ผู้เขียน หัวข้อ: CMS : Content Management System คืออะไร  (อ่าน 1563 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
CMS : Content Management System คืออะไร
« เมื่อ: 4 สิงหาคม 2016, 12:00:11 »
 “อยากได้เว็บไซต์ที่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ มีระบบหลังบ้านให้จัดการเนื้อหาได้เอง”

ถ้าคุณกำลังมองหาเวบไซต์ที่มีระบบแบบนี้อยู่ คุณกำลังพูดถึง ระบบจัดการเนื้อหา แล้วล่ะครับ

 Website มีกี่ประเภท

Static Website คือเว็บไซต์แบบที่พัฒนาโดยไม่ได้มีการรองรับการอัพเดตข้อมูลเพิ่มเติมใน อนาคต หรือไม่มีการรับข้อมูลจากผู้ใช้งานทั่วไป คือว่าง่ายๆ เป็นเหมือนใบปลิวเท่านั้น ทั่วๆไปที่จะเห็นก็จะเป็นเว็บไซต์ประเภท เว็บองค์กร, เว็บบริษัท, เว็บส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งจะ 1 ปี หรือ 5 ปี ข้อมูลมันก็ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไร เค้าก็จะทำเว็บไซต์เป็นแบบ Static นี่แหละครับ ไม่ต้องการการอัพเดต ง่าย สะดวก ไม่ต้องมีระบบจัดการใดๆ ไม่มีฐานข้อมูล(database) รวมถึงไม่มี CMS ด้วย ซึ่งในการขั้นตอนการพัฒนา ก็มักจะเป็นการเขียน html ล้วนๆเลยครับ มี css และ JavaScript บ้าง หรืออาจจะมี flash เป็นส่วนประกอบ แต่แน่นอนมักจะไม่มีภาษาทางด้าน server อย่าง php หรือ asp เป็นองค์ประกอบสักเท่าไร อย่างมาก ก็หน้าประเภท Contact Us เพื่อส่ง E-mail เป็นต้นครับ เราแทบจะไม่เห็น Static Website แล้วในปัจจุบัน นอกจากบริษัทที่ค่อนข้างจะขี้เหนียวในการควักกระเป๋าเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ เท่านั้น
 
Dynamic Website บางครั้งเนี่ยพวกที่นิยมศัพท์เทคนิค เค้าก็จะนิยามเว็บไซต์ประเภทนี้ว่าเป็น web 2.0 อะไรแบบนั้น แต่ใน Concept ที่แท้จริงแล้วเว็บไซต์แบบไดนามิคเนี่ย หมายถึงเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง และอัพเดตข้อมูลได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนประเภท Static Website ที่จะอัพเดตข้อมูลกันที่ ก็ต้องไปนั่งแก้ HTML แล้วทำการ FTP ขึ้น Host อยู่ร่ำไป เว็บไซต์ไดนามิค เริ่มใช้กันมากขึ้นมากๆ ตั้งแต่ต้นยุค 2000 เพราะเว็บไซต์หลายๆเว็บต้องมีการอัพเดตกันอยู่บ่อยๆ แรกเริ่มเดิมที การอัพเดตข้อมูลมักจะเป็นผู้ดูแลระบบ(Admin) กัน แต่พอมาเป็นยุค 2.0 จริงๆ เว็บไซต์ส่วนมากจะให้ผู้ใช้งานเนี่ย เป็นผู้สร้าง Content ขึ้นมาในเว็บไซต์ของตัวเอง เค้าเรียกกันว่า UCC(User Create Content) ในช่วงแรกๆ เราจะเห็นเว็บไซต์ประเภท Blog สร้าง Story ของตัวเองขึ้นมา และก็จะมีเว็บไซต์ประเภท Webboard อีกเหมือนกัน ที่ User เข้ามาสร้างเนื้อหา สุดท้ายก็จะเป็น Social Network อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันเนี่ยแหละ หมดเวลาที่ Admin เป็นผู้สร้างเนื้อหาแล้ว Admin จะเป็นผู้กรองข้อมูลเท่านั้น ปล่อยให้ User เป็นผู้สร้างแทน ซึ่งเท่าที่เล่ามาทั้งหมดเนี่ย Website แบบ Dynamic จึงต้องการระบบจัดการเนื้อหาภายในเว็บไซต์ หรือเจ้า CMS เนี่ยแหละ เพื่อสะดวกรวดเร็วในการทำงานแบบ Interactive มากขึ้น ไม่ต้องมานั่งแก้ HTML กันอีกต่อไป ในรายละเอียดจะเล่าต่อไปครับ
 
แล้วระบบจัดการเนื้อหา คืออะไร พูดง่าย ๆ ระบบจัดการเนื้อหาคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ที่สามารถเขียนเนื้อหา แก้ไข อัพเดท จัดเรียง หรือลบทิ้งเนื้อหาที่เราสร้างขึ้นมาได้ โดยผ่านระบบหลังบ้าน ส่วนใหญ่ระบบเหล่านี้จะนำไปทำเวบไซต์ บล็อก โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเวบไซต์ใด ๆ เลยก็ได้ เพียงแค่มีเนื่อหา มีรูป มีวีดีโอที่ต้องการจะเผยแพร่ ก็สามารถใช้งานระบบเหล่านี้ได้แล้ว เพียงแค่ติดตั้งอย่างถูกต้องเท่านั้น
 ระบบ CMS จึงมีลักษณะพิเศษอยู่ 2 อย่างคือ:
  • มีระบบผู้ดูแลอยู่หลังบ้าน (ระบบ Admin) เพื่อเอาไว้จัดการส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์
  • ไม่ต้องแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ บนเว็บไซต์ด้วยการแก้ไขไฟล์เว็บไซต์
CMS – ระบบจัดการหลังบ้านมีอะไรบ้างในโลกนี้ เว็บไซต์สำเร็จรูป (Content Management System : CMS ) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ระบบจัดการเนื้อหา” เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบจัดการเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ทั้งหมดผ่านระบบ “Admin” ที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) สร้างขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการปรับแต่งข้อความ เนื้อหา Banner หรือส่วนอื่น ๆ ตามต้องการ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดไฟล์เว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อความและทำ การอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปบน Server ใหม่อีกครั้ง
 เว็บไซต์สำเร็จรูปมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น:
  • CMS ประเภท Blog ได้แก่ WordPress, Drupal
  • CMS ประเภท เว็บบอร์ด ได้แก่ SMF, phpBB
  • CMS ประเภท e-Learning เช่น Moodle, Sakai
  • CMS ประเภท e-Commerce เช่น Magento, VirtueMart, osCommerce, PhpShop
  • ฯลฯ
ประโยชน์ของ CMS ข้อดีหรือว่าจุดเด่นของมันเลยก็คือ ความเร็วในการสร้างเว็บไซต์ เพียงแค่ดาวน์โหลด CMS ที่เราต้องการมาอัพขึ้นไปบน Server และทำการติดตั้ง ก็ทำให้เรามีเว็บไซต์ได้ภายในพริบตา โดยที่ไม่ต้องทำอะไรต่อเลย มีระบบจัดการให้ทุก ๆ อย่าง แล้วแต่ CMS ประเภทนั้น ๆ จะเป็นอะไร เช่นถ้า CMS ประเภท Blog ก็จะมีระบบเขียนบทความ พร้อมเครื่องมือช่วย ส่วนเสริมต่าง ๆ ให้คุณได้ใช้งาน เป็นต้น
 ข้อเสียของ CMS CMS เป็นระบบขนาดใหญ่ที่ใช้ผู้พัฒนาหลายคน ฉะนั้นการเขียนระบบค่อนข้างที่จะซับซ้อน เพราะต้องคำนึงถึงความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ความปลอดภัยของเว็บไซต์และข้อมูล จึงทำให้การพัฒนาต่อยอดเป็นไปได้ยาก จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ถึงโครงสร้างของ CMS ประเภทนั้น ๆ จึงจะสามารถพัฒนาหรือปรับแต่งส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้


ที่มา: http://blog.webwithwp.com/what-is-cms/