ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อควรระวัง อันตราย ที่เกิดจากถังความดัน ของการบรรจุน้ำยาแอร์  (อ่าน 1206 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ถังความดันที่ใช้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทำความเย็น ได้แก่ ถังบรรจุสารทำความเย็น ถังแก๊สออกซิเจนสำหรับใช้ในงานเชื่อม ถังแก๊สไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับงานตรวจสอบรอยรั่ว หรือทำความสะอาดระบบ หรือใช้ช่วยป้องกันการเกิดออกไซด์ขณะทำการเชื่อม เป็นต้น ถังความดันต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องนำไปใช้งานอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัย ซึ่งมีข้อแนะนำต่าง ๆ ดังนี้ ข้อควรระวัง อันตราย ที่เกิดจากถังความดัน ของการบรรจุน้ำยาแอร์

1. ห้ามบรรจุสารทำความเย็นเข้าในถังเกินกว่า 80% ของปริมาตรถัง เนื่องจากเมื่อได้รับความร้อนสารทำความเย็นจะขยายตัว จึงต้องมีที่ว่างเพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว ถ้าบรรจุสารทำความเย็นจนเต็มถังเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สารทำความเย็นจะขยายตัวเกิดความดันภายในสูงขึ้นสามารถทำให้ถังระเบิดเกิดอันตรายได้

2. ถังบรรจุสารทำความเย็นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ผลิตมาสำหรับการใช้งานเพียงครั้งเดียวไม่สามารถนำกลับมาเติมสารทำความเย็นในงานใหม่ ถังประเภทนี้จะเขียนบอกไว้ที่ถังว่า nonrefillable หรือ disposable ไม่ควรนำถังประเภทนี้มาใช้ถ่ายสารทำความเย็นเพื่อใช้งานใหม่เมื่อใช้สารทำความเย็นหมดให้ปิดวาล์วที่ถังทิ้งไว้เพื่อระบายแก๊สที่ค้างอยู่ภายในถังทิ้งให้หมด ก่อนนำไปทำลายทิ้ง และถังประเภทที่สามารถนำกลับไปบรรจุสารทำความเย็นเพื่อใช้งานใหม่ (refillable) ซึ่งเป็นถังที่มีโครงสร้างแข็งแรง ใช้โลหะที่มีความหนามากกว่า เมื่อใช้หมดแล้วสามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้งานใหม่ได้

3. อย่าตั้งถังบรรจุสารทำความเย็นไว้กลางแดดหรือในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 125oF (52oC) เพราะอุณหภูมิที่สูงขั้นจะทำให้เกิดความดันภายในถังสูงมากขึ้นจนตัวถังระเบิดได้

4. ขณะบรรจุสารทำความเย็นเข้าในระบบในสถานะที่เป็นแก๊ส อุณหภูมิและความดันภายในถังจะลดต่ำลง ให้แก้ไขโดยการแช่ถังในอ่างน้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 90oF (32oC) ห้ามใช้เปลวไฟจากหัวเชื่อมแก๊สในการเพิ่มความดันภายในถัง

5. ถังบรรจุสารทำความเย็นปกติจะติดตั้งลิ้นระบายความดัน (relief valve) ไว้ที่ด้านบนของถังเพื่อระบายความดันที่เพิ่มขึ้น ปกติจะตั้งไว้ให้ทำงานที่ความดันประมาณ 400 ปอนด์/ตารางนิ้ว นอกจากนี้ยังมีปลั๊กหลอมละลาย (fusible piug) ซึ่งจะละลายเพื่อระบายสารทำความเย็นออกจากถัง กรณีที่ถังมีอุณหภูมิสูงเกิดซึ่งอาจจะทำให้ถังระเบิด

6. ถังบรรจุไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งใช้สำหรับการตรวจรอยรั่ว หรือใช้เป่าทำความสะอาดภายในระบบ ถูกบรรจุด้วยความดันสูงมากประมาณ 2,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว ในการติดตั้งถังเพื่อใช้งานหรือเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายถัง จะต้องมีโซ่เหล็กรัดถังให้แน่น และมีฝาครอบวาล์ว (protective cap) เพื่อป้องกันการกระแทกตัววาล์ว เพราะถ้าถังล้มและวาล์วถูกกระแทกเสียหาย แก๊สความดันสูงจะพุ่งออกจากถังเกิดแรงผลักให้ถังพุ่งชนเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ในการปล่อยแก๊สไปใช้งาน จะต้องต่อผ่านวาล์วควบคุมความดัน (pressure regulator) เสมอ เพื่อควบคุมความดันเข้าในระบบไม่เกิน 150 ปอนด์/ตารางนิ้ว และให้รีบปิดวาล์วควบคุมที่ถังทันทีเมื่อได้ความดันตามต้องการแล้ว เพื่อป้องกันอันตรายจากวาล์วควบคุมรั่ว ทำให้ความดันสูงในถังจะเข้าไปในระบบ ท่อสารทำความเย็นหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบทำความเย็น โดยเฉพาะคอมเพรสเวอร์จะไม่สามารถรับความดันสูงที่เกิดขึ้นจึงอาจเกิดการระเบิดได้

7. กรณีที่ใช้ออกซิเจน สายหรือท่อแก๊สที่ใช่จะต้องสะอาดปราศจากน้ำมันหรือวัสดุที่เป็นไข เพื่อป้องกันการระเบิดเนื่องจากการติดไฟ เพราะออกซิเจนเป็นแก๊สที่ช่วยให้ไฟติด จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และห้ามใช้ออกซิเจนอัดแทนไนโตรเจนสำหรับทดสอบรอยรั่วโดยเด็ดขาด

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ระวังอันตราย ที่เกิดจากสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2017, 12:52:20 »
ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารทำความเย็นมีดังนี้

1. บริเวณที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารทำความเย็นจะต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะอาจมีสารทำความเย็นรั่วออกจากระบบ และเนื่องจากคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ ทำให้สารทำความเย็นกระจายไปแทนที่อากาศในห้อง ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในบริเวณนั้น

2. ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบให้หมด แล้วปล่อยไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านก่อนใช้แก๊สเชื่อมหรือตัดอุปกรณ์ในระบบ ห้ามเชื่อมอุดรอยรั่วขณะที่ระบบยังมีสารทำความเย็นอยู่เนื่องจากเมื่อสารทำความเย็นได้รับความร้อนจะมีอันตราการขยายตัวสูงมาก อาจทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงหรือเมื่อสารทำความเย็นสัมผัสกับเปลวไฟขณะเชื่อมจะเกิดการเผาไหม้ได้แก๊สพิษที่ไม่มีสีแต่มีกลิ่นฉุนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

3. สวมถุงมือและใส่แว่นตาเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารทำความเย็น เนื่องจากสารทำความเย็นทั่วไปมีจุดเดือดต่ำมาก เช่น R-22 ภายใต้ความดันบรรยากาศจะมีจุดเดือดประมาณ -41oF (-41oC) ดังนั้นถ้าสารทำความเย็นเหลวจากระบบหรือในถังรั่วออกสู่บรรยากาศและสัมผัสกับผิวหนังเหนือดวงตา จะทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะเป็นไออย่างรุนแรง เกิดความเย็นจัดทำให้เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากผิวหนังหรือดวงตาถูกลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วเกิดน้ำแข็งจับบริเวณนั้น เป็นการบาดเจ็บเนื่องจากถูกความเย็นจัด (frostbite) ซึ่งจะเกิดอาการเจ็บปวดคล้ายถูกไอน้ำหรือน้ำร้อนลวก ซึ่งถ้าเกิดเหตุดังกล่าวให้รีบแก้ไขโดยการใช้น้ำจากก๊อกที่สะอาดปล่อยผ่านผิวหนังหรือดวงตาที่ถูกสารทำความเย็น เพื่อปรับอุณหภูมิที่เย็นจัดให้คืนสภาพปกติ

4. สวมถุงมือเมื่อจะปฏิบัติงานกับคอมเพรสเซอร์ชนิดปิดหรือกึ่งปิดที่ได้รับความเสียหายจากมอเตอร์ไหม้ เนื่องจากสารทำความเย็นที่อยู่ในระบบจะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นกรดซึ่งจะทำอันตรายกับผิวหนังได้

5. ห้ามใช้ท่อหรือสายยางจุ่มในถังเพื่อดูดสารทำความเย็นจากถัง (siphoning) เพราะอาจจะทำให้สารทำความเย็นเข้าในปากเกิดอันตรายได้

6. ในกรณีมีของเหลวค้างอยู่ในท่อหรือถูกกักเก็บอยู่ในอุปกรณ์ในช่วงที่ระบบมีอุณหภูมิต่ำจะต้องระมัดระวังการเกิดอันตรายเนื่องจาการขยายตัวของสารทำความเย็นเหลว คือหลังจากระบบหยุดสร้างความเย็นบริเวณรอบ ๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าไม่มีที่ว่างสำหรับการขยายตัวของสารทำความเย็นเหลว จะทำให้เกิดความดันภายในสูงขึ้นจนเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงได้

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99-%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c/