ผู้เขียน หัวข้อ: ความแตกต่างระหว่าง Post และ Page  (อ่าน 833 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
ความแตกต่างระหว่าง Post และ Page
« เมื่อ: 22 มิถุนายน 2016, 16:03:09 »
ใน WordPress นั้นเราจะเห็นว่า มีทั้ง Post และ Page ซึ่งหากดูเผินๆ ที่หน้าเว็บแล้วนั้นก็แทบไม่มีอะไรที่ต่างกันเลย แล้วทำไมมันถึงมีทั้ง Post และ Page

Post จริงๆ แล้วก็จัดได้ว่าเป็นเพจประเภทหนึ่ง เป็นลักษณะของการเขียนบทความทั่วไป มีการจัดหมวดหมู่ (Categories) มีแท็ก (Tags) ในการจัดกลุ่มของบทความ ซึ่งบทความประเภทนี้ก็จะเรียงตามวันที่มีการ Publish (เผยแพร่) สามารถเรียกดูบทความทั้งหมดได้จาก ผู้เขียน หมวดหมู่ แท็ก วันที่ เดือน ปี เรียกได้ว่า Post นั้นมีความเชื่อมโยงกันภายในอยู่แล้วค่ะ

Page นั้นจะไม่มีการเชื่อมโยงกับบทความใดๆ เลย ไม่ว่าจะด้วย Post หรือ Page ด้วยกันเอง ไม่มี categories หรือแท็ก ไม่เรียงตาม วัน เดือน ปี ใดๆ ทั้งสิ้น การจะดึง Page ขึ้นมาแสดงนั้น ต้องสร้างลิงค์เพื่อเชื่อมโยงไปที่ page นั้นๆ เอง ส่วนใหญ่มักใช้สำหรับทำหน้า about, contact ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี tags และ categories รวมทั้งไม่ต้องการให้รวมอยู่กับบทความประเภทอื่นๆ

แต่สิ่งที่ Page ทำได้ และเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Template เพราะ page นั้นสามารถกำหนด Template พิเศษขึ้นมาเพื่อแสดงผลพิเศษเฉพาะตัวได้ เช่น การสร้างเทมเพลตแบบ full width ก็จะแสดงหน้าเพจแบบเต็มความกว้างของหน้าจอ โดยที่ไม่มี sidebar ด้านข้าง เป็นต้น และมีอีกหลากหลายมากโดยเฉพาะธีมแบบพรีเมี่ยม (ซื้อ) บางครั้ง Page ก็ทำงานร่วมกับ Post เช่นตัวอย่างด้านล่างคือการใช้ page ที่มี template เป็น portfolio ดึงโพสประเภท portfolio มาแสดง


http://wpexplorer-demos.com/corporate/

เครื่องมือในการเขียน Post/Page
Posts > Add New
  • Screen Options ส่วนนี้ปกติจะถูกหุบไว้ ต้องคลิกให้คลี่ออกมา มีในหลายหน้าของ WordPress เป็นที่สำหรับเก็บตัวเลือกเพิ่มเติมในหน้านั้นๆ ซึ่งหากอยู่ใน Post ก็จะแสดงเมนูให้ติ๊กเลือกว่าจะแสดงอะไรในหน้านี้บ้าง อันไหนไม่จำเป็นหรือไม่ค่อยได้ใช้งานก็ไม่ต้องให้แสดงก็ได้
  • Title ไว้ให้เรากรอกชื่อเรื่อง แล้ว url จะถูกตั้งอัตโนมัติตาม Title ถ้าเปรียบเป็นหนัง นี่ก็คือชื่อหนังเรื่องนึง
  • Visual Editor คือส่วนที่ใช้ในการเขียนบทความ สามารถใช้ได้ทั้งแบบที่คลิกๆ ได้เลยเหมือนทำใน WordPress หรือใช้แบบ Text ซึ่งจะเป็น html ให้เราเขียนโค้ดเอง แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ใช้คู่กันทั้ง 2 ก็ช่วยได้เยอะในบางครั้ง
  • พื้นที่สำหรบเขียน
  • Excerpt ใช้สำหรับเขียนเกริ่นนำ เหมือนเป็น Trailer ของบทความนั้นๆ ถ้าเทียบกับหนัง จะแสดงในหน้า Archive ของบล็อก
  • Publish ให้คลิกปุ่มนี้เมื่อเราเขียนเสร็จแล้ว จะเผยแพร่ต่อสาธารณะชนต้องผ่านจุดนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย
  • Format ส่วนนี้ไม่ได้มีกันทุกคน เพราะอยู่ที่ธีมนั้นๆ ว่าจะสนับสนุนบทความแบบหลาย Format หรือไม่ ถ้าเจอก็ลองเล่นดูค่ะว่ามันต่างกันยังไง หรือลองดูธีมนี้ก็จะพอสังเกตุได้บ้าง ถ้ามองดีๆ ค่ะ https://hexademo.wordpress.com/
  • Categories ไว้กำหนดหมวดหมู่ให้กับบทความ สร้างซ้อนกันเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล ก็ได้ โดยถ้าผู้อ่านเว็บเราคลิก จังหวัด ในลิงค์หมวดหมู่ มันก็จะดึงทั้งอำเภอและตำบลในจังหวัดนั้นมาแสดงด้วย เป็นต้น
  • Tags คล้ายๆ กับ Categories แต่จะไม่สามารถสร้างซ้อนกันเป็นขั้นๆ ได้ อยู่กันแบบกลุ่มใครกลุ่มมัน นอกจากจะแบ่ง categories ก่อนหน้าแล้ว เราก็ยังมาจัดประเภทด้วย tags ได้อีก
  • Featured image ถ้าหาก Excerpt เป็นตัวอย่างหนัง Featured image ก็คือ โป๊สเตอร์หนังนั่นเอง
3 สิ่ง ที่สำพันธ์กันที่เราควรให้ความสำคัญในการเขียนบทความให้น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่จะผู้ชมจะเห็นเป็นดับแรก นั่นก็คือ Title, Excerpt, Featured Image กล่าวคือ Title ต้องสะดุดตา น่าสนใจ Excerpt กล่าวต่อสั้นๆ ขยายจาก title ว่าบทความนี้ทำไมจึงควรอ่าน! Featured Image เป็น สิ่งแรกที่คนจะเห็น เพราะคนเราย่อมมองด้วยตา และภาพสวยๆ มักดึงดูดความสนใจได้ดีเสมอ เป็น eye-catching ที่ช่วยทำให้บทความน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

3 สิ่งที่ว่านี้ยังช่วยในเรื่องของ SEO ในทางอ้อมอีกด้วย เป็น seo ที่ไม่ใช่ อัลกอริทึ่ม ของ Google แต่เป็น seo ที่ทำกับคนอ่านโดยตรงนั่นเอง

Pages > Add New


มีส่วนที่ไว้สำหรับเขียนบทความที่เหมือนกันกับ Post และบางธีมมี Featured Image ด้วย แต่สิ่งที่ Page ไม่มีแน่ๆ นั่นก็คือ Categories และ Tags แต่สิ่งที่ Page มีและ Post ไม่มีเช่นกันก็คือ Page Attributes ที่ให้เรากำหนด Template ให้กับ Page นั้นๆ

โดยทั่วไป นอกจากการนำ Page มาทำเป็นหน้า Contact, About แล้ว ยังนิยมนำไปใช้เป็นหน้า Home อีกด้วย โดยการเซ็ต Page ให้เป็น Static front page



ที่มา: http://www.wpthaiuser.com/wordpress-between-post-page/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 สิงหาคม 2016, 18:35:00 โดย smf »