ผู้เขียน หัวข้อ: การตรวจเช็ค และแก้ไขข้อขัดข้อง ของเครื่องปรับอากาศ  (อ่าน 1079 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ

1. การตรวจกระแสไฟ เสียบปลั๊กสายไฟเข้ากับเต้าปลั๊ก ใช้ปลายข้างหนึ่งของสายตรวจต่อเข้ากับข้อใน และอีกขั้วหนึ่งต่อกับขั้ว ถ้าหากหลอดไฟฟ้าสว่างก็แสดงว่ามีกระแสไฟเดินไปที่อีเธอร์

2. ตรวจมอเตอร์พัดลม การตรวจมอเตอร์พัดลมเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องระเหย ปรับสวิตซ์ไปที่ตำแหน่ง VENT ถ้าหากมอเตอร์พัดลมเครื่องระเหยไม่ทำงานให้ถอดฝาครอบสวิตซ์ออกไป ปลดหัวต่อจากสายเส้นที่ต่อกันไว้ออก ต่อสายตรวจเข้ากับขั้วหมายเลข 1 จากสวิตซ์และปลายสายซึ่งปลดหัวต่อออก ถ้าหากหลอดสว่างก็แสดงว่าขัดข้อง จะต้องอยู่ในตัวมอเตอร์ ปล่อยให้มอเตอร์เย็นลงประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วตรวจอีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากหลอดไมสว่างก็แสดงว่าสวิตซ์บกพร่อง

3. ตรวจมอเตอร์พัดลมเครื่องกลั่น ให้ปรับสวิตซ์ไปที่ตำแหน่ง EXHAUST ถ้าหากมอเตอร์พัดลมเครื่องกลั่นไม่ทำงาน ให้ถอดฝาครอบที่สวิตซ์ออก ปลดหัวต่อจากสาย 4 เส้น ที่ต่อกันไว้ออก และแต่งสายตรวจเข้ากับขั้ว 3 ของสวิตซ์กับปลายสายที่ต่อกันอยู่ ถ้าหากหลอดไฟสว่างก็แสดงว่าขัดข้องอยู่ในมอเตอร์

4. คาปาซิเตอร์ (Capacitor) เครื่องส่วนมากจะใช้อิเล็กโตรลิติกคาปาซิเตอร์ ในวงจรของขดลวดเริ่มทำงานของมอเตอร์ ทั้งนี้ เพื่อให้มีแรงในการเริ่มทำงานของมอเตอร์สูงขึ้น ถ้าหากคาปาซิเตอร์เกิดวงจรลัดขึ้นภายในมอเตอร์จะไม่ทำงาน ถ้าหากคาปาซิเตอร์ไหม้ให้เปลี่ยนาคาปาซิเตอร์และทดลองใหม่

5. ตรวจรีเลย์ ก่อนจะตรวจรีเลย์ให้ตรวจคาปาซิเตอร์ก่อน เพราะว่าถ้าหากคาปาซิเตอร์เกิดวงจรลัดภายในจะทำให้ตรวจรีเลย์ไม่แน่นอน การตรวจรีเลย์ทำดังนี้ ให้ถอดฝาครอบหีบสวิตซ์ของเครื่องทำความดันออกให้สวิตซ์ไปอยู่ในตำแหน่ง off ต่อสายตรวจระหว่างขั้ว S ของรีเลย์ และขั้ว S ของมอเตอร์ปรับสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งทำความเย็น หลอดไฟควรจะมีแสงชั่วขณะเดียวเท่านั้น เมื่อเครื่องทำความเย็นเริ่มทำงาน ถ้าเครื่องทำความเย็นไม่ได้ทำงาน หลอดไฟควรจะมีแสงหรี่ ๆ เท่านั้น จนกว่าจะตัดสวิตซ์ หรือจนกว่าเครื่องป้องกันจะทำงาน

6. ถ้าหากหลอดไม่สว่าง ให้ตรวจสภาพของการทำงานเกินอัตราถ้าไม่มีการทำงานโดยปกติแล้วให้เปลี่ยนรีเลย์

7. การรั่ว ในกรณีที่เครื่องกลั่นเกิดมีรอยรั่วขึ้น เช่น ตามรอยต่อต่าง ๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่หมด การรั่วมักจะตรวจพบได้โดยมีน้ำมันเกิดขึ้นรอบ ๆ บริเวณที่มีการรั่วเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี อย่าเพิ่งทักเอาว่า การเกิดน้ำมันที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจะเริ่มมาจากการรั่วเสมอไป จะต้องพิสูจน์โดยวิธีการตรวจการรั่วเสมอ

8. เครื่องกรอง เครื่องกรองควรจะได้ทำการตรวจโดยมีกำหนดการถอดเครื่องกรองทำได้ไม่ยาก เมื่อถอดแล้วก็ทำความสะอาดเสีย

9. การทำความสะอาดตามกำหนดเวลา เป็นที่เชื่อได้ว่า เครื่องปรับอากาศจะทำงานได้ผลดีที่สุด ถ้ามีการเปลี่ยนเครื่องกรองทุก ๆ ปี และทำความสะอาดตามความจำเป็น

10. การทำคามสะอาดภายใน ภายในตัวเครื่องควรจะได้ทำความสะอาดเป็นครั้งคราว เพื่อกำจัดฝุ่น น้ำมัน สิ่งสกปรกอื่น ๆ สิ่งที่ควรสนใจเป็นพิเศษควรจะเป็นขดท่อกลั่น ขดท่อทำความเย็น และทำความสะอาดเป็นประจำจะทำให้เครื่องทำงานได้ผลดีตลอดเวลา


การแก้ข้อขัดข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจแก้ไขข้อขัดข้อง


1. เครื่องไม่ทำงาน ฟิวส์ขาด ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ สายต่อทางไฟขาด หรือหลวมต้องเปลี่ยนใหม่ และทำให้แน่น สวิตซ์บกพร่อง ซ่อมหรือเปลี่ยนสวิตซ์ แคปาซิเตอร์ควรตรวจและเปลี่ยนใหม่ รีเลย์บกพร่องตรวจรีเลย์ป้องกันมอเตอร์

2. ความเย็นไม่พอ แรงไฟฟ้าเข้าเครื่องต่ำ ตรวจแรงไฟฟ้าด้วยโวลท์มิเตอร์ เครื่องกลั่นสกปรก ทำความสะอาดให้หมด สวิตซ์บกพร่องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ มอเตอร์พัดลมไม่ทำงาน ตรวจสายต่อมอเตอร์แคปาซิเตอร์และรีเลย์ เครื่องกรองอากาศสกปรก ทำคามสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%87%e0%b8%84-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
สำหรับช่างแอร์ตามร้าน ที่มีงานซ่อมแอร์เป็นประจำ ทั้งแอร์บ้าน แอร์โรงงานหรือจะเป็นแอร์ที่สำนักงานต่างๆนั้น หากบางที่เรียกท่านไปบ่อยเหลือเกิน ท่านควรแนะนำให้ลูกค้าเกี่ยวกับการซ่อมแอร์ เพราะจริงๆแล้ว แอร์ในที่ที่หนึ่ง ไม่ต้องซ่อมทุกวันก็ได้ เพียงแต่หมั่นดูแลรักษาทุกวัน เพื่ออย่างน้อยก็เป็นการป้องกันความชำรุดที่จะเกิดกับเครื่องปรับอากาศ และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแอร์ได้ดีมากเลยทีเดียว


การสังเกตุแอร์ง่ายๆว่าทำไมมันถึงไม่เย็น หรือมันเสียง่าย เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาแอร์เสียและชำรุดในระยะยาว

1. ให้ดูท่อ Suction Line ตรวจเช็คว่ามีน้ำเกาะที่ท่อหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นจะมีน้ำเกาะเสมอ ซ่งหลักการการทำงานของน้ำยาแอร์นั้น จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ ส่งมาที่คอล์ยร้อน สารทำความเย็นที่เข้ามายังท่อ Suction Line นั้นอาจจะยังไม่ถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนทั้งหมด ทำให้คามเย็นจากน้ำยายังคงเหลืออยู่ กลายเป็นหยดน้ำเกาะตามท่อ ซึ่งหากเช็คดูแล้วไม่มีน้ำเกาะที่ท่อ ก็แปลว่าเกิดอาการผิดปกติ ในระบบน้ำยาแอร์แล้วแหละ

2. เช็คดูลมที่หน้าคอล์ยร้อนด้วยนะ เพราะมัน จำเป็นที่จะต้องร้อนตลอดเวลา ตามหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ที่ส่งผ่านสารทำความเย็นจากคอล์ยเย็น ไปคอล์ยร้อนนั้น จะถูกส่งมาในสถานะไอ และจะถูกควบแน่นจนกลายเป็นของเหลวโดยคอมเพรสเซอร์ ผ่านคอล์ยร้อน ไปยังคอล์ยเย็น ซึ่งจำเป็นต้องผ่านการระบายความร้อนออกจากระบบ จึงต้องมีพัดลมจากคอมเพรสเซอร์ดูดออกไป จะทำให้ลมที่เป่าออกมานั้น เป็นอากาศร้อน แต่หากว่าลมที่ถูกเป่าออกจากคอล์ยร้อน ไม่ยอมร้อน ก็แปลว่า เกิดปัญหากับชุดระบายความร้อนของคอมเพรสเซอร์แล้วแหละ

3. ทำไมไม่มีน้ำไหลออกจากท่อแอร์ ปกติหรือเปล่า? ซึ่งโดยปกติตามหลักการทำงานของการหมุนเวียนในระบบแล้วนั้น จะต้องมีน้ำ หรือไอน้ำออกมาจากท่อ และหยดลงที่ถาดน้ำทิ้งแอร์ พร้อมไหลออกไปสู่ท่อน้ำทิ้ง เนื่องจากเมื่อน้ำยาแอร์ถูกส่งไปที่คอล์ยเย็น จะเกิดการลดแรงดัน ทำให้มีอุณหภูมิต่ำและถูกส่งผ่านไปที่คอล์ยเย็น เพื่อเป่าลมแอร์เย็นๆออกมา เป็นการดูดความร้อนเข้าไปแทนที่ หรือเรียกว่าแลกเปลี่ยนความร้อน นอกจากจะได้อากาศเย็นแล้ว อากาศบางส่วนจะถูกควบแน่นกลายเป็นน้ำ และจะถูกระบายออกทางถอดรองน้ำทิ้งที่ตัวเครื่อง แต่หากว่าถาดรองน้ำทิ้งแห้ง และไม่มีน้ำแอร์หยดลงมาเลย นั่นแหลว่า ระบบน้ำยาแอร์ หรือระบบท่อน้ำทิ้งอาจมีปัญหาแล้วแหละ

วงจรเครื่องปรับอากาศ สำคัญมากต่อช่างแอร์ ซึ่งปัญหาทุกอย่างส่วนมากแล้วจะแก้ไขได้จากการสังเกตุ แต่ก็อย่าลืมว่า ช่างแอร์มีเครื่องมือมากมายที่จะสามารถตรวจสอบ เช็ค ได้ดีกว่าการสังเกตุ ว่าส่วนใดทำงานผิดปกติ ส่วนใดทำงานไม่สมดุล ซึ่งการสังเกตุจากผู้ใช้งานนั้น เป็นเพียงแค่ลูกศร ให้ช่างแอร์วิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุดมากที่สุด

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%81%e0%b9%86%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%86-%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%88%e0%b8%b0%e0%b8%8b%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8/