ปัญหาเรื่องน้ำหยดกับเครื่องปรับอากาศ เป็นเรื่องที่หนีกันไม่ค่อยจะพ้น เพราะเครื่องปรับอากาศเป็นของเย็นและเมืองไทยเป็นเมืองร้อนชื้น เมื่อของเย็นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนชื้น ก็มักจะเกิดการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศได้ง่ายและมีปริมาณมาก เราลองมาดูซิว่า น้ำหยดจากเครื่องปรับอากาศรวมทั้งระบบปรับอากาศ หรือชาวบ้านเรียกว่าแอร์ที่พบกันบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง
1. เนื่องจากเข้าใจผิด
สาเหตุที่พบบ่อยมาก น้ำหยดจากสาเหตุอื่น เช่น ท่อรั่ว, หลังคารั่ว แล้วเหมาเอาว่าเป็นเพราะแอร์
วิธีแก้ปัญหาหรือครับ ก็ต้องซ่อมท่อหรือหลังคาที่รั่วนั่นซิครับ
2. ท่อน้ำทิ้งหรือถาดน้ำทิ้งสกปรก
โดยปกติจะมีน้ำที่กลั่นตัวจากไอน้ำในอากาศที่คอยล์เย็นอยู่ตลอดเวลาในขณะที่เครื่องแอร์ทำงาน ดังนั้นในเครื่องแอร์ทุกเครื่องจึงต้องมีถาดรับน้ำที่ว่านี้ เรียกว่าถาดน้ำทิ้ง และมีท่อต่อจากถาดน้ำทิ้งเพื่อให้น้ำไหลทิ้งออกไปนอกห้อง ทีนี้ถ้าถาดสกปรกหรือท่อน้ำทิ้งสกปรก ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ก็อาจจะล้นและหยดลงมาได้หรือไม่ล้นแต่ไหลช้า ก็ยังจะมีปัญหาเรื่องน้ำเกาะรอบ ๆ ถาด รอบ ๆ ท่อเนื่องจากน้ำทิ้งจากเครื่องแอร์ โดยปกติยังเย็นอยู่ (อุณหภูมิประมาณ )
วีธีแก้ปัญหาคือ ทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง
3. ท่อน้ำทิ้งลาดเอียงไม่พอหรือเดินท่อน้ำทิ้งยาว ๆ
ปัญหาเกิดขึ้นเพราะน้ำทิ้งไหลไม่สะดวก จึงทำให้ไอน้ำในอากาศรอบ ๆ ท่อน้ำทิ้งมากลั่นตัวจับอยู่รอบ ๆ ท่อเหมือนข้อ 2
วิธีแก้ปัญหาก็คือ เดินให้ท่อลาดเอียงมากขึ้น หรือถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้ฉนวนมาหุ้มท่อน้ำทิ้งเสีย โดยทั่วไปใช้ Aeroflex หนา นิ้ว ก็มักจะพอ
4. ฉนวนหุ้มเครื่องแอร์เสื่อม
ถ้าเครื่องแอร์เก่าและแนวนที่หุ้มอยู่ที่เครื่องเสื่อมละก็ น้ำจะหยดที่ตัวเครื่องแอร์เลยทีเดียว
วิธีแก้ปัญหาก็คือ ซ่อมฉนวนหุ้มเครื่องแอร์เสียใหม่ ใช้ Aeroflex แบบแผ่นก็สะดวกดี
5. ฉนวนหุ้มท่อลมเสื่อมหรือฉีกขาด
ปัญหานี้เกิดเฉพาะกับระบบที่การส่งลมเย็นใช้วิธีเดินท่อลม และจะเกิดเฉพาะในกรณีที่ท่อลมเดินภายในบริเวณผิวเพดานที่ไม่มีอากาศถ่ายเท และมักจะเกิดกับท่อลมบริเวณใกล้ ๆ เครื่องแอร์ เพราะลมในท่อเพิ่งออกจากเครื่องแบะยังเย็นอยู่มาก (อุณหภูมิประมาณ ) เมื่อฉนวนหุ้มท่อเสื่อมหรือฉีกขาด ก็จะมีไอน้ำในอากาศรอบ ๆ มกลั่นตัวและเกาะกับท่อลมได้ เมื่อเกาะมาก ๆ เข้าก็หยดลงมา
วิธีแก้ปัญหาก็คือ ซ่อมฉนวนหุ้มท่อลมเสียใหม่ ใช้ไมโครไฟเบอร์หุ้มก็สะดวกเหมือนกัน
6. ฉนวนหุ้มห่อท่อน้ำเย็นมีปัญหา
ปัญหานี้เกิดเฉพาะกับระบบปรับอากาศที่ใช้ระบบทำน้ำเย็นหมุนเวียน (เหมือนทีใช้ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ทั้งหลาย) และเป็นปัญหาที่ใหญ่นักหนาสำหรับระบบทำน้ำเย็นหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเมืองไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารที่สร้างติดชายทะเล “ทำไมหรือครับ” เพราะระบบปรับอากาศที่ใช้น้ำเย็นเป็นสื่อกลางในการทำความเย็น จะใช้ท่อส่งน้ำเย็นไปยังเครื่องส่งลมเย็นทั่วไปในอาคาร น้ำเย็นในท่อจะมีอุณหภูมิประมาณ ซึ่งแน่นอนจะต้องมีฉนวนหุ้มห่อ ไม่เช่นนั้นก็จะมีน้ำมาเกาะรอบท่อ และหยดลงมาในที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัยถึงจะใช้ฉนวนหุ้มแล้วก็เถอะ ถ้าท่อเกิดไปเดินในบริเวณที่มีความชื้นสูงมาก ๆ เช่น บริเวณใกล้ห้องซักรีด, เพาดานที่อับชื้น, หรืออยู่ใกล้ชายทะเล, หรือในขณะที่อากาศมีความชื้นสูง เช่น เมื่อเวลาใกล้ฝนตก, หรือเมื่อเวลามีน้ำท่วมขังอยู่โดยรอบ (ตอนที่น้ำท่วมกทม. ยังไงครับ) ปัญหาเรื่องน้ำหยดจากท่อน้ำเย็น ถึงจะหุ้มฉนวนแล้วก็ยังอาจจะมีอยู่
วิธีแก้ปัญหาก็คือ หุ้มฉนวนโดยใช้ความหนาของฉนวนให้ถูกต้องตามขนาดท่อ ตามคำแนะนำของผู้ผลิตฉนวน (ดูในคู่มือวิศวกรรมที่จัดพิมพ์โดยทีมงานวารสารเทคนิคนั่นแหละ) โดยต้องระวังให้มากที่รอยต่อฉนวนจะต้องทากาวให้ทั่วและต่อกันให้สนิท, ระวังไม่ให้ฉนวนยุบมากตรงบริเวณเหล็กหิ้วท่อ (ถ้าใช้ไม้รองในบริเวณนี้ จะต้องใช้ไม้ที่อบแห้งสนิท และรอยต่อระหว่างไม้กับฉนวนต้องทากาวให้สนิทและควรมีฉนวนยางบาง ๆ หุ้มรอบไม้และรอยต่ออีกชั้นหนึ่ง), อย่าให้มีส่วนของโลหะ เช่น วาล์วโผล่ออกมาโดยไม่มีฉนวนหุ้ม, ฉนวนจะต้องมีขนาดพอเหมาะกับท่อ และไม่มีช่องว่างอากาศระหว่างฉนวนและท่อ, และถ้าเกิดต้องเดินท่อในบริเวณที่วิกฤติจริง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้พยายามจัดให้มีการระบายหรือการถ่ายเทของอากาศในบริเวณนั้น
ถ้าสามารถเดินท่อน้ำเย็นในบริเวณที่มีการปรับอากาศละก็ วิเศษสุดเพราะในบริเวณดังกล่าจะมีความชื้นต่ำ และมักจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหยดอย่างที่ว่านี้
ที่มา:
http://www.thaiaircare.com/article/1488/