ผู้เขียน หัวข้อ: คาปาซิเตอร์แบบสตาร์ต และ คาปาซิเตอร์แบบรัน  (อ่าน 1238 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด


คาปาซิเตอร์แบบสตาร์ต ใช้ในวงจรที่ต่อมอเตอร์แบบ CSIR เช่นที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กไม่เกิน 3/4 แรงม้า และแบบ CSR ที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ถึง 5 แรงม้า ออกแบบมาสำหรับการใช้งานเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1-3 วินาที จึงต้องต่อผ่านหน้าสัมผัสของรีเลย์เพื่อตัดคาปาซิเตอร์ออกจากวงจร หลังจากมอเตอร์สตาร์ต และมีความเร็วสูงถึงประมาณ 75% ของความเร็วรอบปกติ เนื่องจากต่ออนุกรมกับหน้าสัมผัสของรีเลย์ ขณะทำงานจึงมีโอกาสเกิดประกายไฟที่หน้าสัมผัสทำให้เกิดการเสียหายที่หน้าสัมผัสของรีเลย์จึงมักจะต่อตัวต้านทาน (resistor) ขนาด 15,000 โอห์ม – 18,000 โอห์ม 2 วัตต์ คร่อมระหว่างขั้วทั้งสองของคาปาซิเตอร์ การเลือกใช้คาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตจะต้องเลือกค่าความจุตามที่กำหนดให้เหมาะสมกับขนาดของคอมเพรสเซอร์




คาปาซิเตอร์แบบรัน ใช้ในวงจรที่ต่อมอเตอร์แบบ PSC และ CSR โดยการต่อวงจรจะต่อคาปาซิเตอร์อนุกรมกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ และจะทำงานตลอดเวลา ทั้งช่วงเริ่มต้น และช่วงทำงานปกติ โดยไม่มีรีเลย์ตัดคาปาซิเตอร์ออกจากวงจร ขนาดจะบอกความจุเป็นไมโครฟารัด (MFD) การเลือกใช้จะต้องมีความจุไม่เกิน 10% ของค่าที่กำหนด เพราะถ้ามีความจุมากเกินกว่ากำหนด จะทำให้กระแสผ่านมอเตอร์มาก และเกิดความร้อนในขดลวดสูง การตรวจเช็กคาปาซิเตอร์ทำได้โดยใช้โอห์มมิเตอร์

คาปาซิเตอร์แบบรัน นอกจากจะใช้กับมอเตอร์คอมเพรสเวอร์แล้ว ยังใช้กับมอเตอร์พัดลมที่ต่อวงจรแบบ PSC ด้วย ขั้วต่อใช้งานของคาปาซิเตอร์ปกติจะมี 2 ขั้ว แต่มีบางรุ่นจะมีขนาดความจุ 2 ค่าอยู่ในคาปาซิเตอร์ตัวเดียวกัน คาปาวิเตอร์แบบนี้จะมีขั้วต่อ 3 ขั้วหลักดังรูปที่ 8.7 การต่อใช้งานต้องพิจารณาที่แผ่นบอกรายละเอียด (name plate) เช่น คาปาซิเตอร์ตัวอน่างบอกขนาดความจุ 20/5 MFD การใช้งานจะต่อคาปาซิเตอร์ความจุ 20 MFD สำหรับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และความจุ 5 MFD สำหรับมอเตอร์พัดลม

 
ที่มา: http://www.thaiaircare.com/article/1206/