แอร์รถยนต์ หรือระบบปรับอากาศภายในห้องโดยสารของรถยนต์ คืออุปกรณ์ที่ใช้สูบความร้อนภายในห้องโดยสารรถ แล้วนำความร้อนมาคายทิ้งภายนอก เป็นกรรมวิธีสูบและคายความร้อนที่จำเป็นต้องอาศัยชิ้นส่วนหลายชิ้น
เริ่มจากเมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะดูดน้ำยาแอร์ที่มีสภาพเป็นก๊าซเข้ามาอัดความดันและอุณหภูมิให้สูงขึ้น จากนั้นส่งไปตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์เข้าสู่คอยล์ร้อนซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านี้ออกไปตามครีบระบายความร้อน จนกระทั่งก๊าซกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูงไหลออกจากคอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอม และดูดความชื้นไปด้วยชั่วขณะที่ว่านี้น้ำยาแอร์มีสภาพเป็นของเหลวและความดันสูง ไหลออกจากถังพักน้ำยาแอร์ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดันที่จะลดความดันของน้ำยาแอร์ให้อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างมาก เพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น เมื่อของเหลวความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำไหลเข้าสู่คอยล์เย็นก็จะดูดซับความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัว พัดลมจะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสารผ่านแผงคอยล์เย็น ผ่านทางท่อลมจนออกไปจากช่องปรับอากาศด้านหน้าคอนโซล อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูดซับออกไปด้วยวิธีนี้ น้ำยาแอร์จะดูดซับความร้อนวนเวียนอยู่ตามท่อทางเดินที่ขดไปมาบนแผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพเป็นก๊าซไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อ เข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดความดันของน้ำยาแอร์รอบใหม่วนเวียนไปจนกว่าคอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน
อุปกรณ์สำคัญๆ ของแอร์รถยนต์ประกอบด้วย
-คอมเพรสเซอร์
-คอยล์ร้อน
-ถังพักน้ำยา
-ตัวกรองและดูดความชื้น
-วาวล์แอร์
-คอยล์เย็น
-น้ำยาแอร์
วิธีการตรวจซ่อมและบำรุงรักษาแอร์รถยนต์ 1.ทำความสะอาดภายนอกทุกส่วน เช่น ที่คอยล์ร้อนและคอยล์เย็น โดยเฉพาะบริเวณครีบระบายความร้อนและความเย็นควรสะอาด เพราะถ้าคอยล์ร้อนสกปรกจะทำไห้การระบายความร้อนไม่ดี และหากคอยล์เย็นสกปรกการระบายความเย็นมาสู่เราจะไม่สมบูรณ์
2.เช็กปริมาณน้ำยาแอร์โดยดูที่ช่องกระจกที่ตัวเก็บและดูดความชื้น (ไดเออร์) ถ้าพบว่าเป็นฟองอากาศแสดงว่าน้ำยาน้อยเกินไป ไห้ไปอัดน้ำยาเพิ่ม
3.ตรวจดูว่ามีรอยรั่วของข้อต่อต่างๆ หรือไม่ โดยใช้น้ำสบู่หรือฟองสบู่เช็ดตามข้อต่อ หากเกิดการรั่วซึมจะพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้นให้ไปหาช่างแอร์เชื่อมอุดรอยรั่ว
4. ตรวจฝาครอบท่ออัดน้ำยาทั้งสองด้าน ถ้าปิดไม่สนิทจะทำไห้มีฝุ่นเกาะติด อัดน้ำยาครั้งต่อไปจะทำไห้น้ำยาแอร์สกปรกแล้วทำไห้ระบบอุดตันได้ กรณีแอร์ไม่เย็นอาจน้ำยาแอร์รั่ว หรือบริเวณท่ออุดตัน วิธีตรวจดูว่ารั่วจุดใดให้สังเกตว่าจุดต่อตัวไหนที่มีคราบน้ำมันเยิ้มเกาะอยู่แสดงว่าเกิดการรั่วซึม ให้นำน้ำสบู่มาเช็ดดูอีกครั้งว่ารั่วจริงหรือไม่ หากรั่วให้ขันข้อต่อเข้าไปให้แน่นหากยังไม่หายให้เปลี่ยนสายที่ข้อต่อนั้น
11 สาเหตุหลัก ที่แอร์ไม่เย็น คอมมีเสียงดัง และล็อค 1.ความร้อน ระบบระบายความ ร้อน คือศีตรูหมายเลข 1 ของระบบแอร์/เคื่องยนต์ และ ระบบเกียร์ออโต้ พัดลมแผง หรือ หม้อน้ำเสีย แผง เล็กเกินไประบายไม่พอ/สกปรก/ตีบ/งอ ช่องลมฮีทเตอร์รั่วเข้ามาในระบบลมภายนอกรั่วเข้ามาจากขอบประตู หรือ หน้าต่างรถ….หรือแผ่นกันลมระหว่างแผงกับหม้อน้ำ
2.น้ำยาไม่ใด้คุณภาพ มากเกิน ขาด หรือ น้ำยาผสมระหว่าง R12 กับ 134A
3.คอมเพรสเซอร์แรงอัดไม่พอ เพราะเสื้อสูบหรือลูก สูบสึกหรอตามอายุการใช้งาน
(คอมเพรสเซอร์ บางรุ่นสามารถซ่อมกลับมาให้ใช้งานเหมือนใหม่ได้ ยกเว้นคอม Rotary เช่น: Nissan/Suzuki: DKV Mazda: Panasonic/TRF Mitubishi: FX/MSC 090 Honda-Civic/Crv: TRF/ TRV/TRSA 090-105- Ford: Scroll(Jaguar S-Type)
4.ใช้น้ำมันผิดเสปค ใช้น้ำมันผิดทำให้คอมมีเสียงดัง กรีกๆ ไม่ควรใส่น้ำมันคอมเกิน เพราะทำให้ไม่เย็นเท่าที่ควรและทำ ให้คอมทำงานหนักกว่าเดิม แต่ก็ไม่ทำให้คอมแอร์พังในทันที ควรล้างระบบใหม่ และเติมน้ำมันให้พอดี (+/-10%) ขึ้นอยู่กับ ประเภทของคอมแอร์ รุ่นของรถยนต์ ขนาดเครื่องยนต์ (ในกรณีที่รถที่ออกแบบมาใช้แอร์ตู้เดียว ไปติดแอร์ตู้หลังเพิ่ม และใส่น้ำมันไม่พอ ผลคือคอมพังก่อนควรติดตั้งคอมแอร์ที่ใหญ่กว่าเดิม และเพิ่มน้ำมัน)
5.ดรายเออร์สกปรก/ตัน หรือความชื้นภายในระบบแอร์ หลายครั้งที่เปิดคอมแล้วพบคราบสนีมบนแผ่น Plate ภายในตัวคอม หรือความชื้นภายในระบบเนื่องจากร้านแอร์แวคคั่มนานไม่พอ หรือมีการรั่ว ซึมในระบบมานาน
6.รั่ว เพราะเกิดจาก โอริง/ท่อน้ำยาหมดอายุ
7.ตู้แอร์ ชึม/รั่ว ครีบของตู้แอร์ล้ม เพราะผ่านการใช้งาน หรือ สกปรก ฝุ่นเกาะหนา ขนสัตว์ น้ำหอม ความชื้นหรือน้ำไม่สามารถระเ หยออกมาจากตู้ใด้ ทำให้น้ำแข็งเกาะตู้ เพราะลมเป่าผ่านตู้ไม่ได้
8.ชิ้นส่วนอื่นฯ เช่น Pressure Switch, Thermostat, Relay, ดรายเออร์ และ เอ็กแพนซั่นวาวล์ (ดรายเออร์/แอคคิวมูเลเตอร์ และ เอ็กแพนซั่นวาวล์ ควรเปลี่ยน ทุกๆ 3-4 ปี ถ้าเป็นระบบ Orifice tube ควรถอดมาทำความสะอาด ทุกฯ 2-30,000 ก.ม.หรือ เปลี่ยนถ้าตระแกงฉีกขาด วาวล์ตัวนี้ทำหน้าทีกรองด้วย ถ้าสกปรก/อดตัน แอร์จะไม่เย็น) หรือติดตั้ง หางเทอร์โม ผิด/เสีย (กรณีนี้เจอบ่อย ถ้ามีคนจะแกล้ง เพียงดึงหรือดันหางให้ผิดตำแห่นง ความเย็นจะเพี้ยนไปหรือคอมจะตัดช้าหรือตัดก่อน ในกรณีนี้ แอร์จะไม่เย็น สุดท้ายคอมเริ่มรั่ว และตาย ผมเคยเจอมาแล้ว)
9.ควรศึกษาคู่มือ วิธีการใช้ ปุ่มปรับตั้งระบบปรับอากาศรถคุณ เพราะหลายครั้งเจอผู้ใช้รถปรับผิด
10.รอบเครื่องต่ำเกิน เพราะต้องการเซฟน้ำมัน แต่แอร์ไม่เย็น ต้องเลือกเอาครับ
11. PWM,Current Limiting pressure Control Valve,คอมจะทำงานเมื่อเครื่องติด เป็นระบบที่ใช้กับรถ Europe และ ญี่ปุ่น High-end บางรุ่น ไม่มีเทอร์โมสแตท์ควบคุม จะใช้อุณหภูมิในห้องโดยสาร และECU ควบคุม pressur e แทน ไม่มีคลัทช์
การรั่วซึมของน้ำยา(ท่อน้ำยา 134 ยังกันซึมใด้ไม่ถึง100 เปอร์เซ็นต์) เติม น้ำยาบ่อยฯ โดยไม่ได้เติมน้ำมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คอมสึกหรอเร็วกว่าปรกติ และคอมล็อคได้ ควรเติมน้ำมัน เมื่อเติมน้ำยาครั้งที่ 2-3 ถ้า 8-12 เดือน น้ำยาขาด ถือว่าปรกติ เติมน้ำยาบ่อยฯ ควรหาจุดรั่วและซ่ อมเสียจะดีกว่า เพราะน้ำยา และ น้ำมันคอมขาด ทำให้ระบบแอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ แอร์ไม่เย็นและจะทำให้คอมเพรสเซอร์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และที่สำคัญที่สุด ระบบต้องสะอาด
ขอบคุณที่มา :
http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b9%80%e0%b8%8b%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c/