ผู้เขียน หัวข้อ: คบเด็กสร้างแบรนด์  (อ่าน 1181 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
คบเด็กสร้างแบรนด์
« เมื่อ: 4 มิถุนายน 2019, 00:40:28 »





จำนวนพอยท์ที่ใช้แลก 160P หรือซื้อได้ในราคา 160บาท
(หลังซื้อของชิ้นนี้ จะได้รับ 160P สะสมไว้แลกของชิ้นอื่นได้)

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: คบเด็กสร้างแบรนด์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 4 มิถุนายน 2019, 00:43:57 »
คบเด็กสร้างแบรนด์” MKT workshop

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด สำหรับหนังสือ “คบเด็กสร้างแบรนด์” ที่แอดมินหยิบขึ้นมาอ่าน ผลงานของผู้เขียน สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ หรือตำแหน่งทางวิชาการ ผศ.(ไม่ดร.) สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ หนึ่งในทีมงานนักสู้จากมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งร่วมฟันฝ่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ส่งผลให้สถาบันการศึกษาหลายต่อหลายแห่งซวนเซจะล้มมิล้มแหล่ เพราะ จำนวนนักศึกษาหดหายไปตามสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้น และมหาวิทยาลัยรังสิตก็เป็นหนึ่งในนั้น

หากแต่ด้วยเลือดนักสู้ ผู้มองการไกลของผู้กุมบังเหียนอย่าง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ พยายามเสาะหาวิธีการในการพลิกวิกฤติให้กลับเป็นโอกาส จากมหาวิทยาลัยเอกชนที่มียอดนักศึกษาอยู่ระดับหลังห้อง กลับกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และก้าวกระโดดเช่นในปัจจุบัน แถมล่าสุดจากปีการศึกษา 2558 ยังได้รับการประเมินจาก สมศ.ให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการพิจารณาทางด้านคุณภาพให้อยู่ในระดับดีมาก

เรียกว่า หลายองค์กรพยายามค้นหากลยุทธ์ ยุทธวิธี ที่มหาวิทยาลัยรังสิตใช้ ในการพลิกวิกฤติ ให้กลับมาเป็นโอกาส และยืนหยัดสง่าผ่าเผย

            แอดมินเชื่อว่า ไม่มีที่ไหนทำ ไม่มีที่ไหนรวบรวม คำตอบข้อสงสัยทั้งหลายแหล่ ที่เกิดขึ้นนี้ได้ดี นอกจาก “สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ” ที่ได้รวบรวมประสบการณ์จริง ลองจริง เจ็บจริง โดยไร้ตำราอ้างอิงแม้แต่เล่มเดียว ในกลยุทธ์แบบ Trial & Error ผิดถูกรู้กันหน้างาน ผิดก็ถอยแล้วไปทางอื่น ถูกก็ไปต่อ เรียกว่าเป็นกรณีศึกษาสื่อสารการตลาดภาคปฏิบัติ แบบเส้นทางนักสู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต (เรียกง่ายๆ “มวยวัด” นั่นแหละ)

            ทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมไว้ใน “คบเด็กสร้างแบรนด์” แคมปัสมาร์เก็ตติ้งฉบับมวยวัดสไตล์ “บุ๋น + บู๊” แบบม.รังสิต แอดมินบอกเลยว่า หนทางสู้ของม.รังสิตเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของ “ฅนม.รังสิต” ที่ทำงานหนักมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน กว่าจะถึงวันนี้ที่มายืนแถวหน้าในฐานะ

ผู้นำทางการตลาดทั้ง ด้านคุณภาพ และ ปริมาณ ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา กว่าจะได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น จากทั้งนักเรียน และผู้ปกครอง

            โดยเฉพาะในส่วนงานสำนักงานประชาสัมพันธ์ ที่ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ เข้ามาทำหน้าที่ดูแลจัดการตั้งแต่หลังเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ทีมงานสำนักงานประชาสัมพันธ์ ล้วนทำงานหนักกันถ้วนหน้า และบริหารจัดการงานกับสื่อมวลชนได้ดี และเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก สื่อยักษ์ใหญ่ สื่อเล็ก สื่อออนไลน์ ฯลฯ ทีมงานล้วนมีกระบวนการจัดการงานกับสื่อได้อย่างเท่าเทียม

ส่วนที่ว่าจะมีกระบวนการทำงานอย่างไร ใน “คบเด็กสร้างแบรนด์” เจ้าตัวได้บันทึก และถ่ายทอดออกมาทั้งหมด ชนิดไม่มีกั๊ก อยู่ที่ว่าใครจะจับประเด็นออกมาจากงานเขียน ที่อ่านแล้ววางไม่ลงเล่มนี้ได้

ที่มา: https://www.campusfarm.net/15627705/%E0%B8%84%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C-mkt-workshop

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: คบเด็กสร้างแบรนด์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 4 มิถุนายน 2019, 00:44:40 »
ม.รังสิต ภูมิใจนำเสนอ หนังสือ “คบเด็กสร้างแบรนด์”

มหาวิทยาลัยรังสิต ภูมิใจนำเสนอผลงานเขียนจากปลายปากกาของ สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ เจ้าของผลงานพ็อกเกตบุ๊ก “ปิรามิดหน้าเสาธง” “วิชาตกเขา” และเล่มล่าสุด “คบเด็กสร้างแบรนด์” หนังสือฮาวทูเข็นแบรนด์ขึ้นภูเขาในกลยุทธ์แบบ Trial & Error ผิดถูกรู้กันหน้างาน ผิดก็ถอยแล้วไปทางอื่น ถูกก็ไปต่อ เรียกว่าเป็นกรณีศึกษาสื่อสารการตลาดภาคปฏิบัติ เส้นทางนักสู้ของมหาวิทยาลัยรังสิต Rangsit

“คบเด็กสร้างแบรนด์” แคมปัสมาร์เก็ตติ้งฉบับมวยวัดเล่มนี้ เรียกว่า Rangsit  Way หรือ เส้นทางบนสังเวียนนักสู้ของม.รังสิต คือเบื้องหลังที่ทุกฝ่ายทำงานหนักติดต่อกันมาหลายปี ต่อสู้ กู้วิกฤต รื้อ ปรับ เปลี่ยน เลือดตาแทบกระเด็น จนถึงมีโปรแกรมเออรี่รีไทร์ ให้พนักงานสมัครใจลาออก

กว่าจะมีวันนี้ ที่ปาฏิหาริย์มีจริง ในด้านปริมาณ เราได้ขยับก้าวขึ้นมาเป็นมาร์เก็ตลีดเดอร์ ด้วยจำนวนนักศึกษามากที่สุดในประเทศ เป็นบทสะท้อนความเชื่อมั่นของนักเรียนและผู้ปกครอง ในด้านคุณภาพ เราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินจากทุกสถาบันจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุด คือ ดีมาก

เบื้องหลังเส้นทางสู้เหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ “คบเด็กสร้างแบรนด์”


ที่มา: https://hilight.kapook.com/view/132869

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: คบเด็กสร้างแบรนด์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 4 มิถุนายน 2019, 00:46:50 »
ถอดรหัสความสำเร็จ “ม.รังสิต” สู่ ม.เอกชนอันดับ 1 ผ่านหนังสือ “คบเด็กสร้างแบรนด์”


ในการดำเนินธุรกิจการพบเจอกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก มีบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆ มากมายที่กว่าจะเติบโตจนประสบความสำเร็จได้นั้น ล้วนแต่ต้องผ่านวิกฤตต่างๆ มาแล้วทั้งนั้น แต่เมื่อ “ธุรกิจ” มารวมเข้ากับ “การศึกษา” อาจจะดูเป็นวงโคจรที่ห่างไกล แต่อันที่จริงแล้ว “การศึกษา” ก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเชิงพาณิชย์

ด้วยความท้าทายและความน่าสนใจในการสร้างแบรนด์ทางการศึกษา คือจะต้อง ขายของ แบบไม่ได้ขายของ นี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดเป็นเรื่องราวการทำแผนทางการตลาดที่น่าตื่นเต้น สนุก ท้าทาย เหมือนกับอ่านนิยายแนวผจญภัย ซึ่งมีทั้งฉากแอ็คชั่น ดราม่า และสอดแทรกด้วยมุกตลก ทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหนังสือชื่อ “คบเด็กสร้างแบรนด์”

RSU-1

“คบเด็กสร้างแบรนด์”หนังสือทางการตลาด อ่านเพลินสอดแทรกทั้งมุกตลกและความรู้ นำเสนอเรื่องราวการปลุกปั้นแบรนด์ทางการศึกษาของ “มหาวิทยาลัยรังสิต” ที่คนภายนอกมักมองว่าเป็นสถาบันของลูกคนรวย ค่าเทอมแพง มีแต่ดารามาเรียน แต่ทราบหรือไม่ว่าสถาบันแห่งนี้เคยประสบภาวะขาดทุนมาแล้ว แต่แม้ว่าจะพานพบอุปสรรคมากมายสถาบันแห่งนี้ก็ก้าวข้ามผ่านมาได้ จนขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ นี่จึงเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาและนำมาเรียนรู้เป็นแนวทางธุรกิจ (Case Study) ว่า สถาบันแห่งนี้ทำได้อย่างไร ดังนั้นลองมารู้จัก “มหาวิทยาลัยรังสิต” ในแง่มุมของการสร้างแบรนด์กัน
วิกฤตที่ถาโถม (Drama)

ว่ากันว่า “วิกฤต” สามารถสร้าง “โอกาส” ได้ และ ม.รังสิต เองก็เผชิญกับ “วิกฤต” มากมายหลายครั้งเหลือเกิน ปี 2540 เผชิญกับพิษ “ต้มยำกุ้ง” ฟองสบู่เศรษฐกิจแตกครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำธุรกิจเจ๊งระเนระนาดไปมากมาย ม.รังสิต ก็ไม่รอดเช่นกัน และต่อมายังต้องพบกับสถานการณ์นักศึกษาเข้าใหม่ลดลง 3 ปีติดต่อกัน ทำรายรับหายไปครึ่งนึง ช่วงปี 2544-2547 ถือว่าเป็นช่วงวิกฤตสุดขององค์กร ต่อสู้กับความยากลำบาก จึงเป็นที่มาของการ “รีดไขมันองค์กร”

“ในทางทฤษฎีคำว่า ‘รีดไขมันองค์กร’ เป็นถ้อยคำหรูๆ ลดความอืดอาดยืดยาด เพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว แต่ที่แท้มันคือมาตรการเดียวกับเมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้ มีทั้งให้พนักงานสมัครใจลาออก จนถึงเลย์ออฟไล่ออกแบบไม่รู้เนื้อตัว” ในหนังสือระบุ

นอกจากนี้ ยังต้องรับมือกับ “ม็อบ” ในมหาวิทยาลัย ที่นักศึกษาและอาจารย์รวมตัวกันประท้วงการปรับระบบการเรียนการสอนใหม่จากสองเทอม (ทวิภาค) เป็นสามภาค (ไตรภาค) เคราะห์ซ้ำกรรมซัดต่อด้วยเหตุ “มหาอุทกภัยครั้งใหญ่” ปี 2554 น้ำท่วมมิดหัว 3 เมตร ทั้งห้องเรียนและอุปกรณ์การเรียนจมอยู่ใต้น้ำนาน 3 เดือน เหล่านี้คือวิกฤตที่ ม.รังสิต ต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง

RSU-2
พลิกสถานการณ์ (Strategy)

แม้จะพบกับความมืดสักกี่ครั้ง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ยังมีแสงไฟที่ปลายอุโมงค์เสมอ ซึ่งหนังสือคบเด็กสร้างแบรนด์ได้เผยถึงกลยุทธ์ที่อ้างว่าเป็น “มวยวัด” (แบบมีชั้นเชิง) ของ ม.รังสิต ที่ทำให้ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้

Experience Marketing

ในหนังสือบทที่ 14 เผยให้เห็นการทำงานในรูปแบบ Below the Line ของ ม.รังสิต ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ฝ่าวิกฤตมาได้ ผ่านกลยุทธ์ “การตลาดเชิงประสบการณ์” (Experience Marketing) ซึ่งออกมาในรูปแบบของ “โครงการบริการวิชาการแก่สังคม” ไม่ว่าจะเป็น จัดติว (Tutor) จัดคอร์สฝึกอบรมระยะสั้น (Workshop) จัดประกวดหรือแข่งขัน (Competition) จัดงานเปิดบ้าน (Open House) เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมาก

RSU-3

Content Marketing

และอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ทาง ม.รังสิตใช้ก็คือ Content Marketing ซึ่งทำงานกันเป็นทีม จนเรียกได้ว่าเป็น “โรงงานผลิตงานสร้างสรรค์” ตั้งแต่ทำคอนเท้นต์ส่งข่าวออกสื่อมวลชน ทำนิตยสารออฟไลน์และออนไลน์  ทำงานผลิตสื่อ สื่อสารเข้าใจง่ายอาร์ตเวิร์คดูดีมีรสนิยม งานโฆษณาก็สามารถผลิตซีรี่ส์ออนไลน์ งานนิวมีเดียพัฒนาเว็บไซต์ สื่อโซเชียลฯ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

“แต่สิ่งหนึ่งที่เราค้นพบว่า ผลงานที่เราจดจำมันได้ ภูมิใจกับมันทุกครั้งเมื่อนึกถึงจะมีคนกลุ่มหนึ่งอยู่ในนั้น กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยพลังความฝันและไฟในการทำงาน ฝีมือสมัครเล่น แต่สปิริตมืออาชีพ พร้อมเดินลุยไฟไปกับเราในทุกหนแห่ง ใช่แล้วครับ นักศึกษา คบเด็กสร้างแบรนด์”

การจัดระบบองค์กรใหม่

การจะขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้นั้นเพียงแค่บอกอย่างเดียวแต่ไม่ลงมือทำคงไม่สำเร็จ ดังนั้น ม.รังสิตจึงทำการปฏิวัติตัวเองในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการกลับมารับตำแหน่งอธิการบดีของ “ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์” ก็ได้ทำการ Re-Engineering ยกเครื่ององค์กรใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่เปลี่ยนระบบเทอม ยกเลิกไตรภาค กลับไปใช้ทวิภาคเหมือนเดิม เปลี่ยนวิธีคิดค่าหน่วยกิต ปรับระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เปลี่ยนวิธีสอบประเมินวัดผลตัดเกรด ปรับค่าตอบแทนอาจารย์ ยกเลิกโอทีเจ้าหน้าที่ ฯลฯ นอกจากนี้ ทีมผู้บริหารระดับคณะ ตั้งแต่คณบดี ผู้บริหารระดับภาควิชา ก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่หมด เรียกว่าล้มกระดานล้างไพ่ใหม่ นำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของอาคารสถานที่ หลังจากเผชิญกับอุทกภัยใหญ่แทนที่จะซ่อมแซม ก็ตัดสินใจที่จะเนรมิตใหม่ทั้งหมดแบบหัวจรดเท้า ไม่ว่าจะเป็น ภูมิสถาปัตย์  อาคาร สิ่งแวดล้อม ห้องเรียน ห้องแล็บ ฯลฯ ด้วยงบประมาณ 4,000 ล้านบาททีเดียว

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อการจัดระบบองค์กรใหม่ก็คือ การพัฒนา CI (Corporate Identity) ขององค์กร โดยหนังสือยกตัวอย่างไปที่การวางมาตรฐานออกแบบให้เป็นเอกลักษณ์องค์กร ซึ่งก็คือทำ CI ให้เป็นเอกภาพ และใช้สไตล์ที่ทันสมัยเรียกว่า Less is more
ผลสำเร็จ (Success)

จากความพยายาม ความมุ่งมั่น ในที่สุดรางวัลแห่งความสำเร็จก็มาถึง ม.รังสิต ก้าวขึ้นมาเป็นเว็บไซต์อันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชน เป็น เฟซบุ๊ก เพจ อันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ ซึ่งความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากนักศึกษา

นอกจากนี้ ในความสำเร็จด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ก็สามารถคว้ารางวัลทั้งในบ้านและนอกบ้านมาได้มากมาย อาทิ  โปรเจกต์ RSU Smart Team กลยุทธ์นำนักศึกษารุ่นพี่ทำหน้าที่ทูตข่าวสาร แชทออนไลน์กับรุ่นน้องนักเรียนมัธยม ได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต ตั้งแต่เวทีระดับประเทศอย่าง Adman จนถึงระดับนานาชาติ Digital Media Asia สิงคโปร์ ต่อด้วยแคมเปญ “ที่นี่สอนประสบการณ์” ก็สามารถคว้ารางวัล Best Branded Content จากเวที Thailand Zocial Awards ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น พลังของกลุ่มนักศึกษาที่เรียกว่า “RSU Guerilla Team” ทีมที่คอยสร้างเนื้อหาข่าวสารแบ่งปันเรื่องราวดีๆ สู่เครือข่าวสังคมออนไลน์นั่นเอง

RSU-4

ขณะที่ Mindshare เอเจนซี่ชั้นนำระดับโลกยังให้การยอมรับ พร้อมระบุในคำนิยมหนังสือ ว่า (ม.รังสิต) เป็นแบรนด์สถาบันการศึกษาเพียงแห่งเดียว ที่ยืนเด่นอยู่ท่ามกลางแบรนด์ใหญ่ๆ ทั้ง Local และ Global Brand อย่างสง่างาม ในด้านปริมาณได้ขยับก้าวขึ้นมาเป็น “มาร์เก็ตลีดเดอร์” ด้วยจำนวนนักศึกษามากที่สุดในประเทศ ในด้านคุณภาพได้รับการประเมินทั้งจาก สกอ. และ สมศ. จัดอยู่ในระดับสูงสุดคือ “ดีมาก”

นี่คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ที่ ม.รังสิต ได้รับจากความพากเพียรพยายาม และมุมานะ จากทุกฝ่าย ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ และทีมผู้บริหาร และที่ขาดไม่ได้เลยคือ “นักศึกษา” ที่ร่วมแรงร่วมใจช่วยสถาบันอย่างไม่คิดเหน็ดเหนื่อย ทำโดยไม่สนใจเกรด ไม่จำเป็นต้องมีคะแนนมาล่อแล้วถึงจะลงมือทำ ไม่ใช่กับเด็ก ม.รังสิต อย่างแน่นอน

โบราณว่าไว้ “คบเด็กสร้างบ้าน ทำงานอะไรกับเด็กย่อมไม่เป็นผล” แต่กับเด็ก ม.รังสิต เด็กทำเล่นๆ ช่วยกันจัดกิจกรรมสนุกๆ สร้างประสบการณ์ มิตรภาพ และความผูกพัน กลายเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จยิ่งกว่ามืออาชีพทำเสียอีก นี่แหละคือพลังของคนรุ่นใหม่ ที่เต็มไปด้วยความฝันและไฟในการทำงาน ดังนั้น การ “คบเด็กสร้างแบรนด์” ของ ม.รังสิต จึงไม่ใช่เรื่องที่ไม่เป็นผล แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ทรงพลังอย่างที่สุด ดังนั้น ถ้ามีโอกาสลองหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาดู หรือติดตามอ่านได้ที่ www2.rsu.ac.th/kobdeksangbrand แล้วจะค้นพบว่าเรื่องของเด็กๆ ก็สร้าง “แบรนด์” ที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

ที่มา: https://www.marketingoops.com/news/biz-news/rsu-rangsit-university/

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: คบเด็กสร้างแบรนด์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 4 มิถุนายน 2019, 00:48:00 »
สวัสดีวันจันทร์ครับ

เมื่อวานเพิ่งจะมีเวลาว่างวันแรกของเดือนกุมภา 555 มีเวลาชิลร้านกาแฟ สบ๊าย สบาย ^^

“เป็น HR ต้องอ่านหนังสืออะไรดีคะพี่”

“FHM เลยน้อง จะได้รู้จักคนเยอะขึ้น” …… ไม่เกี่ยวละ

เมื่อวานผมอ่านเล่มนี้ครับ “คบเด็กสร้างแบรนด์ แคมปัสมาร์เกตติ้ง ฉบับมวยวัด” ของอาจารย์สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ

อ่าว เป็น HR ไปอ่านหนังสือ Brand อ่านหนังสือ Marketing ทำไม (วะ)
แล้ว HR ไม่ต้องสร้าง Brand ไม่ต้องทำ Marketing ให้พนักงานสนใจ คนทั่วไปรู้จักเหรอ (วะ)

หรือถึงผมไม่ได้เป็น HR แต่ผมเป็นผมนี่ล่ะ การสร้าง Personal Brand การรู้จักทำ Marketing ให้ตัวเองน่าสนใจ ผมว่ามันช่วยมากเลยนะ ตอนไปสมัครงาน หรือไปสัมภาษณ์งาน อย่างน้อยเราก็รู้ว่าจุดแข็งจุดอ่อนเราอยู่ตรงไหน แล้วจะขายจุดแข็งของเราได้ยังไง

เรื่อง Brand เรื่อง Marketing ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะครับ

ในหนังสือ อาจารย์สมเกียรติเล่าถึงตอนที่ต้องมารับหน้าที่สร้างแบรนด์ให้กับ มหาวิทยาลัยรังสิต จากเดิมที่เป็นอาจารย์สอนหนังสืออย่างเดียว ต้องมาปั้นแบรนด์แข่งกับคู่แข่งตัวเป้ง ๆ ในช่วงที่มหาวิทยาลัยกำลังเจอวิกฤต จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แถมอยู่ในตลาดการศึกษา จะเล่นแรงเกทับกันแบบตลาดสินค้าอื่น ๆ ก็ไม่ได้ซะด้วย

มวยรองชัด ๆ เจอแบบนี้เข้าไป มวยทฤษฎีเก็บไว้หลังบ้าน ต้องงัดเอามวยวัดเข้าสู้ละล่ะครับ

เวลาอ่านหนังสือแบบนี้แล้วสนุกดีนะครับ นาน ๆ ทีผมจะเจอหนังสือธุรกิจที่เอา case จริง ๆ มาเล่าให้ฟัง อ่านแล้วลุ้นตามไปด้วย ทั้งแอคชั่น ทั้งดราม่า ทั้ง comedy นี่มาครบเลย

“ยิ่งเป็นมวยรอง ยิ่งต้องเค้นวิธีการ” คือแนวทางในการแก้เกมของอาจารย์สมเกียรติ

คู่แข่งตัวเป้งคือมหาวิทยาลัยรัฐ เด็กก็อยากเข้า จบมาก็ได้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยรัฐ พ่อแม่ก็ภูมิใจ ค่าเทอมก็ถูกกว่าเพราะมหาวิทยาลัยรัฐมีเงินภาษีสนับสนุน ในขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชน มีธนาคารสนับสนุนที่มาพร้อมดอกเบี้ย

และภาพลักษณ์ของมหา’ลัยรังสิตคือ “แพง ไกล ไฮโซ”

ผมใช้เวลาอ่านอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง เหมือนดูหนังจบไปหนึ่งเรื่อง นี่ถ้าผมไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมจะไม่รู้เลยว่ามหาวิทยาลัยรังสิตจะต้องผ่านวิกฤตมามากขนาดไหน เพราะสิ่งที่ผมรับรู้ในวันนี้คือ

มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่แรกที่มีคณะแพทย์ฯ
มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสาขาวิชามากที่สุด
มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุด
และมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินจากทุกสถาบันให้อยู่ในระดับ”ดีมาก”

ด้วยความกล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจของผู้บริหาร เลือดนักสู้ของบุคลากร และด้วยความร่วมมือจากนักศึกษา ที่ทำให้มหาวิทยาลัยรังสิตเติบโต และแข็งแกร่งได้อย่างที่เราเห็น

มหาวิทยาลัยรังสิตมี Rangsit’s Way ที่ช่วยให้ขยับจากมวยรองมาเป็นเบอร์ต้น ๆ ของวงการ

แล้วเราล่ะครับ มี Way ของเรามั้ยที่จะดึงเราจากมวยรอง คนที่ลูกค้าไม่เคยเห็น นายไม่เคยสนใจ ขึ้นมาเป็นเบอร์ต้น ๆ เหมือนอย่างที่มหาวิทยาลัยรังสิตทำได้หรือเปล่า
เป็นมวยรองอย่าเพิ่งถอดใจครับ ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดู แล้วจะรู้ว่ามวยวัดก็เก่งไม่แพ้ใครครับ


ที่มา: https://m.facebook.com/hrthenextgen/photos/a.976997189034896.1073741831.931335060267776/976735229061092/?type=3&_ft_=top_level_post_id.976735229061092%3Atl_objid.976735229061092%3Athid.931335060267776%3A306061129499414%3A69%3A0%3A1456819199%3A-7496975358903995573

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: คบเด็กสร้างแบรนด์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 4 มิถุนายน 2019, 00:48:44 »
 รีวิวหนังสือ Branding แบบมวยวัด ชื่อเก๋ๆ ว่า คบเด็กสร้างแบรนด์ โดย อ.สมเกียติ รุ่งเรืองวิริยะ แห่ง RangSit University
หยิบหนังสือ คบเด็กสร้างแบรนด์ รอบที่สอง นี่เป็นตำรา สื่อสารการตลาดภาคปฎิบัติ จริงๆ เหมือนที่อ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ เขียนไว้เลย ทฤษฎี1%มวยวัด99%
หนังสือแบ่งเป็น 3 ส่วน
PART1 เรื่องการบริหารอ่านแล้วคิดถึงหนังสือ เขาว่าผมเป็นมืออาชีพ ของคุณสุจินท์ จันทร์นวล วิธีบริหารจัดการปัญหาต่างๆที่นักการตลาดบริหารระดับต้นถึงระดับสูงควรรู้ ประสบการณ์จริงสอนอะไรเราได้มากกว่าทฤษฎีจริงๆ เป็นชีวิตในช่วงที่อาจารย์ได้รับมอบหมายมาเป็นผู้อำนวยการฝ่าย จากคนที่มีแต่คนไหว้เพราะเป็นอาจารย์มาเป็น ผู้บริหารที่ต้องบริหารคน

PART 2 คำศัพท์หรูๆ มีอยู่แค่ใน ตัวหนังสือประกอบในเล่ม อาทิ
Situation analysis
Advertising Campaign
Brand perception
Brand positioning
Experience marketing
Influencer marketing
Customer relationship management
ไม่มีนิยามคำเหล่านี้ ไปหาอ่านนิยามจากเล่มอื่นแล้วมาอ่านประสบการณ์จากเล่มนี้ แต่จะได้วิธีทำงานที่อ่านสนุกตื่นเต้นและลุ้นตลอด อ่านจบจึงรู้ว่า คำศัพท์เหล่านี้พอทำออกมาจริงๆเป็นอย่างไร

PART 3 ผมชอบ PART นี้สุดครับ อ่านแล้วเห็นภาพของหนังสือ Marketing3.0 + White Ocean ของคุณดนัย ในภาคปฎิบัติและเป็นผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม

ที่มา: http://oweera.blogspot.com/2016/03/branding-rangsit-university.html