ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยใน Startup ต่างแดน – สัมภาษณ์คนไทยหนึ่งเดียวใน Saleduck Asia  (อ่าน 1562 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
การเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพในเมืองไทยใน ปัจจุบันเรียกได้ว่า เติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงเป็นโอกาสของคนในสายงานไอทีทั้งหลาย ที่จะเข้าไปร่วมงานกับบริษัทเกิดใหม่เหล่านี้ แต่ว่าก็ยังมีหลายคนที่ยังพบว่าการหางานสายนี้ในไทยนั้นหายาก หรือไม่ก็ให้ค่าตอบแทนต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการเข้าไปทำ

วันนี้เว็บไซต์ Designil มีบทสัมภาษณ์พิเศษคนไทยเพียงหนึ่งเดียวในออฟฟิศเว็บไซต์ Saleduck ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ และเป็นที่รู้จักในหลายประเทศของทวีปยุโรป ซึ่งบอกได้เลยว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ
 รบกวนแนะนำตัวหน่อยครับ :


ชื่อวีรภัทร คันธะครับ จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อนหน้านี้เคยเป็นอดีตนักข่าวให้กับสถานี โทรทัศน์ช่องหนึ่งในประเทศไทยครับ จากนั้นก็ได้รับโอกาสทำซัพพอร์ตให้ทางUber ซึ่งมีออฟฟิศอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย  ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหาร และดูแลกลยุทธ์ด้านการตลาดของประเทศไทยให้กับ Saleduck ประเทศไทย  www.saleduck.co.th ครับ

 เว็บไซต์ Saleduck นี่ทำเกี่ยวกับอะไรครับ: เว็บไซต์ Saleduck ประเทศไทย height=921 เว็บไซต์ Saleduck ประเทศไทย

  เว็บไซต์ Saleduck เป็นสตาร์ทอัพจากประเทศเนเธอร์แลนด์ มีหน้าที่หลักในการรวบรวมคูปองส่วนลด รวมถึงโปรโมชั่นจากร้านค้าออนไลน์ชื่อดังต่างๆของประเทศไทยมาไว้ที่เดียว เพื่อให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการซื้อสินค้าออนไลน์ได้มีโอกาสซื้อสินค้าได้ในราคา ที่ถูกที่สุดครับ

เรารู้กันอยู่เป็นอย่างดีครับว่า สินค้าจากร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ อาจมีราคาที่แตกต่างกันไป และหลาย ๆ เว็บไซต์ก็มีส่วนลดให้ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งบางทีผู้บริโภคก็ไม่ทันสังเกตว่ามีส่วนลดที่ตนเองสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น บางเว็บอาจแจกรหัสส่วนลดประจำเทศกาล หรือบางเว็บอาจลดราคาสินค้าได้สูงถึง 50% เมื่อใช้ร่วมกับบัตรเครดิต ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคพลาดโอกาสเหล่านี้ จึงจะเป็นเรื่องง่ายกว่าถ้าจะเปิดมาที่เว็บไซต์ของเราเพื่อค้นหาส่วนลดก่อน โดยเลือกจากหมวดที่ต้องการ หรือจะเลือกจากเป้าหมายของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการจะซื้อก็ได้

ตอนนี้ของเราก็จะมีพันธมิตรดังๆที่ได้ยิน ชื่อมาอย่างยาวนานแล้ว เช่น Lazada, Zalora, Adidas, Foodpanda รวมถึงบริการอื่นอย่าง Uber กับ Grab เราก็ค้นหาส่วนลดมาให้กับผู้บริโภค
 แล้วมาร่วมงานได้อย่างไร:
saleduck-team height=3648

ก่อนหน้าที่ผมจะมาทำที่นี่ผมก็ไม่รู้จัก Saleduck หรอก แต่พอได้เข้ามาทำความรู้จักจริงๆ เฮ้ยเว็บนี้นี่ก็ค่อนข้างดังนะ แต่มันดังอยู่แถว ๆ ยุโรปไง อย่างที่เบลเยี่ยม Saleduck นี่เป็นเว็บอันดับ1ที่คนนึกถึงเลยนะ เวลาค้นหาส่วนลดสินค้าซักอย่างนึง ปัจจุบันออฟฟิศหลักก็อยู่ที่อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยออฟฟิศนี้จะดูแล 8 ประเทศในทวีปยุโรป คือเบลเยี่ยม สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และตุรกี

ช่วงที่ผมทำ Uber อยู่ ทาง Saleduck ก็ประกาศจะขยายธุรกิจเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะจัดตั้งสำนักงานในกรุงกัวลาลัมเปอร์นี่ละ และกำลังหาผู้ร่วมงานเป็นชาวไทย เนื่องจาก Saleduck ต้องการจะเปิดเว็บไซต์ภาคภาษาไทย จึงต้องการคนที่มีความรู้ภาษาไทย เข้าใจวัฒนธรรมของคนไทย รวมถึงมีทักษะทางธุรกิจ

ตอนที่ผมมา ผมก็นึกว่าจะมีคนไทยคนอื่นในทีมด้วย เพราะคิดว่าสเกลงานค่อนข้างใหญ่ มีเรื่องที่ต้องดูแลรับผิดชอบเยอะ อีกทั้งตัวผมเองยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย แต่พอทำไปซักพัก ผมก็ถามว่าผู้บริหารว่า “จะมีรับคนไทยคนอื่นเพิ่มอีกรึเปล่า” เขาตอบผมว่า “ไม่ล่ะ! ตอนนี้มีคุณคนเดียวก็เหลือเฟือแล้ว แต่อนาคตนี่ไม่แน่ ต้องรอดูก่อน” โอ้โฮ วินาทีนั้น รู้สึกถึงความท้าทายมากๆครับ สงสัยเราจะเก่งเกินไป (หัวเราะ) ก็เลยได้รับสิทธิพิเศษกลายมาเป็นคนไทยคนเดียว โดยเริ่มต้นทุกอย่างจากศูนย์เลย

 มาทำงานคนเดียวอย่างนี้รู้สึกเหงาไหมครับ? จริง ๆ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คนไทยกังวลมากเลยนะ เวลาจะมาทำงานที่ต่างประเทศ สำหรับผม บอกตรงๆว่าเหงาบ้างครับ แต่ก็พยายามหาอะไรทำไปเรื่อยเพื่อให้ตัวเองไม่ต้องนั่งเหงาตลอดเวลา

ส่วนหนึ่งผมมองว่าการได้มาทำงานที่ต่างประเทศคือโอกาสที่ดีสำหรับการ พัฒนาตัวเอง ดังนั้นเวลาว่าง ผมก็พยายามเข้าฟิตเนส อ่านหนังสือฝึกภาษา หรือไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆในมาเลเซียที่น่าสนใจ แต่ถ้าเหงาหรือเหนื่อยแบบพีคจริงๆ ก็จะโทรไปคุยกับเพื่อนๆที่ประเทศไทยครับ เดี๋ยวนี้โทรผ่านอินเตอร์เน็ตก็ฟรีแล้ว แถมเปิดหน้าคุยกันผ่านวีดีโอคอลได้อีกด้วย เรียกได้ว่าไม่เหงาตลอดเวลาอย่างแน่นอน

 บรรยากาศการทำงานเป็นยังไงบ้าง ผมคิดว่าสตาร์ทอัพหลาย ๆ ที่น่าจะเหมือนกันอย่างหนึ่งคือความชิลล์นะครับ อย่างออฟฟิศผมใช้ระบบเข้างาน 7-10 โมง คือคุณจะมากี่โมงก็ได้ แล้วก็นับเวลาไป 9 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว คุณก็กลับบ้านไปได้เลย ไม่ต้องรอคนอื่น
แต่เวลาทำงานจริงก็จริงจังนะครับ แล้วก็มีการประเมินงานกันตลอด ส่วนเพื่อนร่วมงานผมนิสัยดีทุกคนนะ มีชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย แล้วก็ผู้บริหารจากเนเธอร์แลนด์ที่มาบัญชาการอยู่ที่นี่เลย ตอนนี้บอกเลยว่าจากอังกฤษงู ๆ ปลา ๆ ก็สื่อสารได้คล่องแคล่วขึ้นมากครับ เพราะไม่มีใครพูดภาษาไทยซักคน (หัวเราะ) นอกจากนี้ทุกวันพฤหัสก็จะมีกิจกรรมเอ้าท์ติ้ง ส่วนใหญ่ก็เป็นทานอาหารร่วมกันตอนเย็นทั้งออฟฟิศ ไม่ก็ไปเที่ยวด้วยกันครับ ล่าสุดก็ไปเที่ยวชมหิ่งห้อยแถบชานเมืองกัวลาลัมเปอร์มาครับ สนุกมากๆ

 ก่อนได้มาทำ มองภาพยังไงเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ: เมื่อก่อนผมเข้าใจว่าเออ สตาร์ทอัพเป็นเรื่องไกลตัวผมนะ ดูเป็นเรื่องคนที่เก่งคอมพิวเตอร์ เก่งด้านไอทีอะไรอย่างนี้ ตัวผมเรียนจบกฎหมายมา ไม่ได้มีความรู้ด้านไอทีเลย มีแต่ความรู้ด้านธุรกิจ ที่พอจะรู้อยู่บ้าง ตอนที่ไปทำให้ Uber ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นนะว่าเออสตาร์ทอัพนี่มันไม่ได้มีแต่องค์ประกอบแต่คนไอ ทีเท่านั้น แต่มันอาศัยองค์ประกอบร่วมอีกหลายอย่างที่จะทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประสบความ สำเร็จ
ส่วนอนาคตเนี่ยผมมองว่าสตาร์ทอัพมันยังไป ได้อีกไกลนะ โลกยุคใหม่ที่มีอินเตอร์เน็ตเชื่อมเข้าหากัน ยังไงคนก็ต้องพึ่งพาการใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น สตาร์ทอัพใหม่ๆก็เกิดมาตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคตลอดเวลา เอาแค่สตาร์ทอัพเกิดใหม่เนี่ยมันมีเกือบทุกวันเลยนะ เพราะอย่างนี้ คือถ้าเรามีความรู้ความสามารถในด้านไอทีเนี่ย บอกเลยว่าจะไปทำอะไรกับใครที่ไหนอย่างไรก็ได้

 อย่างนี้โอกาสได้งานในสตาร์ทอัพมีเฉพาะคนเก่งเท่านั้นรึเปล่า ? ข้อดีของบริษัทในต่างประเทศ คือ เขาไม่สน ไม่ดูเกรดคุณเลยนะ
เขาดูแค่ว่าคุณทำอะไรเป็นมากน้อยแค่ไหน พอผมมาอยู่ที่นี่ (มาเลเซีย) ผมบอกเลยว่าสายอาชีพไอทีเป็นที่ต้องการมาก ๆ คือไม่เฉพาะไอทีซัพพอร์ตนะ ทุกแขนงของไอทีเลย บริษัทคอมพิวเตอร์ระดับโลกอย่าง Dell หรือแอพพลิเคชั่นดัง ๆ อย่าง Uber ก็อยู่ที่มาเลเซีย นี่ยังไม่รวมบริษัทอื่นอีกด้วยนะ คือเขาต้องการคนที่มีความรู้ด้านไอทีเป็นจำนวนมาก เพราะมาเลเซียเขาก็อยากจะเป็นซิลิคอนวัลเลย์แห่งอาเซียนเหมือนกัน และปัจจุบันรัฐบาลของเขาก็มีนโยบายจูงใจให้สตาร์ทอัพแห่ไปเปิดบริษัทใน ประเทศของเขาเอง

โดยหลายบริษัทที่มาเปิดที่นี่ส่วนใหญ่เขาก็ เตรียมทำหรือทำตลาดประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นคนไทยเองเนี่ยได้เปรียบแน่นอน เพราะยังไงก็ได้ภาษาไทย อีกทั้งผมเชื่อว่าคนไทยเนี่ยมีศักยภาพ และความสามารถสูงนะ ถ้าเทียบกับคนไอทีจากประเทศอื่น ดังนั้นแทบไม่ต้องกังวลเลยว่าจะหางานไม่ได้
 เป็นสตาร์ทอัพ ทำบริษัทต่างชาติ ทำงานที่มาเลเซีย ทักษะด้านภาษาต้องเก่งระดับไหน? ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าหากคุณพอสื่อสารได้ ต้องการฝึกภาษา และหางาน ทางเลือกที่นี่ (มาเลเซีย) ถือว่าเหมาะสมนะ

ส่วนการเป็นสตาร์ทอัพต้องเก่งภาษาไหม อันนี้ผมคิดว่ามันขึ้นกับกลุ่มที่คุณสนใจมากกว่า การเป็นสตาร์ทอัพในต่างประเทศ ภาษาไม่ใช่ประเด็นสำคัญนะ ผมว่าสิ่งที่สำคัญคือมุมมอง และความกล้าที่จะออกจากคอมฟอตโซน ออกมาหาโอกาส ออกมาสร้างความท้าทายให้กับชีวิต แบบที่ Saleduck ยื่นให้กับผม และผมเชื่อว่า คนไทยหลายคนมีศักยภาพครับ แต่แค่ยังไม่กล้าที่จะออกมาเท่านั้นเอง

 ฝากทิ้งท้ายสำหรับคนที่อยากเดินตามรอย อยากให้ทุกคนมีความมั่นใจ พร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง และกล้าที่จะทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ใหม่ๆครับ อย่างที่บอกผมเชื่อว่าคนไทยเนี่ยมีศักยภาพพอ ประกอบกับโอกาสงานสำหรับคนไทยที่ค่อนข้างเปิดกว้าง ไม่เฉพาะสายไอทีเท่านั้น แต่ทุกๆสายงานเลย ถ้าพร้อมก็ลองดูเลยครับ แล้วจะไม่เสียดายภายหลังอย่างแน่นอน
 

ทางทีมงาน Designil ต้องขอขอบคุณคุณวีรภัทรอย่างมากที่มาแชร์ประสบการณ์ดี ๆ ครับ ถ้ามีโอกาสเดี๋ยวจะนำบทความแบบนี้มาให้อ่านกันอีกนะครับ

ที่มา: http://www.designil.com/startup-saleduck-thailand.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2016, 14:41:21 โดย smf »