ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด  (อ่าน 2860 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Butter

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 53
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด
« เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2016, 21:09:21 »
ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด ตอนที่ 1
โดย ธวัชชัย วรรณสว่าง

ฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen / Oestrogen)   
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่สามารถพบได้ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่จะพบปริมาณสูงในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้แก่

- กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของเพศหญิง (female secondary sex characteristics) เช่น ทำให้สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมใหญ่ขึ้น มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้และอวัยวะเพศ
- ทำให้มีการเจริญหนาตัวของเยื่อบุมดลูก (Endometrium) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ
- มีผลทำให้เซลล์คอลลัมนาร์ (columnar) ของปากมดลูกขับมูกใสออกมา โดยในช่วงใกล้วันไข่ตกจะขับมูกที่มีลักษณะเหนียวหนืด แต่มูกจะใสและเหลวลงในวันที่เกิดการตกไข่ เพื่อช่วยให้ตัวอสุจิ (sperm) ผ่านเข้าสู่ปากมดลูกได้ง่ายขึ้น
- เพิ่มระดับคอเลสเทอรอลชนิดดี (High density lipoprotein; HDL), ลดคอเลสเทอรอลชนิดเลว (Low density lipoprotein; LDL) และมีผลต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดแข็งตัวและปัญหาเส้นเลือดที่หัวใจ
- ลดการสลายของกระดูก โดยพบว่าในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เนื่องจากการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง
- คงสภาพของผิวหนังและหลอดเลือด ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล


ฮอร์โมโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
- ทำให้เยื่อบุมดลูก (Endometrium) ที่ได้รับการกระตุ้นโดย estrogen ยังคงหนาตัว และมีสภาพเหมาะสมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ
- ทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ในการยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองทำให้ไม่มีการตกไข่ซ้อน
- ทำให้มดลูกไม่หดรัดตัวมาก เพื่อให้ตัวอ่อนมาฝังตัวที่มดลูกได้ แต่ในช่วงที่ใกล้คลอดจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจส-เตอโรนลดลง เพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัว และคลอดทารกออกมาได้ นอกจากนั้นยังมีผลลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อต่างๆ ทำให้ยืดขยาย จึงทำให้มีอาการปวดเมื่อยง่าย
- ทำให้มีการเจริญของต่อมน้ำนม, มีท่อน้ำนมมากขึ้น, มีจำนวนเซลล์ที่สร้างน้ำนมมากขึ้น
- ทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย


รอบเดือน (Menstrual cycle)

รอบเดือนของสตรีวัยเจริญพันธุ์โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน แต่ในบางคนอาจจะใช้เวลาได้ตั้งแต่ 21 ถึง 40 วัน ในแต่ละรอบเดือนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่ขึ้นมา เมื่อไข่สุกก็จะกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ (Ovulation) ประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน

ในขณะเดียวกันเยื่อบุที่ผนังมดลูก (Endrometrium) ก็จะถูกกระตุ้นให้มีการหนาตัวขึ้นเพื่อให้พร้อมต่อการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ แต่หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิผนังมดลูกก็จะสลายและหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน หรือ ระดู

ในแต่ละรอบเดือนสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะต่างๆ คือ ระยะฟอลิคูลาร์ (Follicular phase), ระยะตกไข่ (Ovulation) และระยะลูเตียล (Luteal phase)


ระยะฟอลิคูลาร์ (Follicular phase)

เริ่มจากวันที่ 1 ของรอบเดือน หรือวันแรกที่มีเลือดประจำเดือน สมองส่วนไฮโปทัลลามัส (Hypothalamus) จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า โกนาโดโทรปิน-รีลีสซิง ฮอร์โมน (Gonadotropin-releasing hormone; GnRH) มากระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland) หลั่งฟอลลิเคิล-สติมูเลติงฮอร์โมน (Follicle-stimulating hormone; FSH) ออกมาในกระแสเลือด ซึ่งจะกระตุ้นไข่อ่อนตั้งต้น (Primordial Follicle) ภายในรังไข่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เจริญ

ในช่วงวันที่ 5-7 จะมีฟอลลิเคิลเพียงอันเดียว (Dominant Follicle) ที่ถูกกระตุ้นให้เจริญต่อไปจนโตเต็มที่ (Graafian follicle) ส่วนไข่อ่อนที่เหลือจะถูกกดไว้ไม่ให้เจริญ กราเฟียนฟอลลิเคิลจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมากระตุ้นให้เยื่อบุผนังมดลูกหนาตัวขึ้น มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ


ระยะตกไข่ (Ovulation)

ในวันที่ 13-14 ของรอบเดือนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จะมีระดับสูงขึ้น ซึ่งมีผลเหนี่ยวนำให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่งฮอร์โมนลูทินไนซิง ฮอร์โมน (Luteinizing hormone; LH) ออกมาในปริมาณสูง (LH surge) ทำให้ฟอลลิเคิลแตกออก และปลดปล่อยไข่ภายในฟอลลิเคิลเข้าสู่ท่อนำไข่ (Fallopian tube)


ระยะลูเตียล (Luteal phase)

ฟอลลิเคิลที่แตกออกแล้วจะกลายเป็น คอร์พัส ลูเทียม (Corpus luteum) ซึ่งสร้างฮอร์โมนฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยรักษาสภาพของเยื่อบุผนังมดลูกที่หนาตัวให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน นอกจากนั้นฮอร์โมนที่หลั่งมาจาก คอร์พัส ลูเทียมมีผลยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำให้ในแต่ละรอบเดือนจะมีไข่ที่เจริญเพียงอันเดียว

ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมโดยอสุจิ ก็จะไม่เกิดการฝังตัวของตัวอ่อน จะทำให้คอร์พัส ลูเทียมฝ่อและสลายตัว ในช่วงวันที่ 23-25 ของรอบเดือน กลายเป็น คอร์พัส แอลบิแคน (Corpus albican) ซึ่งไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้แล้ว ทำให้เยื่อบุมดลูกสลายตัว หลุดลอกกลายเป็นเลือดประจำเดือน และผลการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH ก็จะหายไป ทำให้มีการหลั่ง FSH เกิดการเจริญของไข่อ่อนเกิดเป็นรอบเดือนใหม่

ในกรณีที่ไข่ได้รับการผสมกับอสุจิ ไข่ที่ได้รับการผสมจะใช้เวลาเดินทางจากท่อนำไข่ไปยังโพรงมดลูกและฝังตัวเพื่อเจริญเติบโตต่อไป ภายใน 1 สัปดาห์รกจะสร้างฮอร์โมน ฮิวแมน โคริโอนิค โกนาโดโทรปิน (Human chorionic gonadotropin; HCG) ทำให้คอร์พัส ลูเทียมยังคงทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนต่อไปได้ เยื่อบุผนังมดลูกจึงหนาตัว และมีเลือดมาเลี้ยงเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2016, 21:12:40 โดย Butter »

ออฟไลน์ Butter

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 53
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2016, 21:10:33 »
ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด ตอนที่ 2

ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบสูตรผสม หรือ Combined oral contraceptives (COCs)

หมายถึง ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ

1. Monophasic combined pill เช่น Marvelon?, DIANE? ฯลฯ
ประกอบด้วย เอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจน ในขนาดคงที่ทุกเม็ดจำนวน 21 เม็ด โดยถ้าเป็นชนิด 28 เม็ดอีก 7 เม็ดจะเป็นเม็ดแป้ง หรือ วิตามิน
 
2. Biphasic combined pill เช่น OILEZZ?
ประกอบ ด้วย เอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจนในปริมาณที่ต่างกัน 2 แบบ เพื่อเลียนแบบการหลั่งฮอร์โมนตามธรรมชาติของร่างกาย โดยในช่วงต้นเดือน จะมีปริมาณ estrogen สูงกว่า โปรเจสโตเจน และในช่วงปลายเดือนจะมี โปรเจสโตเจน มากกว่า เอสโตรเจน
 
3. Triphasic combined pill เช่น Triquilar? ED
ประกอบ ด้วยเอสโตรเจน และ โปรเจสโตเจน ในปริมาณที่ต่างกัน 3 แบบ เพื่อให้คล้ายกับการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายให้มากที่สุด โดยจะมีระดับเอสโตรเจน ต่ำอยู่ 2 ช่วงคือ ช่วงต้นและปลายรอบเดือน ส่วนในช่วงกลางรอบเดือนจะมีปริมาณเอสโตรเจน มากที่สุด สำหรับปริมาณ โปรเจสโตเจน จะเหมือนกับชนิด biphasic คือ จะมีปริมาณต่ำในช่วงต้นรอบเดือนและสูงสุดในช่วงปลายรอบเดือน
 
Estrogens ที่ ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ  ethinyl estradiol (EE) ซึ่งออกฤทธิ์ได้ทันที และ mestranol ซึ่งจะต้องถูกเปลี่ยนเป็น EE ที่ตับก่อนจึงจะออกฤทธิ์ได้ ( mestranol 50 mcg เทียบเท่ากับ EE 35 mcg)

ยา เม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่มักประกอบด้วย EE  20-50 mcg ซึ่งการที่มี EE ในปริมาณมากพบว่าทำให้เกิดอาการข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน  เวียนศีรษะ ได้ แต่หากมีปริมาณน้อย ถึงแม้ว่าจะทำให้มีอาการข้างเคียงข้างต้นลดลงแต่ อาจจะพบการเกิด breakthrough bleeding คือ การที่มีเลือดประจำเดือนมากระปริดประปรอยในช่วงที่ไม่สมควรมีเลือดประจำ เดือน ได้

Progestogen แบ่งออกได้เป็น 3 รุ่น คือ
     โปรเจสโตเจน รุ่นที่ 1 : ได้แก่
            - Norethisterone
            - Norethisterone acetate
            - Norethynodrel
            - Lynestrenol
            - Ethynodiol diacetate

โป รเจสโตเจนในรุ่นนี้จะมีฤทธิ์ต่ำจึงต้องใช้ปริมาณมากทำให้มีอาการข้างเคียง ได้แก่ สิว หน้ามัน ขนดก น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ค่อนข้างมากและยังมีผลต่อกระบวนการเผาผลาญไขมัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ดังนั้น จึงไม่ค่อยนิยมใช้
 
     โปรเจสโตเจน รุ่นที่ 2: ได้แก่
            - Norgestrel
            - Levonorgestrel

โป รเจสโตเจน รุ่นนี้จะมีความแรงมากกว่า โปรเจสโตเจน รุ่นแรก ดังนั้น จึงใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า ทำให้อาการข้างเคียงต่างๆลดลง แต่ผลต่อกระบวนการเผาผลาญไขมัน ยังคงมีอยู่
         
      โปรเจสโตเจน รุ่นที่ 3: ได้แก่
             - Medroxyprogesterone acetate
             - Cyproterone acetate
             - Desogestrel
             - Gestodene
             - Norgestimate
             - Drospirenone

โป รเจสโตเจน รุ่นนี้จะมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ารุ่นที่ 1 และ 2 และบางตัวยังมีฤทธิ์ลดการสร้างไขมันที่ต่อมไขมัน จึงนำไปใช้ในการรักษาสิวได้ และยังทำให้ HDL เพิ่มขึ้นและ LDL ลดลงซึ่งจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ


กลไกการออกฤทธิ์

ยับยั้ง กระบวนการก่อนการเกิดการปฏิสนธิ (fertilization) โดย ยังยั้งการตกไข่เป็นกระบวนการหลัก นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ ปากมดลูกมีเมือกเหนียวข้นทำให้อสุจิผ่านเข้าไปได้ยาก หรือ การทำให้ผนังมดลูกบางลงจนไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน


วิธีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

-  กรณีเริ่มทานครั้งแรก สามารถเริ่มทานเม็ดแรกได้ในวันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือน

- ควรทานยาในเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวันเพื่อรักษาระดับยาในเลือดให้คงที่ ตลอดวัน ซึ่งปกติมักทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการลืมทานยา แล้วทานยาตามลูกศรไปเรื่อยๆ

-  กรณีที่ทานยาแบบแผง 21 เม็ด เมื่อทานยาแผงแรกหมดแล้วให้หยุดทานยา 7 วัน เมื่อครบ 7 วันแล้ว ให้เริ่มทานแผงใหม่ได้เลย

-  กรณีที่ทานแบบแผง 22 เม็ด เมื่อทานยาแผงแรกหมดแล้วให้หยุดทานยา 6 วัน เมื่อครบ 6 วันแล้ว ให้เริ่มทานแผงใหม่ได้เลย

-  กรณีที่ทานยาแบบแผง 28 เม็ด ให้ทานยาในเวลาเดียวกัน ทุกวัน ติดต่อกันจนหมดแผง แล้วเริ่มทานแผงใหม่ได้ทันที หลังจากทานแผงแรกหมด

- สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดบางยี่ห้อ จะมีแถบสีแดงที่ด้านหลังแผง ให้เริ่มทานเม็ดแรกในช่วงแถบสีแดงที่ตรงกับวันแรกที่มีประจำเดือนก่อน แล้วทานตามลูกศรไปเรื่อยๆ จนหมดแผง โดยไม่ต้องทานเม็ดที่อยู่ในแถบสีแดงในวันก่อนหน้าวันที่มีประจำเดือน แล้วเริ่มทานแผงใหม่ได้ทันที หลังทานแผง แรกหมด โดยข้อดีของการทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบที่มีแถบสีแดง คือ ประจำเดือนจะไม่มีในวันเสาร์ และ วันอาทิตย์

ตัวอย่าง เช่น มีประจำเดือนมาวันแรกในวันเสาร์ ให้เริ่มทานเม็ดแรกในวันเสาร์ในช่วงแถบสีแดง (ดังรูป) ส่วนเม็ดก่อนหน้านั้นที่อยู่ในแถบสีแดง (วันจันทร์-วันศุกร์ในกรอบสีเหลือง ดังรูป) ให้แกะทิ้ง ไม่ต้องทาน จากนั้น ทานเม็ดต่อๆไปตามลูกศรจนหมดแผง ซึ่งการทานเช่นนี้จะทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเม็ดสุดท้ายในวันศุกร์เสมอ ดังนั้นทำให้วันเสาร์-อาทิตย์ (ซึ่งเป็นวันหยุด) ไม่มีประจำเดือน เนื่องจาก ประจำเดือนมักจะมาหลังจากที่หยุดทานฮอร์โมนได้ 2-3 วัน

รูปภาพรูปภาพ


- ในการเริ่มทานยาเม็ดคุมกำเนิดแผงแรก อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก แต่อาการจะลดลงในแผงต่อๆไป แต่ถ้าทนอาการคลื่นไส้ อาเจียนไม่ได้ อาจเปลี่ยนไปใช้ยาคุมกำเนิดชนิดอื่นที่มีปริมาณ EE น้อยลง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2016, 21:12:23 โดย Butter »

ออฟไลน์ Butter

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 53
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2016, 21:11:32 »
ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด ตอนที่ 3

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Mini pills / Progestin-only pills)

ยา เม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้มีฮฮร์โมนเพียงชนิดเดียวคือ โปรเจสเตอโรน เช่น Levonorgestrel ในขนาดต่ำ มีจำนวนแผงละ 28 เม็ด ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้จะรับประทานทุกวันโดยไม่มีช่วงเว้นระยะปราศจาก ฮอร์โมน กลไกการออกฤทธิ์คุมกำเนิดของยาคุมกำเนิดชนิดนี้คือ 

1.ทำให้ผนังมดลูกชั้นใน (Endometrium) บางลงและฝ่อไปทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วไม่สามารถฝังตัวกับมดลูกได้

2.ทำให้มูกบริเวณช่องคลอดเหนียวข้นขึ้น ทำให้อสุจิผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก

3.ลดการเคลื่อนที่ของไข่ตามท่อนำไข่

4.ยับยั้งไม่ให้ไข่ตกโดยใช้การควบคุมแบบย้อนกลับ ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH

อย่าง ไรก็ตามยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวนี้มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายาคุมกำเนิด ที่มีฮอร์โมนผสมสองชนิด และเนื่องจากยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวสามารถยับยั้งการตกไข่ได้เพียง 60% เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีอายุน้อยอาจใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีนี้ไม่ได้ผล


วิธีใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

รับ ประทาน 1 เม็ด ในเวลาเดียวกันทุกวัน  ควรเป็นเวลาเย็นหลังอาหาร หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 4 ชั่วโมง หากเป็นการใช้ยาคุมกำเนิดหลังคลอดบุตรควรใช้ยานี้หลังคลอดบุตรแล้วเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ควรมีการคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยในแผงแรกที่เริ่มรับประทาน


ข้อดีของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

1.เหมาะกับสตรีที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่เกิดอาการข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน

2.เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบจึงลดความเสี่ยงในการเกิด โรคหลอดเลือดดำอุดตัน หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ

3.ไม่ ถูกรบกวนการแปรสภาพยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ( เนื่องจากยาปฏิชีวนะจะทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนชนิดผสมลด ลง) หรือยาและสารอื่นที่เปลี่ยนแปลงเอนไซม์ในการแปรสภาพสารในร่างกาย เช่น ยาPrimidone, Carbamazepine, Topiramet, Ritonavir, St. John?s wort เป็นต้น

4.สามารถใช้ได้ในสตรีที่ให้นมบุตร เนื่องจากโปรเจสเตอโรนจะไม่ยับยั้งการหลั่งน้ำนม และไม่ทำให้คุณภาพของน้ำนมลดลง

5.ลดการเสียเลือดจากการเป็นประจำเดือน และการเกิดโรคโลหิตจาง, ลดการปวดท้องก่อนเป็นประจำเดือน

6.เหมาะกับสตรีที่อายุมากกว่า 35 ปี และสูบบุหรี่มาก(คือ มากกว่า 15 มวนต่อวัน)


ข้อเสียของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

1.ไม่ สามารถยับยั้งการตกไข่ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้อาจมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์มากกว่าการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม (พบว่าทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ถึง 8% หลังการใช้อย่างถูกต้องเป็นเวลา 1 ปี)

2.หากไม่ได้ใช้ยาอย่างถูกต้องหรือลืมรับประทาน ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดน้อยลงกว่าการลืมรับประทานยาคุม กำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม  จนทำให้มีความเสี่ยงตั้งครรภ์สูง และมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก

3.ทำให้เกิด ความผิดปกติของรอบเดือนได้ง่าย ประจำเดือนอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือหายไปเลยก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอยได้บ้าง


ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraceptives)

เป็น การคุมกำเนิดฉุกเฉินในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดนไม่ตั้งใจและไม่ได้ทำการคุม กำเนิดโดยวิธีอื่นไว้ก่อน หรือในกรณีที่การคุมกำเนิดวิธีอื่นล้มเหลว เช่น การลืมรับประทานยาคุมกำเนิด, ถุงยางอนามัยแตก ฉีก ขาด, ห่วงคุมกำเนิด หรือแผ่นแปะคุมกำเนิดหลุดออก เป็นต้น ไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีนี้นอกจากจะมีเหตุฉุกเฉินจริงๆ และไม่ควรใช้เป็นประจำ เนื่องจากประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ได้สมบูรณ์ 100% และมีอาการแทรกซ้อนได้

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมี  2 แบบ

1.เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในขนาดสูง (Yuzpe)
ใช้ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสมโดยรับประทานครั้งละ 4 เม็ด สองครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง การใช้วิธีนี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรให้รับประทานยาป้องกันการอาเจียน เช่น Motilium? (Domperidone) 1 เม็ดก่อนรับประทานยาคุมกำเนิด ? ชั่วโมง

2.โปรเจสเตอโรนขนาดสูง
ผลิตภัณฑ์ ที่มีขายในประเทศไทยคือ Prostinor? และ Madonna? มีฮฮร์โมนโปรเจสเตอโรน คือ Levonorgestrel 0.75 มก. ซึ่งมีขนาดสูงกว่าในผลิตภัณฑ์ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวและฮอร์โมนผสม บรรจุแผงละ 2 เม็ด อย่างไรก็ตามการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้อาจมีผลทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อน หรือขาดหาย เลือดประจำเดือนออกผิดปกติได้


กลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

กลไก หลักในการป้องกันการตั้งครรภ์ คือ ยับยั้งและชะลอการตกไข่ ส่วนกลไกเสริมที่เกิดขึ้นคือ ทำให้มูกบริเวณช่องคลอดเหนียวข้น และชะลอการเคลื่อนที่ของไข่และอสุจิ ดังนั้นหากใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในช่วงเวลาหลังจากที่ไข่ตกไปแล้วอาจไม่ได้ ผลเท่าที่ควร


วิธีใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

วิธี รับประทาน ควรแนะนำให้รับประทานหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด และรับประทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป


การลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

วิธีที่ 1 เหมาะกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด ที่ด้านหลังแผงจะมีส่วนสีแดงอยู่ 7 เม็ด ตัวอย่างเช่น ไมโครไกนอน 30 ทว., ไกเนรา ทว., ไตรควิล่า ทว. เป็นต้น (เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่เริ่มต้นอาจต้องกินเม็ดแป้งในส่วนสีแดงเป็นเม็ดแรก)

-หากลืมกินยา 1 เม็ด

ให้ กินยาทันทีที่นึกได้ ไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง ถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดจะไม่เต็มที่ ควรให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย จนกว่าประจำเดือนจะมา และควรกินยาวันละ 1 เม็ดตามเดิมติดต่อกันไปเรื่อยๆจนหมดแผง


-หากลืมกินยา 2 เม็ดติดต่อกัน

ให้ กินยาวันละ 2 เม็ดใน 2 วันถัดไป แล้วกินยาวันละ 1 เม็ดตามเดิมต่อไปจนหมดแผง ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ต้องให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยจนกว่าประจำ เดือนจะมา


-หากลืมกินยามากกว่า 2 เม็ดติดต่อกัน

ให้หยุด ยาคุมกำเนิดแผงที่กินอยู่ และให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยในช่วงนี้จนกว่าประจำเดือนจะมา แล้วเริ่มยาเม็ดคุมกำเนิดแผงใหม่ในวันแรกที่มีเลือดคล้ายประจำเดือนมา อย่าลืมว่า 14 วันแรกของการกินยาเม็ดคุมกำเนิดแผงใหม่นี้ ถือว่าไม่ปลอดภัย ต้องให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย เนื่องจากมีการหยุดกินยาเม็ดคุมกำเนิดกลางคันไปแล้ว


วิธีที่ 2 เหมาะกับยาคุมกำเนิด 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด ที่เริ่มกินยาเม็ดฮอร์โมนเป็นเม็ดแรก เช่น ไดแอน, พรีม, เมลิแอน, เมลิแอน ทว., แอนนา, ไมโครเจสต์ อีดี, มาร์นอน, มาร์วิลอน 28, วันเดย์ เป็นต้น

-หากลืมกินยา 1 เม็ด

ให้ กินยาทันทีที่นึกได้ ไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง ถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดจะไม่เต็มที่ ควรให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย จนกว่าประจำเดือนจะมา และควรกินยาวันละ 1 เม็ดตามเดิมติดต่อกันไปเรื่อยๆจนหมดแผง


-หากลืมกินยา 2 เม็ด

กรณี ลืมกินยาใน 14 เม็ดแรกของแผง (ฮอร์โมนเม็ดที่ 1 ถึงเม็ดที่ 14) ให้กินยาวันละ 2 เม็ด ใน 2 วันถัดไป แล้วกินยาวันละ 1 เม็ดตามเดิมต่อไปจนหมดแผง ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ต้องให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย หรืองดมีเพศสัมพันธ์นาน 7 วัน

กรณีลืมกินยาใน 14 เม็ดหลังของแผง (ฮอร์โมนเม็ดที่ 15 ถึงเม็ดที่ 21) ให้หยุดยาแผงที่ลืมนี้ และเริ่มกินยาที่เป็นฮอร์โมนเม็ดแรกของแผงใหม่ในวันที่ลืมวันนั้นเลย ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ต้องให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย หรืองดมีเพศสัมพันธ์นาน 7 วัน กรณีนี้ จะพบเลือดประจำเดือนมาอีกครั้งเมื่อกินยาแผงใหม่หมด


-หากลืมกินยามากกว่า 2 เม็ดติดต่อกัน

ให้ หยุดยาคุมกำเนิดแผงที่กินอยู่ รอจนกว่าจะมีเลือดคล้ายประจำเดือนมา แล้วรีบกินฮอร์โมนเม็ดแรกของยาคุมกำเนิดแผงใหม่ในวันนี้เลย อย่าลืมว่า 7 วันแรกของการกินยาเม็ดคุมกำเนิดแผงใหม่นี้ ถือว่าไม่ปลอดภัย ต้องให้สามีใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย เนื่องจากมีการหยุดกินยาเม็ดคุมกำเนิดกลางคันไปแล้ว

หมายเหตุ หากลืมกินยาหลายเม็ดในแผงเดียวกัน แล้วทำให้เลือดประจำเดือนไม่มาตามปกติ แล้วพบว่าประจำเดือนขาดไป 2 เดือนติดต่อกัน ให้ตรวจการตั้งครรภ์ ยังไม่ควรเริ่มกินยาแผงใหม่จนกว่าจะทราบว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

ออฟไลน์ Butter

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 53
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2016, 21:13:50 »

[size=200%]ความรู้เรื่องยาเม็ดคุมกำเนิด ตอนที่ 4[/size]

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง มีผลทำให้เกิดอาการ
- คลื่นไส้อาเจียน
- มึนงง                                       
- บวม   
- เป็นตะคริวที่ขา   
- คัดตึงเต้านม      
- ปวดศีรษะไมเกรน      
- ฝ้า         
- น้ำหนักเพิ่ม


ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ มีผลทำให้เกิดอาการ
- ประจำเดือนมาน้อย
- ประจำเดือนออกกระปริดกระปรอย ในช่วง 14 วันแรกของรอบประจำเดือน
- ไม่มี เลือดคล้ายประจำเดือน (withdrawal bleeding)
- มดลูกเล็ก


ปริมาณฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนสูง มีผลทำให้เกิดอาการ
- น้ำหนักเพิ่ม
- เพิ่มความอยากอาหาร
- ซึมเศร้า
- สิว
- ผิวและหนังศีรษะมัน
- ขนดก
- ตกขาวจากเชื้อรา Candida spp.
- ประจำเดือนมาน้อย
- เต้านมเล็ก


ปริมาณฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนต่ำ มีผลทำให้เกิดอาการ
- ประจำเดือนออกกระปริดกระปรอย ในช่วง 14 วันหลังของรอบประจำเดือน
- มีเลือดคล้ายประจำเดือน (withdrawal bleeding) ช้า


นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียง ดังนี้
- เพิ่มโอกาสเสี่ยงทีจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction, MI) ในสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยง  ดังนี้
        สูบบุหรี่, เป็นโรคเบาหวาน, เป็นโรคความดันโลหิตสูง, มีไขมันในเลือดสูง, อายุมากกว่า 35 ปี

- เพิ่มโอกาสเสี่ยงทีจะเป็น Stroke ในสตรีที่มีปัจจัยเสี่ยง  ดังนี้
        สูบบุหรี่, เป็นโรคความดันโลหิตสูง

- เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น Venous thromboembolism (เส้นเลือดดำอุดตัน)

- เพิ่มความดันโลหิต

- มีโอกาสเกิด benign liver cell adenoma (มะเร็งตับ) และ cholestatic jaundice (ตัวเหลือง ตาเหลือง)


ข้อห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

ข้อห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม(Combine Oral Contraceptive)

- หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

- สูบบุหรี่ และอายุมากกว่า 35 ปี

- เคยมีประวัติหรือเป็น ลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือด (thromboembolic disorders)

- เป็นโรค ดังนี้
        มะเร็งเต้านม
        เนื้องอกในตับ
 เบาหวานที่มีอาการแทรกซ้อนทางหลอดเลือดร่วมด้วย (DM with vascular complications) หรือเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)
        โรคความดันโลหิตสูง
        โรคเม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว (Sickle cell disease)


ข้อห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว(Progestrogen-only Contraceptive/Minipills)

เนื่อง จากยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย จึงไม่มีข้อจำกัดหรือข้อห้ามการใช้ยาอย่างเด็ดขาด ส่วนโรคหรือสภาวะที่ไม่ควรให้ยา ได้แก่
- ตั้งครรภ์
- มีประวัติการตั้งครรภ์นอกมดลูก
- มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน
- Recurrent cholestatic jaundice หรือมีประวัติเป็นดีซ่าน หรือโรคเกี่ยวกับตับในขณะตั้งครรภ์
- มะเร็งเต้านม

**หากใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
Abdominal pains (severe) : มีอาการปวดท้องรุนแรง
Chest pain or shortness of breath : มีอาการเจ็บหน้าอกหรือหายใจหอบเหนื่อย
Headaches (severe) : ปวดศีรษะรุนแรง
Eye problems, such as blurred vision : มีปัญหาสายตา มองภาพไม่ชัด
Severe leg or arm pain or numbness : มีอาการปวดแขนขาหรือชา

ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดคุมกำเนิด

1.   Combined Oral Contraceptive (COC)
1.1   Monophasic COC

รุ่นที่ 1
ชื่อการค้า   : จำนวนเม็ด - - - Progestrogen (mg) /Estrogen (mg)

มากาเร็ต   : 28 - - - Norethindorne (1)/Mestranol (0.05)
วันเดย์   : 28 - - - Norethisterone (1)/Mestranol (0.05)


รุ่นที่ 2
เจนนี่ เอฟ. เอ็ม. พี.   : 28 - - - Norgestrel (0.5)/Ethinylestradiol (0.05)
ดิออร์   : 21 - - - D-norgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
ดิออร์รา   : 28 - - - D-norgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
มาร์นอน   : 28 - - - Norgestrel (0.5)/Ethinylestradiol (0.05)
ไมโครไกนอน 30 ทว   : 28 - - - Levonorgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
ไมโครเจสต์ อีดี   : 28 - - - Levonorgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
ไมโครเลนิน 30 ทว   : 28 - - - Levonorgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
ริเกวิดอน   : 28 - - - Levonorgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
อาร์เดน   : 28 - - - Levonorgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
แอนนา   : 28 - - - Levonorgestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)


รุ่นที่ 3
ไกเนล่า ทว   : 28 - - - Gestodene (0.075)/Ethinylestradiol (0.03)
ซูซี่   : 21 - - - Cyproterone acetate (2)/Ethinylestradiol (0.035)
ไซโคลเม็กซ์-20   : 21 - - - Gestodene (0.075)/Ethinylestradiol (0.02)
ไซเลสต์   : 21 - - - Norgestimate (0.25)/Ethinylestradiol (0.035)
เดอมูท   : 21 - - - Cyproterone acetate (2)/Ethinylestradiol (0.035)
ไดแอน-35   : 21 - - - Cyproterone acetate (2)/Ethinylestradiol (0.035)
พรีม   : 21 - - - Cyproterone acetate (2)/Ethinylestradiol (0.035)
มาร์วิลอน   : 21 - - - Desogestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
มาร์วิลอน   : 28 - - - Desogestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.03)
มินิโดส   : 28 - - - Gestodene (0.06)/Ethinylestradiol (0.015)
เมลิแอน   : 21 - - - Gestodene (0.075)/Ethinylestradiol (0.02)
เมลิแอน ทว   : 28 - - - Gestodene (0.075)/Ethinylestradiol (0.02)
เมอร์ซิลอน   : 21 - - - Desogestrel (0.15)/Ethinylestradiol (0.02)
ยาส   : 28 - - - Drospirenone (3)/Ethinylestradiol (0.02)
ยาสมิน   : 21 - - - Drospirenone (3)/Ethinylestradiol (0.03)
เลดี้-35   : 21 - - - Cyproterone acetate (2)/Ethinylestradiol (0.035)
แอนนี่ ลินน์   : 21 - - - Gestodene (0.075)/Ethinylestradiol (0.02)
โอซี-35   : 21 - - - Cyproterone acetate (2)/Ethinylestradiol (0.035)


1.2 Biphasic COC

รุ่นที่ 3
ออยเลส   : 22 แบ่งเป็น 2 ส่วน   1. เม็ดสีฟ้า 7 เม็ด - - - Desogestrel (0.025)/Ethinylestradiol (0.04)
                                                2. เม็ดสีขาว 15 เม็ด - - - Desogestrel (0.125)/Ethinylestradiol (0.03)


1.3 Triphasic COC
รุ่นที่ 2
ไตรควิล่า ทว   : 28 แบ่งเป็น 4 ส่วน 1. เม็ดสีน้ำตาลอ่อน 6 เม็ด - - - Levonorgestrel (0.05)/Ethinylestradiol (0.03)
 2. เม็ดสีขาว 5 เม็ด - - - Levonorgestrel (0.075)/Ethinylestradiol (0.04)
 3. เม็ดสีเหลือง 10 เม็ด - - - Levonorgestrel (0.125)/Ethinylestradiol (0.03)
                                                            4. เม็ดใหญ่สีขาว 7 เม็ด - - - เม็ดแป้ง

รุ่นที่ 3
ไตรไซเลสต์   : 28 แบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 7 เม็ด
                                                            1. เม็ดสีขาว - - - Norgestimate (0.13)/Ethinylestradiol (0.035)
 2. เม็ดสีฟ้าอ่อน - - - Levonorgestrel (0.215)/Ethinylestradiol (0.35)
 3. เม็ดสีฟ้าเข้ม - - - Levonorgestrel (0.25)/Ethinylestradiol (0.035)
                                                            4. เม็ดสีเขียว - - - เม็ดแป้ง


2. Progestrogen-only pills (POP)

รุ่นที่ 1
พริโมลุท เอ็น  : 10 - - - Norethisterone (5)
สเตอรอน  : 10 - - - Norethisterone (5)
สำ หรับพริโมลุท เอ็น และสเตอรอน เราไม่ใช้เป็นยาคุมกำเนิด แต่มีข้อบ่งใช้คือ เลื่อนประจำเดือน หรือใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประจำเดือนมากผิดปกติ เช่น มีประจำเดือนตลอดทั้งเดือน เพื่อหยุดเลือดประจำเดือน

รุ่นที่ 3

เอ็กซ์ลูตอน  : 28 - - - Lynestrenol (0.5)


3.Emergency contraceptive (EC)

โพสตินอร์  : 2 - - - Levonorgestrel (0.75)
มาดอนน่า  : 2 - - - Levonorgestrel (0.75)

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
นศ.ภ.เต็มสิริ นิ่มบุญจาช, นศ.ภ.ปภัสรา วรรณทอง, นศ.ภ.ปภาพิต รุ่งจิรธนานนท์, นศ.ภ.มัสยา คุณมาศ  และ 
นศ.ภ.วัณณิตา ศรีสุข



credit: http://www.pharmacafe.com/board/viewtopic.php?f=17&t=33895