ผู้เขียน หัวข้อ: Branding 4.0  (อ่าน 1051 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Branding 4.0
« เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 16:41:57 »
จากการตลาด 3.0 สู่การสร้างแบรนด์ 4.0
สร้างความสำเร็จในยุคที่คนกลายเป็นแบรนด์ และแบรนด์กลายเป็นคน













ซื้อได้ในราคา 320 บาท


สารบัญ
Chapter 1: จุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า "การตลาด"
Chapter 2: จาก#การตลาด 3.0 สู่ยุคแห่ง "สังคมดิจิทัล"
Chapter 3: กลยุทธ์#การสร้างแบรนด์ 4.0
Chapter 4: ทำให้แบรนด์มีชีวิต
Chapter 5: การดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในสังคมดิจิทัล
Chapter 6: การดำเนินชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแบรนด์
Chapter 7: 8 พฤติกรรมของแบรนด์ในฐานะ "เพื่อนที่ดี"
Chapter 8: การประเมินคุณภาพและตรวจสุขภาพแบรนด์
Chapter 9: ก้าวสู่แบรนด์ที่ยั่งยืน

จำนวนหน้า 360 หน้า
น้ำหนัก 627 กรัม
ราคาปก 395 บาท

หนังสือเล่มนี้ได้ย่อโลกแห่งการตลาดที่ซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน และขยายผลสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดในคริสศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือการสร้างแบรนด์ ลงมาอยู่ในมือคุณ โดยสามารถทำความเข้าใจได้ในเวลาอันสั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความสำคัญกับมันมากแค่ไหน เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ทีมงานได้ออกแบบหนังสือเล่มนี้ให้กลายเป็น "ที่ปรึกษาด้านการสร้างและบริหารจัดการแบรนด์เคลื่อนที่"

หนังสือที่เปรียบได้กับที่ปรึกษาส่วนตัวเล่มนี้จะนำเสนอศาสตร์แห่งการสร้างแบรนด์ยุคใหม่ โดยบูรณาการการรับรู้ทั้งในรูปแบบของตัวอักษรและภาพ ซึ่งเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อทำให้ผู้อ่านทุกท่าน "เข้าใจ" อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ "อ่านจบ" หนังสือเล่มนี้ยังผสมผสานความรู้พื้นฐาน (มีคนเคยบอกว่าการไม่รู้อดีตย่อมไม่มีอนาคต) และความคิดสร้างสรรค์แบบนอกกรอบ (แรกเริ่มคุณจะงงกับมัน สักพักคุณจะสนใจ และสุดท้ายคุณจะว้าวกับมัน) ไว้อย่างลงตัวที่สุด อย่างน้อยก็ในความคิดของผม และคุณสามารถทำให้มันเป็นมากกว่าหนังสือได้ด้วยตัวของคุณเอง

ผมอยากจะบอกว่าทุกคนว่างานของผมได้สิ้นสุดแล้วนับตั้งแต่วันที่หนังสือเล่มนี้เสร็จ เรื่องราวหลังจากนี้ทั้งหมดคงต้องขึ้นอยู่กับผู้อ่านทุกท่าน ผู้ที่จะเป็นผู้ช่วยกิตติมศักดิ์ในการพิสูจน์ว่าเราเข้าใจถูกต้องและเข้าใจตรงกันในเรื่องแบรนด์ ทั้งยังช่วยสานต่อและเพิ่มมูลค่าของมันให้มากขึ้น เพื่อตนเอง คนรอบข้าง สังคม ประเทศ และโลกของเรา
ยินดีต้อนรับและร่วมเดินทางไปด้วยกันในโลกแห่ง การสร้างแบรนด์ 4.0 ครับ



ภาพลักษณ์ ชื่อสินค้า การโฆษณา รูปแบบบรรจุภัณฑ์ โลโก้ และอีกมากมายที่คนส่วนใหญ่จะกล่าวถึงเมื่อถูกถามถึงคำจำกัดความของคำว่า "แบรนด์" เช่นเดียวกันกับคำถามที่ว่าแบรนด์มีหน้าที่อะไร คำตอบที่ได้มักไม่แตกต่างไปจากการโปรโมตสินค้า สร้างภาพจำ และส่งเสริมการตลาด ทว่าหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ สำนักพิมพ์เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะเปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับคำว่าแบรนด์ไปอย่างสิ้นเชิง เพราะความรู้สึกนี้เกิดขึ้นกับสำนักพิมพ์ทันทีหลังจากที่ได้อ่านต้นฉบับเป็นครั้งแรก รวมทั้งเกิดความคิดที่ว่า "ทุกคนต้องได้อ่านหนังสือเล่มนี้" ความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะเนื้อหาภายในหนังสือผสมผสานกัน ระหว่างข้อมูลที่เชื่อถือได้กับแนวคิดที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ของผู้เขียน จนได้ข้อสรูปที่ลงตัวและนำไปใช้ได้จริงนอกจากนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์ให้กับทุกคน เพราะทุกวันนี้แบรนด์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ตลอดระยะเวลาของการทำหนังสือเล่มนี้ สำนักพิมพ์และผู้เขียนมุ่งมั่นที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือการสร้างแบรนด์สำหรับทุกคน ที่สามารถกลับมาเปิดอ่านเมื่อใดก็ได้ และยิ่งเปิดอ่านมากเท่าใดก็ยิ่งจะเข้าใจความหมายลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น เพราะเนื้อหาในเล่มนั้นเป็นหลักสากลที่ไม่ตกยุคและนำไปใช้ได้ตลอดกาล เพียงปรับใช้ให้เข้าสถานการณ์และสถานที่ ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนได้พิสูจน์ให้เห็นด้วยหนังสือ BRANDiNG 4.0 เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่จะปรากฏแก่สายตาคนทั่วโลกอีกในไม่ช้า คนไทยจึงถือเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้อ่าน รับรู้ และเข้าใจศาสตร์และศิลป์ของการสร้างแบรนด์ก่อนใครในโลก ด้วยเหตุผลทั้งหมด สำนักพิมพ์อมรินทร์ฮาวทูจึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนำเสนอหนังสือ BRANDiNG 4.0 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะทำให้ทุกคนค้นหา "แบรนด์" ของตัวเองเจอเพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง คนรอบข้าง สังคม และขยายวงกว้างไปจนถึงโลกใบนี้ได้

สำนักพิมพ์อมรินทร์ HOW-TO
credit: https://www.naiin.com/product/detail/195767
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 9 กรกฎาคม 2019, 19:10:19 โดย prom »

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: Branding 4.0
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 16:43:26 »
Branding เป็นหนึ่งในสิ่งที่คุ้นหูและถูกพูดถึงเยอะสำหรับนักการตลาด การสร้าง “แบรนด์” เป็นหนึ่งในหัวใจที่คนการตลาดไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทไหน ธุรกิจขนาดไหนก็ต้องล้วนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะเราก็เห็นความสำเร็จจากแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลกมานักต่อนัก อย่างไรก็ตาม บริบทของแบรนด์และการตลาดก็เปลี่ยนแปลงไปพอสมควรในยุคของดิจิทัล และนั่นทำให้คนทำงานแบรนด์ต้องหันมาสำรวจและอัพเกรดความรู้ของตัวเองกันเสียที

หนังสือ Branding 4.0 ของปิยะชาติ อิศรภักดีเป็นหนังสือว่าด้วยเรื่อง Branding แบบทำความเข้าใจมาตั้งแต่เรื่องการตลาด พัฒนาของการตลาดตามยุคสมัยเช่นเดียวกับบทบาทและความสำคัญของแบรนด์ จนต่อมาถึงการประยุกต์และปรับตัวของคนสร้างแบรนด์เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้บริโภคมีมุมมองของแบรนด์เปลี่ยนไป บริบทของธุรกิจต่างไปจากเดิม พร้อมทั้งให้หลักการและเทคนิคของการสร้างแบรนด์ที่จะประสบความสำเร็จในปัจจุบัน
Contents that shouldn’t be missed

    พื้นฐานว่าด้วยเรื่องการตลาดและแบรนด์
    บริบทน่ารู้เกี่ยวกัแบรนด์ในยุคดิจิทัล
    คอนเซปต์การสร้างแบรนด์และบริการแบรนด์ในยุคดิจิทัล

The Goods

    เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับคนที่อยากทบทวนเรื่องแบรนด์กับการตลาด เพราะปูคอนเซปต์พื้นฐานพอสมควร
    เนื้อหาอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ ของการตลาดไว้ไม่น้อย
    มีหลายๆ โมเดลที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
    มีบทสรุปตอนท้ายบท ทำให้ย่อยง่าย
    อาจจะเยอะ แต่ก็ไม่ขนาดหนังสือ Text Book และก็ไม่ห้วนจนเกินไป

Who Should Read This

    นักการตลาด
    คนทำงานแบรนด์
    เจ้าของธุรกิจที่อยากสร้างสินค้าของตัวเอง

*ขอบคุณทาง Amarin สำหรับหนังสือในการรีวิวครับ

credit: http://rebook.in.th/branding-4-0/

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: Branding 4.0
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 16:46:24 »
Branding 4.0 สร้างคนให้เป็นแบรนด์

ปฐมบทของ Branding 4.0 โดย คุณปิยะชาติ  อิศรภักดี นั้นมีเนื้อหาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ผมขออนุญาตินำเอาข้อมูลบางส่วนจากหนังสือที่ได้อ่านไปมาย่อลง

และเพิ่มเติมความคิดตัวเองลงไปนะครับ  ถือว่าช่วยกระจายของดีแบบนี้

ให้ทุกคนได้มีโอกาสรู้จักมากขึ้น

หนังสือเล่มนี้ได้พูดว่า
“จงให้คุณค่า มากกว่าที่จะให้ มูลค่า
FOCUS ที่คุณค่า ไม่ใช่มูลค่า”

ในโลกทุนนิยมและสังคมแบบดิจิตอล

ทุกคนต่างเรียกร้องกาคุณค่ามากกว่าราคา

และไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาครัฐ

และหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
เพราะ  คน ถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย platform Digital ทำให้เราคุยกัน เจอกันง่ายขึ้น  เริ่มต้นจากโทรศัพท์ จนไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ internet และสัญญาณ wifi ได้ จะถูกผูกหากัน จนกลายเป็น Ecosystem

การเปิดโลกแบบดิจิตอล ทำให้ทุกคนเห็นซึ่งกันและกันและยิ่งมากขึ้น

แน่นอน การเรียกร้องก็ย่อมมากขึ้น

การทำให้มีคุณค่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

และหากเมื่อใดเขาเชื่อว่าคุณมีคุณค่า

การจ่ายเงินให้กับคุณค่าเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยาก
“เขายอมจ่ายเงินให้เครื่องสำอางค์คุณเพราะเขาเชื่อว่า
ความสวยจากเครื่องสำอางค์เติมเต็มความสวยให้สมบูรณ์
เขายอมจ่ายกับการซื้อรถก็ต่อเมื่อ รถเป็นเครื่องมือยกระดับความสำเร็จ
ผู้คนสนใจการลงทุนเพราะเขามองเห็นว่ามันเพิ่มรายได้ให้เขา”

ดังนั้น การสร้างคุณค่า จึงมาก่อนมูลค่าเสมอสำหรับยุคนี้

ซึ่งแตกต่างจากยุคอดีตโดยสิ้นเชิง

(เช่นเดียวกับ gary vaynerchuk เจ้าพ่อแห่งการทำธุรกิจ digital คนหนึ่ง

ได้พูดไว้ว่า คุณต้องรู้จัก  ให้ ให้ แล้วก็ให้ก่อน แล้วจึงค่อยขอ)
ต่อไปลูกค้าของแบรนด์คุณจะไม่ใช่แค่คนซื้อของ
แต่เขาจะกลายเป็นเพื่อนคุณ และมีความเป็นตัวแทนของแบรนด์

Millennial-1940x1293

เขาจะรู้สึก รับรู้ เข้าถึง สนับสนุนแบรนด์ของคุณ

การจะทำแบบนี้ได้ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์  จึงต้องเกิดขึ้นในระดับโครงสร้างธุรกิจ

+ รูปแบบการจัดการบริการ

ในยุคดิจิตอล  ผู้บริโภคหรือพนักงานต้องมีบทบาทมากกว่านั้น

พวกเขาต้องรับรู้ถึงคุณค่า  เพราะ  แบรนด์เป็นเพียงสิ่งเดียว

ที่จะเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าหากัน  โดยมีเป้าหมาย

ให้ทุกคนมีสถานะเป็นตัวแทนของ brand อย่างสมบูรณ์

###############

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ไม่ได้มาจากปัจจัยภายนอก

แต่มาจากตัวตนข้างในที่จะผลักดันให้แบรนด์มีชีวิตจิตใจ

และมันจะกลายเป็นบรรทัดฐานในการกำหนดการเชื่อมโยง

ให้ทุกสิ่งเข้าหากัน

จากยุคการตลาด 1.0 ไล่เรียงจนมาถึง การตลาดยุค 3.0 หนังสือได้บอกไว้ว่า แบรนด์ได้ถูกยก

ให้มีความสำคัญเทียบเท่าการตลาด  แต่สำหรับการตลาด 4.0 นั้น

คุณค่าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

เราอาจจะเคยรู้จัก มูลค่าของสินค่า+ความรู้สึกและอารมณ์ = แบรนด์

แต่ในยุคนี้และต่อไป การสร้างคุณค่าทางสังคม และเลยไปถึงจิตวิญญาณ

เป็นสิ่งที่แบรนด์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง

ยิ่งแบรนด์ของคุณไปหาตลาดผู้บริโภคกว้างเท่าไหร่

ระดับความรับผิดชอบและการคาดหวังของสาวกและสังคมยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

และที่สำคัญ แบรนด์ที่สามารถพูดคุยได้เหมือนเพื่อน สัมผัสได้ รู้สึกได้

จึงจะได้ไปต่อ ในอีก 5 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น

#branding4.0

credit: https://brandchatz.com/2016/07/20/branding-4-0-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C/

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: Branding 4.0
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 18:11:10 »
“จงให้คุณค่า มากกว่าที่จะให้มูลค่า Focus ที่คุณค่า ไม่ใช่มูลค่า”
ปิยะชาติ อิศรภักดี นักสร้างแบรนด์รุ่นใหม่มาแรง กล่าวประโยคนี้เอาไว้
เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า .....
การสร้างแบรนด์ในยุคที่ไกลเกินจากทุนนิยมเก่า บวกกับสังคมออนไลน์
Brand ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเฉพาะสินค้า หรือบริการเหมือแต่ก่อน
“คน”ก็สามารถกลายเป็นแบรนด์ได้ด้วย
แบรนด์ที่เป็น “คน” สร้างได้ยากกว่าแบรนด์ที่เป็นสินค้า
แต่หากเราสามารถสร้างตัวเราให้เป็นแบรนด์
สินค้าและบริการ ที่เกิดขึ้นจากตัวเรา จะกลายเป็นมูลค่าที่มากกว่าราคาขาย
ฉะนั้นแล้ว การสร้างแบรนด์ ที่เป็นตัวเราเอง สิ่งสำคัญที่ต้องมุ่งเน้น
นอกจากคุณภาพ มาตรฐานของสิ่งที่เรานำเสนอออกไปก็คือ
คุณค่า และความน่าเชื่อถือ
เพราะในปัจจุบัน วิถีชีวิตคนเราถูกเชื่อมโยงเข้ากับ Platform Digital
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เราสามารถมองเห็น และรับรู้ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
การวางตำแหน่งเรื่อง “คุณค่าเฉพาะตัว” มีความสำคัญอย่างยิ่ง
Socialจะมองเห็นตัวเรา จากสิ่งที่เราสร้างขึ้น แต่จะมองเห็นคุณค่าของเรา
จากสิ่งที่เรานำเสนอ แต่ท้ายที่สุด เขาจะไว้วางใจเรา
จาก “แบรนด์ที่คือตัวของเรา”
อะไรก็เป็นแบรนด์ จากตัวเราได้ทั้งนั้น
ไม่ว่าสิ่งที่เราคิดได้ เทคนิคเฉพาะตัวที่เรามี ความสามารถในตัวเราที่ต่อยอดได้
หรืออื่นๆ อีกมากมายเท่าที่เราจะนึกออก เหล่านี้ล้วนนำมาสร้างแบรนด์ได้
อย่าเพิ่งกังวลว่า แบรนด์ของเรา จะติดตลาดหรือไม่
จะเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร
อย่างแรกเลยคือ “หาตัวเองให้เจอ”
เรียนรู้ว่า อะไรคือสิ่งที่เรามีและสร้างคุณค่าให้ผู้อื่นได้
แล้วสร้างสิ่งนั้นให้เป็นประโยขน์กับผู้ที่ต้องการ
เพราะนั่นคือ สินค้าที่มาจากแบรนด์ของตัวเราเอง
“เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับศักยภาพที่มีมากเท่าๆกัน เราอยู่ในโลกที่ไม่ได้มีใครเก่งกว่าใคร
แต่เป็นโลกที่ ใครพัฒนาตนเอง ได้มากกว่ากัน”
ข้อดีคือ แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัวที่ต่างกันอย่างหลากหลาย
และนั่นเองสิ่งที่จะกลายมาเป็นคุณค่า ที่เราสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ของผู้ที่ต้องการ
สิ่งนั้นคือแบรนด์ แบรนด์ที่เป็นตัวของเราเอง


credit: http://oknation.nationtv.tv/blog/a-cho/2016/09/30/entry-1

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: Branding 4.0
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 18:25:35 »
หัวใจของ BRANDing 4.0

ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนหนังสือ BRANDing 4.0 นะครับ
ไม่ว่าท่านจะซื้อหรือไม่ อาจจะอ่านจบแล้วหรือยังไม่ได้อ่าน สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ การที่วันนี้ พวกเรารับรู้ร่วมกันว่า

โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิม มันจึงต้องการวิธีคิด วิธีทำ และวิธีบริหารจัดการใหม่

เพื่อให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ผมถือโอกาสใช้โพสต์นี้สรุปความเป็น BRANDing 4.0 ทั้งหมด เพื่อให้เราเข้าใจ ตรงกันมากขึ้น ถ้าอยากได้รายละเอียด กระบวนการ ข้อมูลสนับสนุน ทั้งหมดอยู่ในหนังสือนะครับ ในโพสต์นี้ผมจะเขียนถึงหัวใจของมันเป็นหลัก

เรื่องของ BRANDing 4.0 มีประมาณนี้ครับ

1.โลกสองใบ Physical และ Digital

อันนี้เหมือนจะรู้กันอยู่แล้ว เราอยู่ในโลก Physical โดยมีโลก Digital เติบโต
ตามมา โจทย์ของเรื่องนี้มีอยู่ว่า เมื่อทั้งสองโลกกลายเป็นโลกคู่ขนาน มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เราจะมีรูปแบบการดำรงชีวิตเป็นอย่างไร Consumer Journey จะเป็นอย่างไร

ผมพูดเสมอครับว่า คนเปลี่ยน ธุรกิจเปลี่ยน ฟังดูง่ายแต่ยาก

2. ทุกคนตามหาเป้าหมาย (Self Actualisation) ของตนเอง

เรามีเป้าหมายครับ เรามีฝันครับ แต่ในอดีตเราไม่มีอำนาจหรือเครื่องมือในการไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้เราติดอยู่กรอบบางอย่าง (ทุนนิยมคือหนึ่งในกรอบนั้น) จนกระทั่งโลก Digital ได้เปิดโอกาสให้เราแสดงความคิด แสดงตัวตน แสดงออกซึ่งเป้าหมายได้อย่างเสรี ไร้ข้อจำกัดเหมือนโลก Physical

เราจึงกล้าที่จะฝัน และกล้าที่จะวิ่งตามมัน ไม่ว่าฝันนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม

3. เราจ่ายเงิน เพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายนั้น

ด้วยเป้าหมายและรูปแบบการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เรามีมุมมองในการซื้อสินค้าและในการใช้จ่ายเปลี่ยนไปเช่นกัน จากเดิมที่เราถูกคำว่า “สินค้า” ตีกรอบ ทำให้เราอยู่บริบทบางอย่างภายใต้กลไกการตลาด สู่การซื้อที่มุ่งเน้นไปที่ “คุณค่า” มองเห็นความเกี่ยวโยง มองเห็นความหมาย และมองเห็นประโยชน์ที่มีต่อเป้าหมายของตนเอง

เราจึงไม่ได้ซื้อสินค้าอีกต่อไป แต่เราซื้อประสบการณ์โดยมีสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์กล่าว

4. ประสบการณ์ เกิดจากแบรนด์ที่มีชีวิต (Brand as Human)

แน่นอนว่าเราไม่สามารถมอบประสบการณ์ผ่านสินค้าได้แต่เพียงลำพัง แต่เรามอบประสบการณ์ผ่านการบริการ (Service) ได้ เพราะมันเป็นเรื่องระหว่าง “คนกับคน” โดยที่ คนในฟากของการให้บริการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ในการส่งมอบสิ่งที่เรียกว่า “คุณค่า” จนก็เกิดเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ที่มีชีวิตกับผู้บรืโภค

สายสัมพันธ์มากขึ้น เชื่อมโยงกันมากขึ้น คุณค่าจึงกลายเป็นสิ่งที่มาก่อนมูลค่า

5. เครือข่าย “คุณค่าร่วม”

ในยุค 3.0 ผู้คนเชื่อมโยงกันเข้าหากันเพื่อการสื่อสารเป็นหลัก แต่ปัจจุบัน การเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นไปในทิศทางที่สะท้อนให้เห็นว่า พวกเขาเหล่านั้นมีบางอย่างที่เหมือนกัน สนใจเหมือนกัน เชื่อเหมือนกัน และนั่น คือ คุณค่าที่พวกเขามีร่วมกัน การมีคุณค่าร่วมกัน คือ การแสดงออกถึง

ความเห็นพ้องต้องกันและความเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งนำมาสู่การสร้าง Trust ระหว่างกัน และ Trust คือ คุณค่าที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกธุรกิจ

6. คุณค่าร่วมเกิดจาก คุณค่าของแบรนด์

การตลาดยุคก่อนมักเริ่มต้นจากผู้บริโภค และตอบสนองความต้องการของพวกเขา แต่ในยุค 4.0 แบรนด์มีจุดยืนที่สะท้อนถึงคุณค่าเป็นของตนเอง เพราะนั่นเป็นส่ิงเดียวที่แบรนด์สามารถสร้างความแตกต่างได้ (ถ้าทุกคนเอาผู้บริโภคเป็นหลักทั้งหมด มันก็จะเหมือนกันหมด)

การระบุคุณค่าและตัวตนของแบรนด์ (Brand Actualisation) คือ จุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ในยุค 4.0

7. จุดยืนที่มากกว่า "กำไร" จุดยืนของแบรนด์ที่มีชีวิต

ในฝั่งของการทำธุรกิจ กำไร คือ เรื่องใหญ่ที่สุด และนั่นคือจุดยืนของสินค้า องค์กรหรือแม้กระทั่งแบรนด์ วิธีคิดดังกล่าวทำให้แบรนด์เป็นแค่เครื่องมือทางการตลาด จนกระทั่งในปัจจุบัน เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มองหาคุณค่าก่อนมูลค่า กำไรจึงไม่ใช่คำตอบและจุดยืนเดียวของแบรนด์ แบรนด์ต้องสามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของตนเองในด้านอื่นๆ เช่น คนและสิ่งแวดล้อม

และต้องทำมันในระดับยุทธศาสตร์ ไม่ใช่แค่การสร้างภาพ ทำหน้าลึก ไม่ใช่หน้ากว้าง จึงทำให้แบรนด์ก้าวออกจากร่มเงาการตลาด มาสู่การบริหารจัดการ

8. ก้าวสู่แบรนด์ที่ยั่งยืน

คำถามที่ผมได้ยินบ่อยที่สุด คือ ธุรกิจที่มองมากกว่าผลกำไรเป็นเรื่องของแบรนด์ใหญ่ที่มีเงินเท่านั้นรึป่าว คำตอบ คือ ไม่ใช่เลยครับ มีธุรกิจขนาดเล็กมากมายที่เติบโตทางธุรกิจจากการมองที่คุณค่าเป็นหลัก ทำเพื่อผู้คนและสังคมและสร้างกำไรได้ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มธุรกิจ Social Entreprise เป็นหนึ่งในนั้น

ถ้าทุกธุรกิจเชื่อมั่นในคุณค่าที่มากกว่า “เงิน” เราจะมีแบรนด์ที่มีคุณค่าเต็มไปหมด และนั่น คือ หัวใจของการสร้างความยั่งยืน ถ้าระบบนิเวศยั่งยืน แบรนด์ก็จะยั่งยืนเช่นกัน

สรุปได้ประมาณนี้นะครับ รายละเอียดและสาระอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมได้จากในหนังสือครับหรือแหล่งข้อมูลทั่วไป สุดท้ายผมอยากฝากประโยคทิ้งท้ายที่สรุปใจความทั้งหมดของหนังสือ BRANDing 4.0 ไว้ว่า

"จงเป็นแบรนด์ที่มีคุณค่า อย่าเป็นแบรนด์ที่มีแต่ราคา"

ขอบคุณนักสร้างแบรนด์ทุกท่านที่ก้าวเดินมาด้วยกันครับ


credit: https://www.facebook.com/brandistofficial/posts/1164177336951124/

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: Branding 4.0
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 18:39:40 »
เพิ่งตัดสินใจซื้อหนังสือ Branding 4.0 มาอ่าน ตอนแรกก็ว่าไม่อ่านดีกว่าก็คงคล้ายๆที่เรียนๆมาแต่พอเปิดอ่านก็เลยเข้าใจว่าตัวเองชะล่าใจไปมากโลกของเราเปลี่ยนไปอีกยุคละนะ
อ่านจบไปแค่3บทเลยอยากเขียนสรุปความเข้าใจของเด็กน้อยกูลิโกะไว้นิดนุง

พูดถึงยุค "Branding 4.0"
โลกที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงโลกยุคนี้ไม่ใช่ Marketing lead อีกต่อไปแต่มันคือ Branding lead
ด้วยตอนนี้เข้าสู่ยุคดิจิตอลเต็มตัวไม่ใช่การทำตลาดแค่โลกออนไลน์แต่มันรวมถึงการ merge รวมโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน24ชั่วโมง
ผู้บริโภคไม่ได้แบ่งgen x y z ตามช่วงการเกิดอีกต่อไปเพราะ gen c หมายรวมถึงทุกเพศวัยที่เข้าถึง Digital device
และท่องอยู่ในสังคมดิจิตอลและโลกออฟไลน์สลับกันไป
กลยุทธการตลาดเก่า 4p ,3c,3i,stp ล้าไปแล้วตอนนี้กลยุทธคือการส่งต่อคุณค่าและเข้าถึงcommunityของกลุ่มเป้าหมายโดยการสร้างแบรนด์ให้เป็นคนเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างrelationshipกับผู้บริโภคและcommunityของเค้าโดยให้เค้ามีส่วนร่วมกับการสร้างแบรนด์ทำให้เกิดengagementรวมไปถึงให้เค้ามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการผลิตเพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของแบรนด์ร่วมกับเราเมื่อเค้ารู้สึกถึงความเป็นownershipเค้าก็จะสร้างcontentแชร์ต่อในSocialด้วยความภูมิใจที่มีส่วนร่วมในแบรนด์ๆนึง
ซึ่งcontentที่เขียนขึ้นจากผู้บริโภคเองก็เป็นที่ยอมรับน่าเชื่อถือมากกว่า contentที่แบรนด์พยายามยัดเยียด


ปัจจุบันเลยมีหลายๆธุรกิจทำตัวเป็นแค่channel แล้วให้end user feed content ขึ้นเวปซะเอง
อารายประมาณนี้.....555

เคสที่หนังสือยกมา:
ตัวอย่างเช่น
โค้ก แยกผลิตภัณฑ์กับการสร้างแบรนด์ออกจากกัน
ในส่วนProduct คนก็จะนึกถึงน้ำดำ
ในส่วนของแบรนด์โค้กผู้บริโภคถูกเชื่อมโยงให้นึกถึงคำว่า "Happiness"

หรือวีดัโอที่แบรนด์สร้างขึ้นเองแล้วยัดเยียดให้คนมาดูกลับมียอดวิวที่ต่ำกว่าวีดีโอที่แบรนด์สร้างเป็นแคมเปญประกวดให้ผู้บริโภคแข่งกันทำและแชร์ออก

แบรนด์เสื้อผ้าบางแบรนด์เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคแสดวความคิดเห็นผ่านโซเชียลแนะนำตั้งแต่สัตถุดิบการผลิตกระบวนการผลิตส่งผลต่อตวามรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกับแบรนด์จึงมีการแชร์และบอกต่อ

ฯลฯ
วันนี้เก็บรายละเอียดมาได้แค่นี้
เด๋วอ่านจบเล่มแล้วจะมาสรุปใหม่นะฮะไม่รู้เข้าใจถูกผิดแค่ไหนวานผู้เชี่ยวชาญแนะนำกันเข้ามาได้นะฮะ


ที่มา: https://minimore.com/b/x5pZ/4

ออฟไลน์ prom

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,415
  • พอยท์: 1567
    • ดูรายละเอียด
Re: Branding 4.0
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 9 กรกฎาคม 2019, 19:01:23 »
สร้างแบรนด์ในยุค Branding 4.0

เป็นที่พูดถึงมาพักใหญ่แล้ว สำหรับนโยบาย "Thailand 4.0" ที่จะเป็นเครื่องยนต์ที่เข้ามาขับเคลื่อน และสร้างการเจริญเติบโตตัวใหม่ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทย โดยที่อาศัยความหลากหลายเชิงชีวภาพ และเชิงวัฒนธรรมมาเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน
ในเรื่องของการตลาดเองก็มีการพูดถึงทฤษฎี Branding 4.0 บ้างแล้วเหมือนกัน ที่นอกจากจะมีสินค้าที่โดนใจผู้บริโภคแล้ว ต้องเอาใจลูกค้าด้วย อีกทั้งในยุคนี้ต้องสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นเรื่องสำคัญมากในตอนนี้
สุธีรพันธุ์ สักรวัตร ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ได้พูดถึงหัวข้อ Branding 4.0 ไว้ในงาน Creative Thailand Symposium หัวใจสำคัญก็คือแบรนด์ต้องสร้างคุณค่าให้กับสังคมด้วย
ถ้าอ้างอิงจากทฤษฎี ปัจจุบัน Philip Kotler หรือบิดาด้านการตลาด ได้บอกว่าการตลาดได้เข้ามาสู่ยุค 3.0 แล้ว โดยที่แบ่งทีละยุคได้ว่า
ยุคที่ 1 เป็นยุคของการผลิตสินค้า เพราะเป็นช่วงที่ประชากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลิตสินค้าให้แมสมากที่สุด ยุคนี้จะให้ความสำคัญกับตัวสินค้า สินค้าเป็นหัวใจสำคัญ หรือเน้น Functional อย่างเดียว
ยุคที่ 2 เป็นยุคที่เริ่มให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือที่เรียกว่า Consumer is King มีการสรรหาประโยชน์ที่จะมอบให้กับลูกค้าเพิ่มเติมจากสินค้า มีการเกิดโปรแกรม CRM มากมาย สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ยุคนี้เป็นการผสมทั้ง Functional และ Emotional
เมื่อเข้าสู่ยุคที่ 3 ยุคนี้จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือสินค้าเพียงอย่างใดอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับ "ความสัมพันธ์" ของลูกค้าที่มีกับแบรนด์ เป็นยุคที่มีการเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ และสังคม แบรนด์ต้องตอบโจทย์ว่าทำอย่างไรให้โลกน่าอยู่ขึ้น เป็นยุคที่มีทั้ง Funtional รวมกับ Emotional และเพิ่มจิตวิญญาณเข้าไปด้วย
สุธีรพันธุ์ บอกว่า การทำการตลาดจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นในเรื่องของแนวคิดที่ว่าธุรกิจจะสามารถช่วยสังคมได้หรือเปล่า ซึ่งก็จะมีระดับในการช่วยเหลือสังคม ในช่วงแรกจะเริ่มจากการที่องค์กรใช้วิธีบริจาคเงิน หรือสิ่งของ แต่วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืน ต่อมาก็เริ่มมีการทำ CSR (Corporate social responsibility) ที่เริ่มทำจากแบรนด์ใหญ่ๆ ก่อน จากนั้นก็เข้าสู่การทำ CSV (Creating shared value) ที่บริษัทเล็กเริ่มทำก่อน เป็นการเห็นคุณค่าของสังคมในหลายๆ ด้าน และแบรนด์ก็นำมาเชื่อมโยงให้เข้ากัน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ที่ทำการรีแบรนด์เปลี่ยนคำจำกัดความของบริษัทเสียใหม่ เพื่อให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดีขึ้น ยกตัวอย่าง Nestle จากเดิมที่เป็น Food and Beverage Company ได้เปลี่ยนเป็น Nutrition Company ส่วน Nike เดิมใช้ว่า Footwear Company ได้เปลี่ยนเป็น Health and Wellness Company
สำหรับในยุคนี้แบรนด์ที่มีการทำ CSV หรือ Creating Share Value เป็นอีกมุมที่สามารถเอามาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในสังคมได้ ซึ่งการทำ CSV มีทั้งหมด 3 ระดับด้วยกัน
1. Reform Product+Market เป็นการดูความต้องการของสังคมและผู้บริโภค จากนั้นมาพัฒนาเป็นสินค้า เช่น พัฒนากับคนด้อยโอกาส หรือนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาพัฒนาสินค้าต่อ เป็นการตอบโจทย์คนที่มีความต้องการ ยกตัวอย่างแบรนด์กระเป๋า Freitag ที่ชูจุดเด่นว่าทำมาจากผ้าใบรถคอนเทนเนอร์ นอกจากจะได้ความแปลกใหม่แล้ว ยังได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
2. Redefine Productivity เพิ่มคุณค่าของสินค้าด้วยกระบวนการต่างๆ ของแบรนด์
3. Reinforce Local Community เป็นการทำให้ชุมชนแข็งแรง ทำให้สังคมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทให้ได้ ยกตัวอย่าง โครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่มีพระราชดำริช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ให้สามารถอยู่ด้วยตนเอง มีอาชีพทำ แล้วส่งขายในนามสินค้าโครงการหลวง


ที่มา: https://positioningmag.com/1106474