ผู้เขียน หัวข้อ: จะซ่อมแอร์ ท่อน้ำยาเป็นหยดน้ำ ปรึกษาหน่อยครับ  (อ่าน 1706 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
แอร์ไม่เย็นครับ (ตอนนี้เปิด20 เหมือนไม่ได้เปิดเลย)  ปรึกษาหน่อยครับ

 -หากท่อแอร์รั่ว ค่าซ่อมประมานเท่าไหร่
 -ราคาน้ำยาคิดยังไง(เห็นช่างเติม20-30ต่อปอนด์)
 -หากเติมทั้งหมดจนเต็ม(มีคนบอกประมาน75ปอนด์)ราคาจะประมาณเท่าไหร่ครับ
 -หัวจ่ายน้ำยาแอร์(ทองเหลือง2หัว)มีหยดน้ำ จะเป็นปัญหาไหม
 -หากปล่อยไว้(เปิดแอร์ทั้งๆท่อรั่ว+น้ำยาแอร์หมด)จะมีปัญหาไหมครับ


 
 หัวจ่ายน้ำยาที่บอก (จริงๆคือท่อน้ำยา) ขออภัยความไม่รู้ด้วยครับ แหะๆ



ท่อน้ำยาที่ตัวนอกบ้าน(ที่ท่านบอกหัวจ่ายน้ำยา)เป็นหยดน้ำ..ปรกติครับ  ถ้าเป็นน้ำแข็งถึงจะผิดปรกติ
แอร์ท่านรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร  ขนาดกี่ตัน(กี่BTU)  -ขนาดห้องเท่าไหร่(กว้างxยาว)

1 -ราคาน้ำยาคิดยังไง(เห็นช่างเติม20-30ต่อปอนด์)
ans= แต่ละท้องที่ราคาไม่เท่ากัน ผมทำอยู่โคราช ท่อแตกรั่วหมดเลยคิด800.-  ถ้าแอร์ไม่รั่วไม่ซึม อยู่ได้เป็นสิบปีถึงจะเติม/ตรวจเช็ค เว้นแต่ช่างมาล้างในแต่ละครั้ง ตรวจเช็คน้ำยาให้แล้วขันฝาปิดไม่ดี ทำให้น้ำยาซึมออก
ถ้าไม่มีรอยรั่ว..เป็นไปไม่ได้ที่จะเติมน้ำยาเข้าไปในระบบความเย็น...ส่วนมากช่างลักไก่เติมเอง แจ้งท่านว่าน้ำยาขาด อย่างนู้นอย่างนี้ บางทีคอยล์ร้อนเปียกน้ำแล้วเช็คน้ำยา..มันไม่ได้เรื่องหรอกครับ.. คอยล์ร้อนเปียกแรงดันน้ำยามันจะลด

2 -หากเติมทั้งหมดจนเต็ม(มีคนบอกประมาน75ปอนด์)ราคาจะประมาณเท่าไหร่ครับ
ans =  อ่านข้อ1

3 -หัวจ่ายน้ำยาแอร์(ทองเหลือง2หัว)มีหยดน้ำ จะเป็นปัญหาไหม
ans = หัวจ่ายน้ำยา(หัวฉีดน้ำยา) จะซุกไว้ด้านในคอยล์ร้อน(ตัวนอกบ้าน) ท่านมองไม่เห็นหรอก ต้องเปิดฝาดู..ที่ท่านกล่าวไว้อาจเป็นท่อน้ำยา2ท่อ(ท่อเล็ก+ท่อใหญ่ มียางดำ/ยางขาวหุ้มไว้เป็นฉนวนกันความร้อนแล้วพันด้วยเทปพันท่อ)
เป็นหยดน้ำ ไม่เป็นปัญหาครับ..ถ้าเป็นน้ำแข็งถึงจะเป็นปัญหา


4 -หากปล่อยไว้(เปิดแอร์ทั้งๆท่อรั่ว+น้ำยาแอร์หมด)จะมีปัญหาไหมครับ
ans = ถ้าน้ำยารั่ว(รั่วไม่มาก รั่วซึมตามด) อันดับแรก เมื่อน้ำยาไม่พอเพียงในระบบ จะเกิดน้ำแข็งที่ท่อน้ำยาท่อใหญ่ +ท่อเล็ก และจะเป็นน้ำแข็งจนเต็มแฟนคอยล์(ตัวในบ้าน)  ทำให้น้ำหยด น้ำรั่วลงห้อง   บางท่านคิดว่าแอร์สกปรกจนเกิดน้ำแข็งจับ..ไม่เสมอไปครับ ล้างแล้วเป็นน้ำแข็งแสดงว่าน้ำยาไม่พอ อาจมีน้ำยาสัก45-55psi (ช่างบางคนเรียกปอนด์...อันนี้แล้วแต่ช่างบางคนจะเรียก..ส่วนผมเรียกแรงดันเป็นpsi)
ถ้าทนใช้ต่อไป คอมเพรสเซอร์จะเสีย เนื่องจากต้องใช้น้ำยาเป็นตัวระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ เมื่อน้ำยาไม่เต็มระบบ คอมเพรสเซอร์จะร้อน  ร้อนแล้วก็น็อค  และก็น้ำแข็งเป็นอันตรายต่อลิ้นของคอมเพรสเซอร์นะครับ

ถ้าเป็นแอร์ผนังรุ่นใหม่ๆ บางทีเป็นที่เซนเซอร์วัดอุณภูมิห้อง..กับ เซนเซอร์วัดอุณภูมิท่อน้ำยา(เซนเซอร์น้ำแข็ง)  แอร์ผนังหรือแอร์รุ่นใหม่ๆที่มียี่ห้อ จะใช้เซนเซอร์2ตัว...ยกเว้นแอร์ระบบอินเวอเตอร์จะมีเซ็นเซอร์หลายตัวที่ตัวในและตัวนอกบ้าน
ส่วนแอร์โนเนม(แอร์ประกอบเอง...ช่างบางคนใช้ของถูกประกอบจะไม่มีเซนเซอร์น้ำแข็ง)



1 แอร์ อายุ 2 ปี กว่าๆ  อยู่ในประกัน   เรียก 0
 
 2  ถ้าน้ำยาขาด  ท่อเล็ก จะเป็นน้ำแข็ง  ท่อใหญ่ (ส่วนมาก )จะแห้ง  ไมมีน้ำหยด  ถ้ามีน้ำหยดทั้ง 2 ท่อ  อย่างน้อยแอร์ต้องเย็น
 
 3  ถามก่อนเลย 2 ปีที่ผ่านมาล้างแอร์ กี่รอบแล้ว 
 
 4 ลมที่ออกมาจากคอม  ร้อนๆอุ่นๆ หรือไม่  ถ้าร้อนๆอุ่นๆ แสดงว่า น้ำยาไม่ขาด
 
 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
 ค่าซ่อม
 
 1  คอยเย็นรั่ว ไม่แนะนำเชื่อม เพราะ ไม่ชัว  ต้องเปลี่ยน ถึงชัว  ถ้างบน้อย ก็เชื่อมไป   
 2  แฟร์แตก  ค่าซ่อม  1500-1800  ( เปลี่ยนแฟร์ แว็ค เติมน้ำยา ล้างแอร์ ประกัน 3 เดือน )
 แอร์ ยังใหม่ ถ้ารั่วจริง คอยร้อนไม่น่าเป็นอะไร
 
 ช่างบอส ลำลูกกา


ที่มา: https://pantip.com/topic/32559782
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤศจิกายน 2017, 22:06:14 โดย Master »

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด


หากพบว่าท่อของเครื่องปรับอากาศด้านนอกมีน้ำแข็งเกาะ แล้วอากาศภายในห้องไม่เย็นสบายตามที่ต้องการ ซึ่งตอนแรกควรที่จะแน่ใจว่าพัดลมแอร์ไม่อุดตัน หรือควรที่จะล้างเครื่องปรับอากาศให้สะอาด แต่ควรที่จะสันนิฐานเอาไว้ก่อนเลยว่าน้ำยาแอร์ในเครื่องกำลังเหลือน้อย


ที่มา: http://www.thaiaircare.com/article/1476/