เบต้า-กลูแคน (Beta Glucan)
เบต้า-กลูแคน คือ สารประกอบประเภทน้ำตาลหลายโมเลกุล หรือที่เรียกว่า โพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide)ชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เบต้ากลูแคน ประกอบขึ้นจากน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลูแคนหรือน้ำตาลกลูโคสนั้น แบ่งออกเป็น อัลฟา-กลูแคน และเบต้า-กลูแคน
เบต้า-กลูแคน (BETA GLUCAN) มีคุณสมบัติมหัศจรรย์ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายใช้ป้องกันโรคติดเชื้อจากจุลชีพต่างๆ ทั้งยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่สำคัญ คือ ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สำหรับประโยชน์ที่เหนือกว่าสารอาหารอื่นๆ คือ สรรพคุณในการป้องกันและต้านเซลล์มะเร็ง เมื่อร่างกายได้รับเบต้า-กลูแคน เม็ดเลือดขาวจะถูกกระตุ้นให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เบต้า-กลูแคน จะถูกย่อยที่บริเวณผนังลำไส้เล็กส่วน lleum ที่เรียกว่า Peyer's Patches โดย เซลล์มาโครฟาส หรือ เซลล์ต่อสู้โรค ให้กลายเป็นแท่ง (fragment) เล็กๆ ของ เบต้า-1, 3/1, 6-D-glucan Polysaccharide จะไปจับกับ Receptor ของ Neutrophils (เซลล์เม็ดเลือด ขาวที่คอยกำจัดเชื้อโรค) ซึ่งจะทำให้ Neutrophils มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคมากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา และจับกับสิ่งแปลกปลอมเพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายได้เร็วขึ้น
ปัจจุบัน เบต้า-กลูแคน มีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย แต่การศึกษาครั้งแรกเริ่มขึ้นใน ทศวรรษที่ 40 เมื่อ Louis Pillemer ศึกษา Zymosan ซึ่งเตรียมได้จากผนังเซลล์ของยีสต์ ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า โปรตีน ไขมัน น้ำตาลเชิงซ้อน หรือองค์ประกอบใดของ Zymosan ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อ ระบบภูมิคุ้มกันได้
หลังจากนั้น ราวทศวรรษที่ 50 Nicholas DiLuzio จากมหาวิทยาลัย Tulane ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยเพิ่มเติมจนพบว่า สารที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันใน Zymosan ที่จริงแล้ว คือ เบต้า-กลูแคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Beta-1,3-D-glucan ซึ่งเป็น โพลิ แซ็กคาไรด์สายยาวของน้ำตาลกลูโคส ที่เชื่อมต่อกันด้วย glycoside lingkage ตรงโมเลกุลของออกซิเจนที่ตำแหน่ง C1 กับ hydroxyl ที่ตำแหน่ง C3 ของอีกกลุ่มหนึ่ง
ผลงานดังกล่าว จุดประกายให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาถึงความสามารถในการกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกัน ของ เบต้า-กลูแคน เรื่อยมาจนก้าวเข้าสู่ยุคปี 80 Joyce K. Czop จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้ค้นพบตัวรับที่จำเพาะต่อเบต้า-กลูแคนบนผิวเซลล์ของ Macrophage โดยตัวรับดังกล่าว เป็นกลุ่มของโปรตีนที่มีขนาดประมาณ 1 ไมครอน ซึ่งจะพบอยู่บนผิวเซลล์ Macrophage ตั้งแต่เริ่มสร้างจากไขกระดูกจนตาย
Joyce K. Czop อธิบายว่า เมื่อสาย α-Helix ซึ่งเป็นโครงสร้างสามมิติของ เบต้า-กลูแคน ที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลประมาณ 7 หน่วยเข้าไปจับที่ตัวรับบนผิวเซลล์ ก็จะไปกระตุ้นเซลล์ Macrophage ให้อยู่ในสภาวะตื่นตัว เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อไปแต่ในภาวะปกติ แล้วเซลล์ Macrophage ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในสภาวะสงบ ซึ่งหมายความว่า ระบบภูมิคุ้มกัน ต่างๆ ของร่างกายจะไม่ทำงานจนกว่าจะตรวจพบสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา หรือสารเคมี ต่างๆ แต่หากร่างกายของเราได้รับเบต้า-กลูแคนอยู่เป็น ประจำแล้ว เบต้า-กลูแคน เหล่านี้ก็จะคอยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ มาโครฟาสจ์ (Macrophage) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ซึ่งกระบวนการในการกระตุ้นเซลล์ มาโครฟาสจ์ (Macrophage) ของเบต้ากลูแคน นั้นมีอยู่หลายทาง เช่น
กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาว มาโครฟาสจ์ (Macrophage) ให้อยู่ในสภาวะที่เตรียมพร้อม และตื่นตัวอยู่เสมอ
ควบคุมการหลั่ง cytokines เช่น interleukins เพื่อกระตุ้นการสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน
กระตุ้นการหลั่ง colony-stimulating factors เพื่อเพิ่มปริมาณการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาว เช่น Neutrophils และ Eosinophils จากไขกระดูก
กระบวนการเหล่านี้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ เซลล์ Macrophage ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาสู่ร่างกายนั่นเอง และจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายในด้านต่างๆ ดังนี้
ต้านเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ
บรรเทาอาหาร และฟื้นตัวได้เร็วหลังจากทำเคมีบำบัด
ลดอาการภูมิแพ้และไข้หวัด
บรรเทาการติดเชื้อ และการอักเสบจากเชื้อชนิดต่างๆ
ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
เบต้า-กลูแคน สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ จากการศึกษาของ Peter W. Mansell ในคนไข้ที่เป็นมะเร็งผิวหนัง 9 ราย พบว่าขนาดของเซลล์มะเร็งที่ผิวหนังของคนไข้ ลดลง เมื่อได้รับการฉีด เบต้ากลูแคน เข้าไปรวมกับผลการทดลองจากการฉายรังสีในระดับที่ เป็นอันตรายให้แก่หนูที่ได้รับ เบต้า-กลูแคน เป็นประจำ พบว่า 70% ของหนูทั้งหมดที่ทำการ ทดลองไม่ได้รับอันตรายจากผลของรังสี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ของ เบต้า-กลูแคน ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีถึงผลของ เบต้า-กลูแคน ที่มีต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ผ่านทาง เซลล์ Macrophage อย่างไรก็ตาม กลไกการลำเลียง เบต้ากลูแคน เข้าสู่ร่างกายยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน โดยสันนิษฐานว่า การลำเลียงดังกล่าวนั้น น่าจะเกิดขึ้นที่ Microfold ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว ที่ดัดแปลงไปทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า M-cell โดยเซลล์เหล่านี้จะ พบอยู่ภายใน Peyers patches ของต่อมน้ำเหลืองตามทางเดินอาหาร หลังจากที่ เบต้ากลูแคน ถูกนำเข้าสู่ M-cell แล้ว M-cell ก็จะส่งต่อเบต้ากลูแคนให้กับเซลล์ Macrophage อีกที
เบต้า-กลูแคน นอกจากจะใช้ทำเป็นอาหารเสริมสุขภาพแล้ว ยังมีการนำไปใช้ในเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางจำพวกครีมกันแดดได้อีกด้วย เบต้ากลูแคน สามารถกระตุ้นให้แผลหายเร็ว ขึ้น โดยจะไปเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง collagen ของเซลล์ผิวหนัง ลดการเกิดอนุมูลอิสระ และกระตุ้นการทำงานของเซลล์ Langerhans ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ นำเสนอสิ่งแปลกปลอม ให้แก่เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน คล้ายๆกับเซลล์ Macrophage โดยกระบวนการเหล่านี้ จะมีผลทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส ลดริ้วรอย และชะลอความแก่ของเซลล์ผิวหนังให้ช้าลง
แหล่งที่พบ เบต้า-กลูแคน ในธรรมชาติ พบได้ในพืชบางชนิด เช่น เห็ด ผักสมุนไพรต่างๆ เช่น ว่านหางจระเข้ม, โสม, ข้าวโอ๊ต, ชะเอมเทศ, ยีสต์ (ยีสต์ดำ ยีสต์ ขนมปัง), ข้าวบาร์เลย์ , สาหร่าย และราเส้นใย เป็นต้น สำหรับ เบต้า-กลูแคน จากยีสต์ดำ เกิด จากการเพาะเลี้ยงยีสต์ดำโดยเฉพาะ ซึ่งตัวยีสต์ดำ จะสร้างใยอาหารเบต้า-กลูแคน บริสุทธิ์ที่มี โครงสร้างเป็น เบต้า-1, 3/1, 6-D-glucan (แปลว่า มีตำแหน่งเชื่อมต่อหลักที่ตำแหน่ง 1 และ 3 ของโมเลกุล และมีตำแหน่งเชื่อมต่อรองที่ตำแหน่ง 1 และ 6 ของโมเลกุล)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เบต้า-กลูแคน ดีที่สุดในโลก ที่มนุษย์เคยค้นพบ, ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน
ศูนย์จุลินทรีย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พรพจน์ ศรีสุขชยะกุล
วิชาการ.คอม,
www.vcharkarn.comhttps://www.greenclinic.in.th/beta-glucan.html