ผู้เขียน หัวข้อ: ส่วนประกอบ ของระบบปรับอากาศรถยนต์ และสาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็น  (อ่าน 1245 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
โดยปกติรถยนต์ทั่วไป ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบปรับอากาศรถยนต์ ประกอบไปด้วย

1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีความดันสูงขึ้นและทำให้น้ำยาแอร์หมุนเวียนในระบบ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ อาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์ ผ่านสายพาน มักเรียกกันว่า คอมพ์แอร์ ส่วนประกอบ ของระบบปรับอากาศรถยนต์ และสาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็น

2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนหรือลมปะทะขณะรถวิ่ง ส่วนประกอบ ของระบบปรับอากาศรถยนต์ และสาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็น

3. รีซีฟเวอร์-ดรายเออร์ ทำหน้าที่ดูดความชื้น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์และกักเก็บน้ำยาแอร์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการใช้งานในระบบ ติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอร์กับตู้แอร์ ที่ด้านบนจะมีตาแมวเพื่อใช้ดูว่าน้ำยาแอร์มีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ บางรุ่นยังมีสวิตช์ความดันติดตั้งอยู่ด้วย มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป ชุดคลัตช์แอร์จะตัดการทำงานทันที ส่วนประกอบ ของระบบปรับอากาศรถยนต์ และสาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็น

4. ตู้แอร์ ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารบริเวณหลังแผงหน้าปัด มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
4.1) อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้อากาศเย็น
4.2) พัดลมตู้แอร์หรือชุดโบลว์เออร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในห้องโดยสารให้ผ่านอีวาปอเรเตอร์เป็นลมเย็นเป่าออกทางช่องลม
4.3) เอ็กซ์แพนชันวาล์ว ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์มีคุณสมบัติในการดูดความร้อนจากอากาศ

5.ชุดทำความร้อน ใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มาอุ่นให้อากาศร้อนขึ้นแล้วเป่าออกมาโดยพัดลม ตามปกติใช้ในขณะอากาศหนาว


สาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1. ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับอากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่างๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2. สวิตช์ความดันสูง-ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน จะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3. คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4. สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5. พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอหรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6. มีเศษผงหรือสิ่งสกปกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้เพราะอาจทำให้ครีบที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7. ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ตัด-ต่อบ่อยเกินไป
8. ตัวรีซีฟเวอร์-ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ 9. น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่างๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10. คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ (น้ำยาแอร์รั่วตามจุดต่างๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอร์ไม่เย็น จุดที่น้ำยาแอร์รั่วบ่อยได้แก่ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ วิธีตรวจว่าระบบปรับอากาศรถยนต์ทำงานปกติหรือไม่ ทำได้โดยติดเครื่องยนต์และเปิดแอร์ ใช้มือจับที่ท่อดูดจะเย็นหรือบางทีมีน้ำเกาะ ส่วนที่ท่อจ่ายจะร้อน ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าระบบปรับอากาศทำงานตามปกติ)

คำแนะนำ
-หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อยๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
-หลังจากปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยดลงบนพื้นถนนเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ตู้แอร์รั่วซึมได้

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤศจิกายน 2017, 14:52:09 โดย Master »