บทความนี้ขอกล่าวถึงอะไรที่ค่อนข้างเป็นเทคนิคมากขึ้นจาก Beginner นิดหน่อย แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ beginner สามารถทำได้ เพราะมันก็ยังกึ่งอัตโนมัติอยู่หลายอย่าง ซึ่งเราจะมาพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า Sub directories ค่ะ
Sub directories คือ การสร้างไดเร็กทอรี่ย่อยจากโดเมนหลักของเรา เช่น
ไดเร็กทอรี่หลัก
www.wpthai.pub (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthai.pub)
ไดเร็กทอรี่ย่อย
www.wpthai.pub/ (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthai.pub/)another1
www.wpthai.pub/ (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthai.pub/)another2
www.wpthai.pub/ (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthai.pub/)another3
ซึ่ง ด้วยวิธีการนี้ เราสามารถที่จะสร้างเว็บลูกขึ้นมาภายใต้เว็บ WordPress หลัก โดยที่เราสามารถจัดการเว็บลูกทั้ง 3 ได้จาก Dashboard หลักของเว็บแม่ ไม่ว่าจะเป็น Theme หรือ Plugin ไม่ต้องไปติดตั้งแยกกันทีละเว็บ และไม่ต้องไปตั้งค่าอะไรที่โฮ้สเพราะจะเป็นปรับแต่งในส่วนของ htaccess แทนค่ะ
ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการแยกเนื้อหาที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน เช่น เว็บแม่เป็นเว็บขายสินค้า โดยมีเว็บลูกเป็นเว็บบล็อกที่ใช้เขียนบทความเกี่ยวกับสินค้า หรือ เว็บหลักกับเว็บลูกเป็นคนละภาษาที่ต้องการการออกแบบและเนื้อหาที่แตกต่างกัน เป็นต้น
⇒ รายละเอียดแบบละเอียดจริงๆ นั้นสามารถอ่านได้ที่ http://codex.wordpress.org/Create_A_Network (http://pordoo.com/go.php?url=http://codex.wordpress.org/Create_A_Network)
ขั้นตอนแรกสำหรับการแก้ไขจุดใหญ่ๆ แบบนี้ทุกครั้งหากไม่ใช่เว็บที่เพิ่งสร้างใหม่ นั่นก็คือการ Backup (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthaiuser.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%82%e0%b8%ae%e0%b9%89%e0%b8%aa-site-backup/) เสร็จแล้วทำการ Deactivate ปลั๊กอินทั้งหมดก่อนค่ะ แล้วทำการเปลี่ยน Permalink (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthaiuser.com/wordpress-basic-set-up/) เป็นแบบ Post name เพื่อที่ url จะได้สั้นกระชับขึ้น ต่างจากค่ามาตฐานที่ส่วนใหญ่มักแสดงเป็น id
(http://upic.me/i/1n/deactive-all-plugin.png) (http://upic.me/i/1n/deactive-all-plugin.png)
Deactivate ปลั๊กอิน
(http://www.wpthaiuser.com/wp-content/uploads/2015/05/permalink-postname.png) (http://www.wpthaiuser.com/wp-content/uploads/2015/05/permalink-postname.png)
เปลี่ยน Permalink เป็นแบบ Post name
เสร็จแล้ว ให้เราเปิด Ftp (http://pordoo.com/go.php?url=http://www.wpthaiuser.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-filezilla/) เจ้าประจำของเราขึ้นมา แล้วเปิดไฟล์ wp-config.php เพื่อเพิ่มโค้ดนี้เข้าไปก่อนบรรทัดที่เขียนว่า /* That’s all, stop editing! Happy blogging. */ ค่ะ
(http://upic.me/i/m8/allow-wpconfig-multisite.png) (http://upic.me/i/m8/allow-wpconfig-multisite.png)เสร็จแล้วก็เซฟอัปโหลดกลับไปที่โฮ้สต์
(http://upic.me/i/3i/save-changes-to-server.png) (http://upic.me/i/3i/save-changes-to-server.png)
ทำการรีเฟรชบราวเซอร์ที่เว็บเราอีกครั้ง ไปที่เมนู Tools เราจะเจอกับเมนู Network Setup เพิ่มขึ้นมา
(http://upic.me/i/8r/tool-network-setting.png) (http://upic.me/i/8r/tool-network-setting.png)
เลือกตัวเลือกที่ 2 คือ Sub-directories แล้วกรอก Network title ที่ต้องการ
(http://upic.me/i/3c/choose-directories.png) (http://upic.me/i/3c/choose-directories.png)
ระบบจะแจ้งให้เราก๊อปปี้โค้ดชุดแรก ไปวางใน wp-config.php และโค้ดอีกชุด ไปแทนที่ WordPress rule เดิมใน .htaccess
(http://upic.me/i/fa/setting-sub-directory-1024x512.png) (http://upic.me/i/fa/setting-sub-directory-1024x512.png)
(http://upic.me/i/zh/define-multisite.png) (http://upic.me/i/zh/define-multisite.png)
wp-config.php
(http://upic.me/i/5y/change-htaccess-multisite-wordpress.png) (http://upic.me/i/5y/change-htaccess-multisite-wordpress.png)
แทนที่ WordPress rule ใน htaccess เดิม เสร็จแล้วทำการรีเฟรชหน้าเว็บของเรา ระบบจะให้เรา Login ใหม่อีกรอบค่ะ
(http://upic.me/i/j5/relogin.png) (http://upic.me/i/j5/relogin.png)
เมื่อเรากลับมาที่ Dashboard ครั้งนี้ เราจะเจอกับ Toolbar ที่ต่างออกไป กล่าวคือจะมีเมนูในส่วนของ Network เพิ่มเข้ามา
(http://upic.me/i/nt/network-bar.png) (http://upic.me/i/nt/network-bar.png)