ผู้เขียน หัวข้อ: ติดแอร์ในห้องนอน ติดตรงไหนดี ตำแหน่งไหนดี  (อ่าน 9948 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
1.ไม่ติดตั้งแอร์บนอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ย้ำว่า ทุกชนิด!! เพราะว่าเวลาแอร์ทำความเย็น บางทีจะเกิดปัญหาแอร์น้ำหยดโดยคาดไม่ถึง จะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ ที่สำคัญ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟดูดกับผู้ใช้งานได้ อันตรายมาก

2.ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศบนประตู พยายามหลีกเลี่ยงการติดบนประตู เพราะว่าหากมีการเปิด – ปิด ประตูเวลาเราเข้าออกห้องนอนนั้น จะทำให้อากาศเย็นภายในห้องหายไปลบฮวบ เครื่องปรับอากาศจะทำงานหนักขึ้น ยิ่งเปิดประตูบ่อย แอร์อาจไม่เย็นก็เป็นได้

3.ทิศทางลมไม่ควรเป่าลงเตียงแบบตรงๆ และไม่ควรติดตั้งแอร์ในด้านหัวเตียง และปลายเตียง เพราะอากาศที่เป่าออกจากแอร์นั้นโดยปกติแล้วจะมีความชื้น และหากไม่มีการล้างแอร์มานาน จะมีเชื้อโรค หรือแบคทีเรียถูกเป่าออกมา แล้วหากติดตั้งในตำแหน่งเหล่านี้ แอร์จะปะทะร่างกายโดยตรง แม้จะรู้สึกเย็นสบายแต่ในขณะเรานอนหลับ ร่างกายเราจะหนาวเกิน เพราะร่างกายไม่ได้ใช้งานหนักเหมือนตอนตื่น ทำให้ร่างกายเสียสมดุล เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพของหลายๆคน เพราะฉะนั้น ควรจะติดตั้งแอร์ให้เป่าลมทางขวาง หรือเป่าค่อนไปทางปลายเท้าจะดีที่สุด

4.ติดตั้งแอร์นอกจากจะดูทิศทางลมแล้ว ควรดูความสะดวกในการดูแลรักษาด้วย เนื่องจากเราจำเป็นต้องมีการล้างแอร์ ซ่อมแอร์(หากแอร์ขัดข้อง) ในบางเวลา ควรจะติดตั้งในที่ที่สามารถทำานได้สะดวก และดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศได้ง่ายขึ้น

5.หากมีห้องน้ำในห้องนอน ควรใช้ประตูที่ปิดมิดชิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประตูแบบบานเกล็ด เพราะจะทำให้อากาศเย็นรั่วไปในห้องน้ำ ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนนั้นจำเป็นมากที่จะต้องเลือกทิศทางให้ดี เพราะหากติดโดยไม่ได้คิดคำนึงไว้ก่อนแล้ว อาจทำให้ลูกค้าหลายๆท่าน ต้องเสียเงินเพิ่มในการเรียกช่างแอร์มาย้ายแอร์ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น คิดสักนิดก่อนจะติดตั้งนะค่ะ

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b5-%e0%b8%95%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b5/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
เรื่องของเครื่องปรับอากาศกับห้องนอน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2017, 22:11:04 »
ปัจจุบันจะมีบ้านสักกี่หลังที่เราจะสามารถนอนเปิดหน้าต่างคอยรับความเย็นจากอากาศภายนอกบ้านที่จะถ่ายเทเข้ามาในห้องนอนได้  ยิ่งถ้าอยู่ในบ้านจัดสรรด้วยแล้ว หน้าต่างแทนที่จะเปิดบ้าง กลับมีผ้าม่านมาปิดบังไว้เพราะไม่อยากให้เพื่อนบ้านมองเข้ามาเห็นเราที่อยู่ในห้องว่ากำลังทำอะไรอยู่  การติดเครื่องปรับอากาศให้กับห้องนอนจึงเป็นเรื่องปกติที่ทำกันทุกบ้าน แต่ทราบกันหรือไม่ว่า การติดเครื่องปรับอากาศในห้องนอนมีเรื่องที่ตามมาให้ยุ่งยากใจมากมาย ไม่ใช่แค่ว่ามีที่แขวนเครื่องทำความเย็นในห้องแล้วก็จบ การเลือกติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมก็เกิดอาการเกะกะสายตา และที่หนักที่สุดคือ ถ้าติดไม่ดีจะทำให้สุขภาพย่ำแย่โดยไม่รู้ตัว มาดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้าง
 
        อย่างแรก คือ เรื่องขนาดของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งควรเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดปริมาตรอากาศในห้องนอน เช่น ถ้าห้องนอนที่มีขนาดประมาณ 3x3 ม. และเพดานสูงไม่เกิน 2.7 ม. ( ซึ่งเป็นปริมาตร และพื้นที่สำหรับหนึ่งคนนอนในหนึ่งคืน ให้สามารถมีออกซิเจนหายใจได้อย่างพอเพียง และตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น) ประมาณว่าใช้เครื่องปรับอากาศขนาด 9,000 บีทียูก็จะเหมาะสม แต่ถ้าผนังห้องโดนแดดในตอนบ่าย หรือมีความร้อนแผ่จากฝ้าเพดานลงมา ก็ควรเพิ่มขนาดเครื่องขึ้นไปอีกสักเล็กน้อย เช่น สัก 10,000 ถึง 12,000 บีทียู  เป็นต้น (ก่อนซื้อเครื่องปรับอากาศควรให้ข้อมูลขนาดพื้นที่ ความสูง รวมถึงสภาพการรับความร้อนแก่คนขาย เพื่อให้ได้รับคำแนะนำเรื่องขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม)
 

ภาพ: ตัวอย่างขนาดห้องนอน สำหรับ 1 คนนอน       

 เรื่องถัดมาคือ ตำแหน่งการติดตั้งเครื่องเป่าลมเย็นภายในห้อง ควรติดอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก ใต้เครื่องปรับอากาศไม่ควรมีตู้หรือเฟอร์นิเจอร์รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดอื่นใดวางเกะกะข้างล่างเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงตัวเครื่องเพื่อถอดตะแกรงกรองฝุ่นไปทำความสะอาด รวมถึงไม่เกิดเหตุไฟซ๊อต-ไฟดูดจากน้ำหยดลงเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ไปบังหรือขวางทิศทางลมเย็นจากเครื่อง ทิศทางลมที่เป่าจากตัวเครื่องควรอยู่ในทิศทางที่ตั้งฉากกับเตียง (พัดขวางลำตัวเวลานอน) และค่อนมาตรงกลางลำตัวหรือไปทางเท้า ไม่ควรให้ทิศทางลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าลมเย็นสวนจากปลายเท้าขึ้นมาทางศีรษะซึ่งเวลาเรานอนลมเย็นจะพัดสวนเข้าจมูกตลอด จะทำให้ระบบหายใจทำงานผิดปกติมีโอกาสเป็นหวัดเรื้อรังได้ง่าย

 
ภาพ: ตัวอย่างทิศทางลมจากเครื่องปรับอากาศ ที่ควรเป่าขวางลำตัว   


ภาพ: ตัวอย่างทิศทางลมจากเครื่องปรับอากาศ ที่เป่าสวนขึ้นจมูก อาจทำให้เป็นหวัดและไม่สบายบ่อยๆ         

 อีกเรื่องที่สำคัญคือ ทุกครั้งขณะที่เครื่องทำความเย็นภายในห้องทำงาน จะมีไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำลงมาที่ถาดรองในตัวเครื่องเป่าลมเย็น ซึ่งถ้าตำแหน่งติดตั้งตัวเครื่องตรงกับภายนอกบ้านก็จะทำให้สะดวกต่อ   การเจาะผนังยื่นท่อระบายน้ำทิ้งออกไปภายนอกได้สะดวก หรือไม่ก็ควรจะอยู่ใกล้กับระเบียง หรือใกล้กับห้องน้ำ เพื่อที่จะได้สามารถเดินท่อน้ำทิ้งไปยังบริเวณดังกล่าวได้ และที่สำคัญที่สุดคือ อย่าเอาแต่เปิดใช้งานอย่างเดียว ควรถอดแผ่นกรองฝุ่นมาดูดทำความสะอาดทุกๆ 1-2 เดือนเพื่อสุขภาพอนามัย และช่วยให้ตะแกรงดักฝุ่นไม่อุดตัน เครื่องจะได้ไม่ทำงานหนักจนเกินไป
 
        สำหรับตัวเครื่องระบายความร้อนที่ติดตั้งไว้นอกตัวอาคาร ควรให้ระยะทางการเดินท่อจากตัวเครื่องระบายความร้อนถึงเครื่องทำความเย็นภายในห้องไม่เกินระยะที่กำหนดไว้ (ประมาณ 12-20 ม.แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อ) เพื่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำยาสามารถสูบฉีดได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีตัวเครื่องระบายความร้อนติดกับผนังอาคารให้ติดตั้งบนชุดแขวนรองด้วยลูกยางในจุดที่ไม่เกิดการสั่นสะเทือนเวลาเปิดเครื่อง

 
ภาพ: เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะมีเครื่องเป่าลมเย็นภายในห้อง และ เครื่องระบายความร้อนนอกห้อง
ขอขอบคุณภาพ: บ้านคุณเกด-เจษฎ์สุภา พิพัฒนสุภรณ์ และคุณจี๊ป-ปริญญา ณรงค์ธนรัฐ       

  การเลือกติดตั้งชุดอุปกรณ์ขาแขวนกับบริเวณที่เป็นแนวคานเพื่อลดเสียงสะเทือนขณะที่เครื่องทำงาน จะดีกว่าการยึดติดกับผนังเฉยๆ ซึ่งจะเกิดเสียงจากการทำงานมากกว่า หรือไม่ก็วางกับพื้นระเบียงที่ควรยึดตัวเครื่องอย่างแน่นหนากับแท่นเครื่องด้วยยางรองแท่นเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงลง จะได้ไม่รบกวนการนอนหลับของเราเวลาที่ปั๊มหรือพัดลมทำงาน เท่านี้ก็จะได้อยู่เย็นนอนสบายกันทั้งคืน
 
        สุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุด คือ อย่าลืมยกเบรคเกอร์ลงปิดระบบการทำงาน (ที่ทางร้านติดตั้งมาให้ด้วย) ทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพราะถ้าปิดเครื่องด้วยรีโมทอย่างเดียว ตัวระบบทั้งหมดยังอยู่ในโหมด Standby (พร้อมทำงานตลอดเวลา) นั่นคือท่านเสียเงินค่าไฟฟ้าที่ไฟเลี้ยงเครื่องในขณะที่ไม่ใช้งานโดยไม่จำเป็น
 
 
 ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล:
 http://www.candleair.com
 http://easyairservice.files.wordpress.com
http://www.scgbuildingmaterials.com/th/HomeConsult/Blog/improve-care/Air-Conditioner-and-Bedroom.aspx
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พฤศจิกายน 2017, 22:14:13 โดย Master »