เมื่อเช้าอ่านข่าว คอมเพลสเซอร์แอร์ ระเบิด ทำให้ช่างแอร์ เสียชีวิต
ผมเห็นข่าวหลายครั้ง คอมเพลสเซอร์แอร์ระเบิด
ผมสงสัย มันระเบิดได้อย่างไร ????
พี่ชายผมเป็นช่างแอร์มากว่า 20 ปี ยังไม่เคยเจอเหตการณ์ "คอมเพลสเซอร์ระเบิด"
น้ำยา ที่ใช้เติมแอร์ คือ Chloro Fluoro Carbons เป็นของเหลวจุดเดือดต่ำ
ไม่มีกลิน ไม่เป็นพิษ (ยกเว้นดื่ม หรือกระเด็นเข้าตา) ที่สำคัญ มันไม่ติดไฟ
และน้ำยา ล้างแอร์ ทำความสะอาดภายใน คอมเพลสเซอร์
คือ น้ำยา F11 ก็เป็นสารไม่ติดไฟ เช่นกัน
บางครั้ง สมัยก่อน คอมโรตารี่ เมื่อ มันเสีย จะเอาคอมมาผ่า พันไดใหม่
และใช้น้ำยา ล้าง
การไล่ตรวจเช็ครอยรั่ว ก็ใช้ก๊าส ไนโตรเจน ก็ไม่ติดไฟ เช่นกัน..
กรณี คอมฯ แอร์ระเบิด ผมสัญนิฐานว่า
ช่างมักง่าย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และต้องการ ประหยัด
บางครั้ง ใช้ น้ำมันก๊าด หรือ เบนซิน ล้างแอร์....
แล้วเชื่อมด้วยก๊าส ต่อท่อ จึงเหตุการณ์ ระเบิดขึ้น
หรือเผลอๆ อัดก๊าซ อ๊อกซิเจน เพื่อตรวจเช็ครอยรั่ว ซึ่งอันตรายมาก
บางคนเอาอ๊อกซิเจนต่อสายเพื่อใช้กับอุปกรณ์ลม เช่นบล๊อกลมขันน๊อต เกิดไฟลุกไหม้ลวกคนที่ใช้งาน
บางคนไม่รู้ เร็กกูเรเตอร์ปรับแรงดันตัน ถอดออกเอาน้ำมันล้าง ล้างเสร็จประกอบเข้าไป เปิดวาล์ว ไฟลุกไหม้ทั้งตัว
ช่างแอร์บางคน ชอบประหยัดน้ำยาแอร์โดย เวลาจะย้ายแอร์ เขาจะปิดวาล์วด้านขาออกของระบบแอร์ แล้วเดินเครื่องให้น้ำยาแอร์กลับเข้ามาเก็บใว้ในคอมเพรสเซอร์ ถ้ากะจังหวะเวลาไม่พอดี ก็ระเบิดได้เหมือนกัน
KRUEAK Article
ทรรศนะของครูเอก
ครูเอกอยากจะบอกจริงๆว่าไอ้การระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นตามปกติมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะระเบิดกันนะครับ ก่อนอื่นเราต้องรู้จักแอร์ก่อนแอร์ในบ้านเราที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่คือแอร์แบบแยกส่วน(split type)ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักด้วยกันคือ คอล์ยเย็น(ไม่ใช่ส่วนที่ระเบิดไม่ขอพูดถึง) คอล์ยร้อน(condensing unit)เป็นส่วนที่เกิดระเบิดขึ้นเป็นประจำก็ต้องมาดูว่ามีอะไรอยู่บ้าง ในส่วนของทางกลจะประกอบด้วย คอมเพรสเซอร์ที่เป็นตัวดูดและอัดน้ำยา และคอนเดนเซอร์คือส่วนที่เป็นรังผึ้งสำหรับระบายความร้อนและรับแรงดันสูงประมาณ 250 ปอนด์ต่อตารางนิ้วนับว่าเป็นแรงดันที่สูงมากแต่ตามปกติแล้วการออกแบบเขาจะออกแบบมาให้ทนความดันได้อยู่แล้วครับ
อีทีนี้มันระเบิดได้อย่างไรอ่านข้อความที่ครูเน้นไว้ด้านบนนะครับ ช่างเขาใช้ออกซิเจน(O2)ในการตรวจหารอยรั่วพอเจอรอยรั่วแล้วก็จัดการเชื่อมปิดทั้งๆที่ทุกครั้งก็ทำแบบนี้แต่มันไม่ระเบิดแต่คราวนี้ระเบิดสามารถอธิบายได้อย่างนี้ครับ
ในคอนเดนซิ่งยูนิตที่มีส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์และคอนเดนเซอร์นั้นจะมีน้ำมันอยู่ครับ น้ำมันที่ว่านี้ก็คือน้ำมันที่ใช้หล่อลื่นคอมเพรสเซอร์และจะไหลไปตามท่อทั้งระบบตามธรรมชาติขึ้นชื่อว่าน้ำมันก็ต้องติดไฟ ผนวกกับอัดออกซิเจนเข้าไปตัวออกซิเจนนั้นไม่ติดไฟครับแต่ช่วยให้ไฟติด เมื่อเจอรูรั่วช่างก็เชื่อมปิดโดยใช้เปลวไฟที่มีความร้อนไม่น้อนกว่า 1000 องศา นึกดูนะครับน้ำมันติดไฟออกซิเจนช่วยให้ไฟติดไฟติดแล้วออกซิเจนโดนความร้อนสูงถึงจะมีรูระบายอากาศที่ขยายตัวก็ออกไม่ทัน(อันนี้เดาเอานะครับไม่ได้ถามคนที่โดนระเบิดเพราะไม่รู้จะถามยังไง)ก็ต้องนับพร้อมๆกันครับ............1..............2................3
........................................................ตูม..........................................
งานเข้า.....................แต่เป็นงานศพนะครับ
ข้อคิดควรจำในการตรวจรั่วระบบการทำความเย็นควรใช้ก็าซที่ไม่ขยายตัวเช่นไนโตรเจนตรวจจะดีกว่าครับ โชคดีร่ำรวย ไม่เจอระเบิดนะครับช่างแอร์
http://www.tatc.ac.th/external_newsblog.php?links=751
ช่างบางคนก้อเอาถังออกซิเจนไปเติมไนโตรเจนเพื่อใช้ตรวจเช็ครอยรั่ว
แต่บางทีสับสนหยิบถังออกซิเจนที่มีออกซิเจนมาโดยคิดว่าเป็นถังไนโตรเจน
สาเหตุแอร์ระเบิด แต่ตั้งเรียนมาจนจบ ทั้งตำราทั้งอาจารย์ ก็สอนมาเหมือนกันหมด
จบมาทำงาน ผู้รับเหมาก็พูดก็คุยกันตลอดเกือบทุกไซท์
มันมีเพียงสาเหตุเดียวก็คือ "เอาน้ำยากลับคืนถัง" เท่านั้น สาเหตุอื่นไม่เคยได้ยินเลย
ผู้รับเหมามือใหม่ใจถึงแต่ขัดสนเงินทุน ก็เลยพยายามจะเก็บตกน้ำยาที่ค้างอยู่ใน
ระบบกลับคืนถัง เมื่อ Vaccum แล้วก็หัวใส เอาท่อต่อกลับใส่ถังมันซะงั้น แรกๆ
ก็โชคดี ถังยังไม่เต็ม ก็ได้น้ำยากลับไปทำทุนต่อ แต่ถึงคราวเคราะห์มาเยือน
ปล่อยให้ลูกน้องแว็คฯไป เพลินไม่ได้ดูเกจขากลับเข้าถัง ด้วยแรงอัดจากเครือง
แว็คฯอันมหาศาล มันก็ระเบิดตายกันมานักต่อนักโดยเฉพาะลูกน้องนำเข้าจากพม่า
สาเหตุเท่าที่ทราบมา (ไม่ยืนยัน)
ช่างมักง่าย เอา ก๊าซ อ็อกซิเจน บริสุทธิ์จากชุดเครื่องเชื่อม
มาอัดระบบทำความเย็นเพื่อทดสอบการรั่ว
ซึ่งปกติจะใช้ไนโตรเจนที่เป็นก๊าซเฉื่อย
ความดันสูง ภายใต้สภาวะอ็อกซิเจนสูง น้ำมันคอมเพรสเซอร์ก็เกิดการลุกไหม้อย่างรวดเร็ว แล้วก็ระเบิด
ลองไปดูฉลาก อุปกรณ์ของก๊าซอ็อกซิเจน ปกติจะบอกไว้ว่า "use no oil"
คือห้ามใช้น้ำมันในอุปกรณ์
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นปัญหาคือ
น้ำยาแอร์ พวกเพิ่มประสิทธิภาพทำความเย็น
จะมีส่วนผสมของก๊าซหุงต้ม (LPG) ก็เพิ่มความอันตรายเข้าไปอีก
จะใช้ก็ระวังไว้หน่อย
ส่วนการะเบิดตอนมันทำงาน นี่น่าจะหาได้น้อยมากๆ แต่ก็น่าจะมี
จำไว้เลยครับว่า
ของอะไรที่มีความดันย่อมระเบิดได้
ส่วนแอร์เสียงดัง บอกเค้าว่าเปลี่ยนลูกปืนพัดลม ก็หายแล้วครับ
เคยเกิดเหตุคอมระเบิดใกล้บ้านผม จากคำบอกเล่าของลูกมือช่าง บอกชื่อมระบบ เติมน้ำยาเสร็จ ปรากฏพบรอยรั่วซึมบริเวณคอมเพรสเซอร์ จึงใช้เครื่องเชื่อมเชื่อมปิดรอยรั่วทั้งที่มีน้ำยาอยู่ในระบบ ความร้อนจากเครื่องเชื่อม ทำให้ความดันของน้ำยาฟรีออน เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ จนถึงจุดที่เกินความสามารถของเปลือกคอมเพรศเซอร์จะรับไหว จึงเกิดระเบิด แรงระเบิดขนาดฉีกเปลือกคอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นเหล็กกล้าที่มีความหนาร่วม 2 เซนติเมตรรุ่งริ่ง ช่างแอร์เสียชีวิต
อีกกรณีหนึ่ง ช่างซ่อมตู้เย็นเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ เปลี่ยนไดร์เออร์ที่มีที่มีหางต่อเกจด้านความดันสูง ใช้คีมบีบท่อเชื่อมปิดหาง ไม่รู้เชื่อมท่าไหน ไดร์เออร์ระเบิดแตกออก กระเด็นเข้าตาช่าง เป็นผลให้ช่างตาบอดไปเลย
นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง
การอุดตันในท่อด้านความดันสูง สามารถทำให้เกิดแรงดันสุงจน ตัว comp. ระเบิดออกได้ครับ
การที่ระบายความร้อนออกจาก ฝั่งคอลย์ร้อน (ขอเรียกภาษาไทยนะ สะกดeng.ไม่ถูก เดี๋ยวจะพางงซะเปล่าๆ) ไม่ทันก็เป็นผลให้ แรงดันสูงเกินไปได้ครับ
การอุดตัวของ วาวล์ฉีดน้ำยาก็ด้วย ทำให้แรงดันสูงขึ้นได้เช่นกัน
ส่วนเรื่อง สารทำความเย็น จำพวก hc เนี่ย ไม่ได้เป้นตัวการทำให้ระเบิดนะครับ ในสภาวะ แบบนั้น มันระเบิดไม่ได้ .. ความเข้มข้นสูงเกินไป ต้องรั่วออกมาก่อนอันนี้อาจจะระเบิดได้ แต่แค่อาจจะ ความเป็นไปได้ ต่ำมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มากจริงๆ
การระเบิดของ คอม ร้อยละร้อย เกิดจากแรงดัน ทั้งนั้น + กับจุดอ่อน ของตัว คอม เอง. ทนแรงดันไม่ไหว ระเบิดออกมา
ปล. ในระบบแอร์บ้าน ใช้น้ำยา h 22 ไม่ใช้ ฟรีออน
ปล. 2 ไดเออร์ เป้นตัวเก้บความชื้นในระบบน้ำยาอแอร์ โดนความร้อนสูงๆ น้ำเดือน เกิดแรงดัน ระเบิดได้
ถ้ามีปัญหาแรงดันเกินในระบบแอร์ ให้ไล่ ตั้งแต่ ทางเดิน ระบบตั้งแต่ออกจากคอมไป จนถึง expand. วาวล์เลยครับ.. ปัญหา อยู่ระหว่างทางตรงนี้แหละ
ส่วนเรื่องเสียงแอร์ดัง ส่วนมากเป็นเสียง พัดลม เป่า คอยล์ร้อนครับ
วิธีแก้จากง่ายไป ยากก็
ฉีกด้วยโซแน็ก ยัน ถอดเปลี่ยนน่ะครับ..
ถอดเปลี่ยน พัดลมนี่ต้องให้ได้ ขนาดเดิม รึ พอดี กับช่องลม ออกน่ะครับ.. ยิ่งระยะห่าง จากขอบน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดี ความเร็วรอบ อัตรา ดึงลมต้องดีกว่าเดิมไม่งั้น ก็ จะมีปัญหา การระบายความร้อนเหมือนกัน ทำให้แรงดันสุงได้อีกนั่นแหละ
ที่มา:
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X11926697/X11926697.htmlhttp://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X5855111/X5855111.html