คำเตือน ไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า และระบบแอร์ อย่าพยายามทำเอง เพราะอันตรายจาก ไฟฟ้าดูด และแรงดันน้ำยาแอร์สูง
ซื้อบ้านมือ2 อายุ 15 ปี ราคาถูก .. มีแอร์ 4 ตัว ไม่ทำงานทั้ง 4 ตัว แอร์แต่ละตัวอายุประมาณ 5, 5, 15, 15 ปี
คือบ้านนี้ไม่มีคนอยู่ 2-3 ปีแล้ว
ตามช่างมาประเมิน บอกว่า แอร์มันหมดสภาพแล้วพี่ เทิร์นเครื่องละ 500 บาท ค่ารื้อ และเอาแอร์ใหม่เย็นๆไป (ว่างั้น)
ผมคิดไปคิดมา คร่าวๆต้องซื้อแอร์ใหม่ 30000+20000+15000+15000 = 80000-2000 = 78000 บาท ก็เป็นเงินไม่น้อย
ไหนจะต้องซ่อมบ้านโน่นนี่นั่นปรับปรุงทุกอย่าง น่าจะใข้เงินอีกไม่น้อย เพราะเงินก็หมดไปกับการโอนบ้านผ่อนกับธนาคาร
จึงยังขอผลัดช่างออกไปก่อน จ่ายค่าน้ำมูกน้ำมันไป
จึงขอลองซ่อมเองสักตั้ง ด้วยความรู้ไฟฟ้าแบบงูๆปลาๆ
(สมัยเรียน ปวชไฟฟ้า,ว.เทคนิค 25ปีที่แล้ว ลืมๆหมด แอร์ก็เรียนมา ตัด งอ ท่อ บานแฟร์ เชื่อม แว็ก เติมน้ำยา ซ่อม ก็เคยเรียนปฏิบัติ แต่ลืมหมด 25ปีแล่ว)
เริ่มจากซื้อของ
Manifold Gauge 890 บาท
น้ำยา R22 1490 บาท
Clamp on meter 350 บาท ... แบบธรรมดาไปก่อนมือยังสมัครเล่น
รวม 2730 บาท
(ตอนปลด Manifold Gauge ระวังหน่อย ตะขอมันจะไปโดนใบพัด
จำเลือนๆได้ว่ามือซ้ายดัน มิอขวาคลาย ได้ที่ดึงออกเลย)
เคส 1 Amera 24000 BTU อายุ 15ปี ... Cooling Unit ปรกติ แต่ Condensing Unit ไม่ทำงาน
(แอร์เก่าๆ สมัยรุ่นพระเจ้าเหา ชอบเอา relay ไว้ที่ Condensing Unit)
ตรวจพบ สัญญาณมา แต่ Magnatic Relay ไม่ทำงาน สัญญาณมา (Coil ขาด) – ซื้อเปลี่ยน 150 บาท ทำงาน
แต่ไม่เย็นฉ่ำ ตรวจพบ น้ำยาขาด แรงดัน 52psi (Suction service Valve) – ทำการเติมเข้าไป 77-80 psi (ท่อน้ำยายาวไปหน่อย ไม่นิ่ง สวิงนิดหน่อย พอได้)
พร้อมวัดกระแสที่ Condensing Unit ให้ได้ตาม Spec ที่ติดไว้ข้างเครื่อง 9A = 8.7-9.0A
ผลคือ ทำงานและเย็นปรกติ จบไป 1 เคส ประหยัดเงินค่าแอร์ใหม่ ไป 30000 บาท
เดี๋ยวมาเล่าต่อเคสที่ 2 ครับ
เพิ่ม ...
เคสที่ 2 Toshiba 9000 BTU อายุ 15 ปี อาการเสีย ไฟเข้า แต่ไม่ทำงาน
ตรวจ พบว่าไฟ Power เข้าเครื่อง แต่กด Remote ไม่ทำงาน
เปิดฝา Cooling Unit และกดปุ่ม On/oFF แบบ Manual …
พัดลม Cooling Unit ทำงาน .. สักพัก Condenser Unit ทำงาน โชกดี รอดตัวไป ... แต่ความเย็นไม่ดี
แก้ไข ซื้อรีโหมด แบบ Universal All in One 1000 ราคา 100 บาท ใช้ Code 979 ทำงานได้เลยครับ
น้ำยาขาด แรงดัน 48 psi (Suction service Valve) – ทำการเติมเข้าไป 78-80 psi
พร้อมวัดกระแสที่ Condensing Unit ให้ได้ตาม Spec ที่ติดไว้ข้างเครื่อง 3.5 A = 3.3-3.5A
+ ล้างแอร์เองเลย
ผลคือ ทำงานและเย็นปรกติ จบไป 2 เคส ประหยัดเงินค่าแอร์ใหม่ ไป 15000 บาท
เคสที่ 3 LG 12000 BTU อายุ 5 ปี ... ไม่ทำงาน ไฟที่ Power ไม่ติด
เปิดฝา Cooling Unit และกดปุม Manual On/Off ไม่มีการทำงานใดๆ .. ตรวจไฟเข้า ปรกติ
แกะรื้อชุด Cooling Unit เพื่อดู Control Board ... พบว่า ฟิวส์ที่ Control Board ขาด และพบ IC ระเบิด
งานนี้ ซ่อมบอร์ด ยากไป สั่งบอร์ดจาก ศูนย์ LG ตจว. 4 วัน .................. 790 บาท ... เปลี่ยนกลับ ใช้ได้
เช็กระบบน้ำยา ไม่รั่วแรงดัน 80-82 Psi กระแสได้ตาม Spec
+ ล้างแอร์เองเลย
ผลคือ ทำงานและเย็นปรกติ จบไป 3 เคส ประหยัดเงินค่าแอร์ใหม่ ไป 18000 บาท
ปล. แถวบ้านฝนตกฟ้าดุมาก คาดว่าเจอ Surge Voltage ..
แอร์ LG บอร์ดพังง่ายกว่ายี่ฮ่ออื่น นะครับ
เคสที่ 4 LG 18000 BTU อายุ 5 ปี ... ไม่ทำงาน ไฟที่ Power ไม่ติด อาการเดียวกันเลย
เปิดฝา Cooling Unit และกดปุม Manual On/Off ไม่มีการทำงานใดๆ .. ตรวจไฟเข้า ปรกติ
แกะรื้อชุด Cooling Unit เพื่อดู Control Board ... ไม่พบสิ่งผิดปรกติ ฟิวส์ไม่ขาด IC ไม่ระเบิด แต่เห็น Diode และ R ไหม้
งานนี้ ซ่อมบอร์ด ยากไป สั่งบอร์ดจาก ศูนย์ LG ตจว. 4 วัน .................. 1090 บาท ... เปลี่ยนกลับ ใช้ได้
เช็กระบบน้ำยา รั่วนิดหน่อย แรงดัน 72 Psi เติมกลับ 78-80 Psi … เช็คกระแสได้ตาม Spec
ผลคือ ทำงานและเย็นปรกติ จบไป 4 เคส ประหยัดเงินค่าแอร์ใหม่ ไป 20000 กว่า บาท
ปล. แถวบ้านฝนตกฟ้าดุมาก คาดว่าเจอ Surge Voltage ..
แอร์ LG บอร์ดพังง่ายกว่ายี่ฮ่ออื่น นะครับ แก้ไข ไปซื้อ Varister ตัวละ 15 บาท ป้องกันฟ้าผ่า มาต่อในระบบไฟบ้าน 5 ตัว ต่อขนาน ตามปลั๊กทั่วทั้งหลัง
ก่อนหน้า ที่บ้านเดิม ฟ้าลง tv LG พัง ซ่อมไป 6000 บาท ได้โอกาศติด Varister อีก 5 ตัวซะเลย รวม 10 ตัว หวังว่าน่าจะรอด
รายละเอียด การตรวจซ่อม และวิธีเติมน้ำยาแอร์ มีเวลาจะมาเขียนให้ดูชมกันครับ ขอบคุณที่ติดตาม
แก้ไขแถมเรื่อง Varistor เพื่อป้องกัน
Surge Voltage ในระบบไฟฟ้า เนื่องจากฟ้าผ่า อีกเลย ...
.. บ้านผมเป็นบ้านแบบเก่า ตจว. 2 เส้น L N ไม่มีสาย กราวนด์ ...... แต่ผมจะตอก Ground Rod กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆ
.. 1. วงจรการต่อ Varistor ระบบไฟบ้านแบบเก่า (ที่มีปลั๊ก 2 รู) L N
2. วงจรการต่อ Varistor ระบบไฟบ้านแบบปัจจุบัน (ที่มีปลั๊ก 3 รู) L N G
สำคัญต้องผ่านฟิวส์ .. ส่วนบ้านอีกหลังหนึ่งใช้วิธี ซื้อปลั๊กมา และต่อ Varistor กับปลั๊กได้เลย ... จากนั้นนำปลั๊กไปเสียบตามจุดต่างๆของบ้าน 4-5 ตัว
สำคัญต้องผ่านฟิวส์ แบบรูป
.. การเลือก Varistor ใช้ 10D391K .... ราคา 15 บาท
ขนาด 10 มม. , กินไฟ 1 mA. ขณะปรกติ(น้อยมาก) ,
250VAC, Clampping 650VMax,
SurgeVoltage 8/20microSec 2500-3500 A(แล้วแต่ยี่ห้อ) ,
Energy 70 J ถ้าใครอยากใช้ใหญ่กว่านี้ก็ได้ 14D หรือ 20D ก็ยิ่งดี แต่ต้องจ่ายแพงกว่าหน่อย
http://www.setfuse.com/product/over-voltage-protection/metal-oxide-varistorsmov/sfv10d.html การต่อ ตามรูป
แนะนำ ซื้อปลั๊กแบบมีขั้วขันสกรูได้จะดีมาก
และสำคัญต้องผ่าน ฟิวส์ทุกครั้ง ลองทำดูครับ
ะวาริสเตอร์สามารถช็อตได้ตลอดเวลา ( เสียเองได้ไม่ยากครับ )
ถ้าวาริสเตอร์ซ็อต ก็เหมือนเอาสายไฟ L กับ N มาแตะกัน ระเบิด ไฟไหม้ได้ครับ
เพราะฉะนั้นการใช้วาริสเตอร์เป็นอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน ต้องใช้คู่กับ ฟิวส์ และต่อหลังฟิวส์เสมอ
เพราะเมื่อวาริสเตอร์ช็อต ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม ฟิวส์ก็จะขาดก่อน จึงปลอดภัยมากกว่า
เหมือนต่อ SPD ก็ต้องต่อหลังอุปกรณ์ป้องกันเสมอครับ
แล้วปกติ การอัดน้ำยาเค้าทำกันอย่างไรครับ แรงดันไม่เกิน มันระเบิดด้วยหรือครับ ?
โดยปกติแอร์เก่าเราไม่รู้ว่ามันรั่วหรือเปล่า จะเติมน้ำยาลงไป ถ้ามันรั่วก็เสียเปล่าไปพันกว่าบาทใช่ม่ะ ถ้าเราไม่รู้เรื่องเราจะทำยังไงถึงจะหารอยรั่วเจอ ถ้าเป็นช่างก็จะใช้ "ในโตรเจน" อัดเข้าถังเพื่อเช็ครอยรั่ว แต่หลายๆคนไม่ฉุกคิด บางที"อ๊อกซิเจน"หาได้ง่ายกว่าแล้ว ก็เอามาใช้แทน แต่อ๊อกซิเจนติดไฟ เวลามันโดนความร้อน มันจะขยายตัว แล้วถ้ามันไม่มีรูระบาย มันก็จะไปสะสมแรงดันเอาไว้ เมื่อมีมากพอมันก็ระเบิดได้นั่นเอ
ที่มา:
https://pantip.com/topic/36912949