การปั๊มดาวน์คืออะไรการปั๊มดาวน์น้ำยาแอร์บ้าน คือการดูดน้ำยาในระบบทั้งหมดมาเก็บไว้ที่ชุดคอยล์ร้อน (Condensing unit) ทำเมื่อต้องการถอดแอร์ ย้ายแอร์หนีน้ำ ย้ายตำแหน่งการติดตั้ง หรือต้องการเปลี่ยนแอร์ โดยที่ไม่ให้น้ำยาแอร์รั่วไหลออกไปในอากาศ วิธีการค่อนข้างใช้เทคนิคและความรู้เรื่องช่างแอร์ ดังนั้นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญงาน โดยเครื่องมือนั้นการทำปั๊มดาวน์ได้แก่ เกจ์น้ำยา ประแจเลื่อน ประแจหกเหลี่ยม คลิปแอมป์มิเตอร์และการทำปั๊มดาวน์สามารถทำได้กับแอร์ที่มี Stop valve ที่คอยล์ร้อนเท่านั้น แอร์รุ่นเก่าหรือแอร์ผีที่ประกอบขึ้นอาจไม่มี Stop valve หลัการก็คือปิด Stop valve ด้านส่งไว้ และเปิด Stop valve ด้านดูดให้คอมเพรสเซอร์ทำงานและดูดน้ำยาแอร์ทั้งหมดกลับมาที่คอยล์ร้อน เมื่อดูดหมดก็ทำการปิด Stop valve ล็อคน้ำยาเอาไว้
วิธีการปั๊มดาวน์น้ำยาแอร์ทำได้ดังนี้ 1.ทำการเปิดฝาเครื่องออก
2.คลายฝาครอบของ Stop valve ออกจะเห็นรูหกเหลี่ยม สำหรับใส่ประแจหกเหลี่ยมเพื่อเปิด-ปิด Stop valve(ปิดวาล์หมุนตามเข็มนาฬิกา เปิดวาล์วหมุนทวนเข็มนาฬิกา)
3.ต่อสายเกจ์วาล์เข้าที่วาล์บริการ(Service valve)ทั้งด้านส่ง(Discharge) และด้านดูด(Suction) และเปิดวาล์วเกจ์น้ำยา สังเกตเข็มจะดีดขึ้นไปตามเข็มนาฬิกา นั้นคือแรงดันขณะคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน
4.ปิด Stop valve ด้านส่งให้สนิท ด้านดูดปิดแค่ครึ่งเดียว
5.ใช้ คลิปแอมป์ คล้องกับสายไฟฟ้าที่ใช้จ่ายให้แอร์โดยคล้องที่สายไฟฟ้าขั้ว L หรือขั้วที่มีไฟ เพื่อวัดกระแสไฟฟ้าขณะทำการปั๊มดาวน์น้ำแอร์ หากมีกระแสสูงเกินไปกว่าที่เครื่องกำหนดไว้ให้ทำการสับสวิทซ์ไฟฟ้าลง ปิดเครื่งแอร์ทันทีเพื่อความปลอดภัย เพราะแรงดันสูงสะสมที่คอมเพรสเซอร์กระแสไฟฟ้าสูงเกินไปคอมเพรสเซอร์อาจเกิดระเบิดได้
6.วิธีการขั้นนี้ต้องทำด้วยความรวดเร็ว และสั้นที่สุดไม่ควรนานเกินกว่า 20 วินาที เพราะถ้านนานกว่านั้นคอมเพรสเซอร์จะมีอุหภูมิสูงขึ้นกว่าปรกติและอาจระเบิดได้ ทำการเปิดเครื่องปรับอากาศและรอให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานให้สังเกตุแรงดันน้ำยาที่เกจ์วัดแรงดันน้ำยาด้านส่งและด้านดูดจะลดลงพร้อมๆกัน และสังเกตคลิปแอมป์มิเตอร์ว่ากระแสไฟฟ้าไม่เกินกว่าที่เครื่องกำหนด เมื่อแรงดันน้ำยาแอร์ใกล้ถึง 0 psi ให้ปิด Stop valve ด้านดูดและเครื่องปรับอากาศทันที เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาแอร์ไหลย้อนกลับไปในระบบ
7.เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถอดสายเกจ์น้ำยาออก ประกอบฝาครอบ Stop valve
8.ถ้าต้องการย้ายคอยล์ร้อนก็ทำการถอดสายไฟฟ้าออกจากคอยล์ร้อน คลายแฟลนัตที่เชื่อมต่อท่อน้ำยาแอร์กับ Stop valve ออก และทำการรื้อส่วนอื่นๆต่อไป
**อย่าลืมนะครับ ขั้นตอนที่ 6 ควรทำด้วยความระมัดระวังและเร็วที่สุด
**วิธีสังเกตท่อด้านส่ง(Discharge)เล็กกว่าด้านดูด(Suction)
ขอบคุณที่มา :
http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b9%8a%e0%b8%a1%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c/