

2. PSDTuts
 
 นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบบล็อกแบบ Collis ดึงความสนใจผู้อ่านมาสู่ส่วนที่มีการโหวต และ ทำบุคมาร์คบทความ เขายังแยกส่วนนี้กับส่วนถัดไปออกจากกันด้วยสีพื้นหลัง

3. Standards for Life

 ส่วนท้ายบทความของ Standards of Life ให้ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย การสลับสี similar posts(เนื้อเรื่องที่คล้ายกัน) ดูแล้วสบายตา
 
วิธีทำให้การออกแบบส่วนท้ายบทความออกมาดูดี
  • ทำให้ส่วนท้ายบทความแตกต่างจากส่วนเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าทั้งสองส่วนนี้ไม่ไม่ใช่ส่วนเดียวกัน และยังช่วยให้ส่วนท้ายบทความเด่นขึ้น เทคนิคนนี้ทำได้โดยใช้สีพื้นหลังที่ต่างกัน
  • ตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าจะเอาอะไรมาใส่ไว้ในส่วนท้ายบทความนี้บ้าง จะได้ไม่ต้องมาทำแล้วลบทิ้งและทำใหม่ ภายหลัง เป็นเหตุให้เสียเวลา
  • เนื้อหาที่จะนำมาใส่ในส่วนนี้นั้น น่าจะต้องมี บทความที่คล้ายกัน (related posts) เพื่อช่วยให้ผู้อ่านไปยังเรื่องที่น่าสนใจคล้ายกับเรื่องนี้ได้
8. ส่วนท้ายของบล็อก(Footer)  ส่วนท้ายของบล็อกเป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน อย่างเต็มที่ (ใช้แค่ใส่ copyright ) แต่ส่วนนี้สามารถนำเมนูรองมาใส่ไว้ได้เพื่อลดความแออัดของลิงค์ ในเมนูรองในด้านข้างบล็อก
เมื่อผู้อ่านมาพบกับส่วนท้ายของบล็อกจะเป็นเวลาที่ผู้อ่าน อ่านเนื้อหาจบแล้ว หรือ อ่านส่วนแสดงความคิดเห็นเสร็จแล้ว นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่คุณจะได้นำเสนอ บทความอื่น ๆ ในบล็อก ด้วยการวางเมนูรองไว้ในส่วนท้ายบล็อกนี้
ลิงค์ที่น่าจะนำมาใส่ควรเป็น บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุด บทความแนะนำ คุณอาจจะใส่ลิงค์ เกี่ยวกับเรา และ การติดต่อไปด้วย ถ้าหากเป้าหมายของคุณคือ ผู้เยี่ยมชมบล็อกติดต่อคุณ
 
ตัวอย่างส่วนท้ายของบล็อกที่ดี
1. Designshack
 
ผมชอบที่ Designshack ใช้ส่วนท้ายของบล็อกเป็นที่วางเมนูรองทั้งหมด โดยด้านข้างบล็อกจะไม่มีเมนูรองเลย

2. Web Designer Wall

ผมชอบความตั้งใจของเจ้าของบล็อก เขาให้ความสำคัญกับส่วนนี้พอ ๆ กับส่วนหัวเลย ผลจึงออกมาดูงดงามยิ่งนัก

3. Chris Shiflett
 
เป็นส่วนท้ายบล็อกที่สะอาด เรียบง่าย มาก ๆ สื่ออกมาได้อย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร
 
วิธีทำให้การออกแบบส่วนท้ายของบล็อกออกมาดูดี
  • ออกแบบให้ส่วนท้ายบล็อกตัดกับส่วนของเนื้อหาบล็อก เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ณ ตอนนี้เขาได้อยู่ที่ส่วนท้ายของบล็อกแล้ว
  • ใส่ลิงค์เท่าที่คุณคิดว่าผู้เยี่ยมชมต้องการใช้ ไม่ควรใส่เรื่อยเปื่อย จับใส่จนรก ทำให้ผู้ใช้หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ สิ่งที่ไม่ควรนำมาใส่เช่น ความคิดเห็นล่าสุด
  • ออกแบบอย่างเรียบง่ายไม่ต้องฉูดฉาดเกินไป เน้นที่การใช้ประโยชน์
9. โฆษณา(Advertisements)  ในปัจจุบันหลาย ๆ บล็อก ได้นำโฆษณามาแปะไว้ในบล็อก จึงทำให้ส่วนนี้มีความสำคัญมากขึ้น ต้องการการออกแบบอย่างพิถีพิถัน เพื่อไม่ให้บล็อกดูน่าเกียจเกินไปหรือ เพื่อไม่ให้โฆษณษมาบดบังความสำคัญของเนื้อหา
ถ้าหากผู้เยี่ยมชมได้พบเจอกับโฆษณาที่จัดวางไม่ถูกที่ ดูน่าเกียจ อาจจะทำให้ผู้เยี่ยมชมเอือมระอาบล็อกของคุณ แทนที่คุณจะได้เงินจากการคลิกโฆษณา เขาจะไม่กลับมาบล็อกคุณอีกเลย คุณจึงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหามากกว่าโฆษณา หากคุณออกแบบและวางโฆษณาไว้อย่างถูกหลัก เงินจากค่าโฆษณามันก็ไม่หนีไปไหนหรอก
 
ตัวอย่างโฆษณาที่ดี
1. Copyblogger
 
 Copyblogger ใช้โฆษณาที่มีขนาดมาตรฐานทั่วไป (125 x 125) ไว้ด้านบนของบล็อก โดยการระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่านี่คือผู้สนับสนุน แต่ก่อนที่คุณจะเห็นโฆษณาคุณจะได้พบกับ tagline ของเขาก่อน ทำให้เห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับเนื้อหาบล็อกมากกว่าโฆษณา

2. Webdesignerwall

 Webdesignerwall ไม่ได้มีเพียงแค่โฆษณาขนาดมาตรฐาน แต่ยังมีโฆษณาอยู่ตรงกลางเนื้อหาด้วย และ ด้วยการออกแบบของเขาทำให้ผู้เยี่ยมชมทราบได้ว่านี่เป็นโฆษณา

3. Problogger
 
Problogger วางโฆษณาไว้ถัดจากโลโก้ของบล็อก แต่มันไม่ได้บดบังความน่าสนใจของโลโก้และเนื้อหาบล็อกเลย
 
วิธีทำให้การออกแบบโฆษณาออกมาดูดี
  • ถ้าคุณตั้งใจไว้ว่าจะเอาโฆษณามาแปะไว้ในบล็อก ในระหว่างการออกแบบบล็อกคุณจะต้องให้ความสำคัญกับมันด้วย เพื่อให้โฆษณาที่เอามาแปะ เข้ากับบล็อกได้อย่างลงตัว
  • โฆษณาที่เป็นที่นิยมมาก คือ google?s adsense และโฆษณาขนาด 125 x 125 Google?s adsense เป็นโฆษณาที่ยืดหยุ่นอย่างมาก คุณสามารถเลือกขนาดได้ หรือ รูปแบบการแสดงผลได้ตามที่คุณต้องการ  แต่โฆษณาขนาด 125 x 125 จะไม่ค่อยยืดหยุ่นสักเท่าไหร่ โฆษณาประเภทนี้มักจะนำไปใส่ไว้ด้านข้างบล็อก
  • หลังจากที่ได้ตัดสินใจคร่าว ๆ ไว้แล้วว่าจะใช้โฆษณาแบบไหนก็ให้คุณหาตัวอยางโฆษณาแบบนั้น แล้วคัดลอกมาแปะไว้ในบล็อกคุณ แปะหลอก ๆ ไว้ก่อน เพื่อที่การออกแบบส่วนอื่น ๆ จะได้เข้ากับบล็อกของคุณได้อย่างลงตัว
  • อย่าลืมออกแบบบล็อกให้สังเกตเห็นโฆษณาได้ง่าย แต่จะต้องไม่บดบังความสำคัญของเนื้อหา ด้านข้างของบล็อกเป็นส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำโฆษณาไป แปะและ ส่วนที่แย่ที่สุดคือการนำโฆษณาไปไว้ในที่ ๆ ผู้เยี่ยมชมจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเมนูของบล็อก Google มีโฆษณาที่เป็นชุดของลิงค์จำนวนหนึ่ง และ ผมมักจะสับสนคิดว่ามันคือเมนูของบล็อก ดังนั้น การระบุว่านี่คือโฆษณาจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ที่มา: http://www.divland.com/blog/2008/06/12/how-to-blog-design/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2016, 20:20:29 โดย smf »