ผู้เขียน หัวข้อ: การเช็คน้ำยาแอร์ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อของการใช้และบำรุงเครื่องปรับอากาศ  (อ่าน 1030 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
        การเช็คน้ำยาแอร์ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อของการใช้และบำรุงเครื่องปรับอากาศ ที่แม้คุณจะไม่ใช่ช่างแอร์หรือคนที่มีความเชี่ยวชาญก็ตามที ซึ่งก็ควรที่จะทราบว่าถึงการทำงานของระบบและการเติมน้ำยาแอร์ที่ถูกต้อง

 1. วิธีการวัดน้ำยาแอร์ที่เติมวิธีแรก   ในการเติมน้ำยาแอร์แต่ละครั้งที่สำคัญ ควรที่จะต้องช่างน้ำหนักของถังน้ำยาแอร์ก่อนและหลังการเติมน้ำยาแอร์ เพื่อหาน้ำหนักของแอร์ที่หายไปเพื่อเปรียบเทียบปริมาณของน้ำยาที่เติมไปเพื่อความแม่นยำ

 2. วิธีการวัดน้ำยาแอร์ที่เติมวิธีที่สอง  การใช้กระบอกเติมน้ำยาแอร์เพื่อบอกปริมาณน้ำยาแอร์ที่เหลือในถังน้ำยา ซึ่งจำเป็นต้องจดปริมาณของน้ำยาแอร์เอาไว้ด้วย

 3. วิธีการวัดน้ำยาแอร์ที่เติมวิธีที่สาม  การตรวจสอบน้ำยาแอร์โดยการอ่านจากกระแสไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ เพื่อเปรียบเทียบพิกัดของกระแสไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ร่วมกับขณะที่เติมน้ำยาแอร์และจะหยุดเติมเมื่อกระแสไฟฟ้าเท่ากับพิกัดของกระแสไฟฟ้าที่พอเหมาะ

 วิธีการเติมน้ำยาแอร์นั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภทซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

  การเติมน้ำยาแอร์เข้าสู่ทางดูดของ Compressor หรือเรียกว่าการบรรจุน้ำยาแอร์ทางแรงดันต่ำ ซึ่งจะอยู่ในรูปของก๊าซ       



เมื่อได้ไล่อากาศออกจากท่อน้ำยาแอร์แล้ว จะทำการปลดสายล่างของมาตรวัดออกจากเครื่องปั๊มสุญญากาศและต่อเข้ากับท่อน้ำยาแอร์ จากนั้นเปิดวาล์วเติมน้ำยาเข้าไปประมาณ 120-150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หลังจากนั้นเปิดสวิทช์ให้ทั้งชุดอีวาปอเรเตอร์และชุดคอนเดนซิ่งทำงาน แล้วจึงเริ่มเติมน้ำยาแอร์เข้าสู่ระบบเพื่อให้เครื่องทำงาน ปล่อยให้เครื่องทำงานอย่างน้อย 20 นาทีแล้วจึงเริ่มอ่านค่าความดันจากมาตรวัดความดันน้ำยาแอร์ทั้งสองด้าน อ่านความดันจากด้านดูดให้ได้ประมาณ 60-75 ปอนด์ต่อตารางนิ้วและด้านส่งควรประมาณ 250-275 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งหมายความว่ามีน้ำยาแอร์มีความดันเพียงพอแล้ว


  การเติมน้ำยาแอร์เข้าทางท่อของเหลว



เมื่อไล่อากาศออกไปจากท่อแล้ว ให้ถอดปลายสายล่างของมาตรวัดแรงดันน้ำยาแอร์ออกจากเครื่องปั๊มอากาศ และต่อท่อเข้ากับท่อน้ำยาแอร์ ตรวจสอบน้ำหนักแอร์ก่อนเติมน้ำยาแอร์โดยถังน้ำยาแอร์บนเตาชั่ง เปิดวาล์วท่อน้ำยา ใช้น้ำยาแอร์ไล่อากาศที่ติดค้างในสายกลางของมาตรวัดแรงดันสารทำความเย็น ปล่อยให้น้ำยาจากท่อไล่อากาศออกไป จากนั้นปิดวาล์วท่อน้ำยาแอร์และเปิดวาล์วท่อน้ำยาแอร์ในสถานะของเหลว เมื่อน้ำยาแอร์เติมได้ตามที่กำหนดแล้วทำการปิดวาล์วและทดลองเดินเครื่องทำความเย็น ตรวจค่ากระแสไฟฟ้าจากแอมป์มิเตอร์ ความดันด้านดูดควรจะอยู่ประมาณ 60-75 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ความดันด้านส่งควรจะเป็น 250- 275 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เมื่อความดันและกระแสได้ค่าตามที่ระบุเอาไว้แล้วแสดงว่าน้ำยาแอร์เติมเต็มแล้วและมีปริมาณเพียงพอ

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%87%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b6%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤศจิกายน 2017, 14:57:18 โดย Master »