ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องน้ำยาแอร์ เป็นระบบปิดหรือไม่  (อ่าน 628 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
 น้ำยาแอร์บ้านไม่ใช่ระบบปิด 100% เหมือนกับตู้เย็น  เพราะยังสามารถเติมน้ำยาได้  และสามารถขันปล่อยน้ำยาออกได้
 แต่น้ำยาตู้เย็นถูกเชื่อมปิดตาย ไม่สามารถเติม หรือปล่อยออกมาได้
 
      น้ำยาแอร์บ้านเป็นระบบกึ่งปิด  การเดินท่อน้ำยาใช้ท่อทองแดงเป็นตัวนำ  มีจุดต่อระหว่างท่อน้ำยากับตัวแอร์ เรียกว่าแฟร์นัท
 ซึ่งเจ้า แฟร์นัท นี่แหละเป็นตัวประสานโดยนำท่อทองแดงกับตัวแอร์มาต่อกัน โดยการขันเกลียวให้แน่น   
 
     แล้วน้ำยาแอร์หายไปไหน ????
     เนื่องจากแอร์บ้านไม่ใช่ระบบปิด 100 %    แอร์บ้านก็เหมือนเหมือนแอร์รถยนต์ ที่บางครั้งอาจจะต้องมีการเติมน้ำยาเพิ่ม
 ซึ่งไม่ได้รั่ว แต่น้ำยามันลดน้อยลง   แอร์บ้านก็เหมือนกัน  ที่บางเครื่องอาจจะต้องเติม บางเครื่อง  1 ปีน้ำยาลดลง บางเครื่องใช้เวลาในการซึม 5 ปี เป็นต้น
 หรือบางเครื่องอาจจะไม่ต้องเติมตลอดอายุเลยก็มี
     
      สาเหตุที่น้ำยาหายไปจากระบบ
           1. แอร์รั่ว  แน่นอนว่าจะไม่มีน้ำยาหลงเหลือในระบบเลย
           2. ซึมตามข้อต่อ แฟร์นัท  น้ำยายังมีในระบบ แต่ไม่สามารถทำความเย็นได้  อาจจะต้องไล่ขันแน่นตามจุดข้อต่อต่าง ๆ
 
     แล้วจะเช็คด้วยตัวเองได้อย่างไรว่าน้ำยาแอร์เราน้อยลง หรือพอดี ?????
          1.  มองด้วยตาเปล่า
               ให้ดูท่อน้ำยาแอร์ ของตัว คอนแดนซิ่งยูนิต หรือที่ชอบเรียกกันว่า คอมเพลสเซอร์ ถ้าน้ำยาในระบบเหลือน้อย ท่อจะเป็นน้ำแข็ง
          2.  ใช้ความรู้สึก
               ลมเย็นที่ออกมาจากตัวแอร์ จะต้องเย็นเท่ากัน  ให้ใช้หลังมือ รับลมเย็นที่ออกมา   รูดมือไปตามช่องลม  ลมเย็นจะต้องเท่ากันทั้งฝั่งซ้ายและขวา   ถ้าเย็นไม่เท่ากันนั่นแสดงว่าน้ำยาแอร์ในระบบไม่เพียงแล้ว
 
 ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ  ช่างแอร์ไม่ได้เลวร้ายเสมอไปนะครับ



อันที่จริง ถ้าจะพูดตามหลักแล้ว น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น ที่อยู่ในระบบทำความเย็นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบแอร์ หรือตู้เย็น,ตู้แช่
 ผมว่ามันก็อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า "ระบบปิด" ด้วยกันทั้งนั้น
 ซึ่งปิดในที่นี้คือ สภาวะที่ถูกปิดผนึก ปิดกั้นจากสภาวะแวดล้อมภายนอก หรือปิดกันไม่ให้สารทำความเย็นในระบบออกมาสู่บรรยากาศภายนอก
 
 แต่จุดที่แตกต่างและเป็นประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาพูด คือ กระบวนการวิธีการปิดผนึกของระบบ ที่หลักๆสามารถแยกออกได้สองรูปแบบ
 1. ใช้การเชื่อมบัคกรีด้วยความร้อน
 2. ใช้การเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์ข้อต่อ จำพวกแฟร์นัท
 
 ในกรณีของแอร์หน้าต่าง และตู้เย็น ระบบท่อทางเดินสารทำความเย็น ส่วนใหญ่จะใช้การเชื่อมบัคกรีด้วยความร้อนแทบจะเรียกได้ว่าทั้งระบบ
 แม้แต่จุดที่น้ำยาถูกเติมเข้าไปในตอนแรก เมื่อผู้ผลิตใส่น้ำยามาให้ตามจำนวนที่กำหนดแล้ว ปลายท่อที่ใช้เติมน้ำยาก็จะถูกบีบด้วยคีมล็อก แล้วเชื่อมบัคกรีปิด
 ระบบที่ถูกเชื่อมแบบนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบที่ถูกปิดตาย ไม่ได้ออกแบบให้มีการเซอร์วิสเกี่ยวกับน้ำยาในระบบอีก
 จุดต่อต่างๆในระบบนี้ เป็นการเชื่อมบัคกรี โอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมในระยะยาวจึงเป็นไปได้ยากกว่า เมื่อเทียบกับจุดต่อแบบใช้แฟร์นัท
 แต่ในบางครั้ง จุดเชื่อมเอง ก็อาจมีการรั่วซึมได้เช่นกัน เพราะบางครั้งในระหว่างเชื่อม หากให้ความร้อนไม่ทั่ว หรือลวดเชื่อมละลายไม่สม่ำเสมอ
 ก็อาจจะมีรูพรุนขนาดเล็กมากๆเกิดขึ้น ที่ภาษาช่างเรียกว่า "ตามด" จุดนี้ก็เป็นสาเหตุให้น้ำยาซึมออกไปได้เหมือนกันครับ
 
 แต่ระบบแอร์บ้าน ในปัจจุบัน ออกแบบให้จุดเชื่อมต่อ ใช้การขันแฟร์นัด จุดนนี้อาจจะเป็นสุดอ่อนให้เกิดการรั่วซึมได้ หากติดตั้งไม่ดี
 แต่จุดเชื่อมต่อที่เป็นแฟร์นัท ถ้าระหว่างติดตั้ง มีการบานท่อให้ได้ตามรูปทรงที่กำหนด แล้วขันแฟร์นัดใส่เข้าไปด้วยแรงขันที่เหมาะสม
 ก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราบรื่น ไม่มีการรั่วซึมตลอดอายุการใช้งาน
 แต่ที่มันรั่วซึม ก็อาจจะเพราะว่าตรงหน้างานจริง ในบางครั้งก็อาจจะบานท่อออกมาได้ไม่ดี ไม่สวยงามตามแบบที่ระบุไว้ ใช้ไปสักพักก็อาจจะรั่วได้
 อีกส่วนที่น้ำยาสามารถรั่วซึมออกมาได้ ก็คือส่วนที่เป็นจุดสำหรับต่อสายเกจ หรือวาล์วลูกศร
 เพราะในวาล์วลูกศรจะมียางโอริงซีลอยู่ ซึ่งในระยะยาว ยางโอริงนี้ก็อาจจะเสื่อมสภาพจากอุณหภูมิและความดันที่มีในระบบ หากสภาพแวดล้อมเป็นใจ
 รวมทั้งฝาครอบวาล์วลูกศรปิดไม่สนิท น้ำยาก็อาจจะใช้ช่องทางนี้เล็ดลอดออกไปได้ครับ



มีข้อสังเกต  เกี่ยวกับน้ำยาแอร์รั่วหรือไม่อีกหน่อย
 
 ถ้าน้ำยาแอร์รั่ว  จะพาเอาน้ำมันหล่อลื่นออกมาด้วย น้ำยาระเหยไป  แต่น้ำมันหล่อลื่นจะค้างอยู่ ณ จุดที่รั่ว
 
 ถ้าไม่มีคราบน้ำมันเลย ก็ไม่มีเหตุอันน่าสงสัยว่าจะรั่ว
 
 จุดที่รั่ว ก็มักจะเป็นจุดต่อต่างๆ ในชุดคอยล์ร้อน คอยล์เย็น
 
 ถ้าผ่านการใช้มานานมากๆ   ก็อาจจะรั่วที่แผงคอยล์เย็น แผงคอยล์ร้อน  ก็ได้



โดยหลักการแล้วมันคือระบบปิดครับ
 แต่จุดที่เปราะบางคือจุดต่อทั้งหลาย
 
 ช่างเห็นแก่ตัวบางราย ทำวงการเสียชื่อ
 เจ้าของบ้าน รู้ไม่หมด , รู้ไม่จริง ตั้งธงเพราะกลัวถูกโกง
 
 ถ้าแอร์ไม่เย็น แล้วคอล์ยเย็นน้ำแข็งเต็มแผง ... น่าเชื่อได้ว่า ไม่มีการรั่วซึม
 แต่เกิดจากความสกปรก ลมผ่านได้น้อย น้ำที่กลั่นตัวจึงเย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง
 
 ถ้าแอร์ไม่เย็นแล้วท่อส่ง เป็นน้ำแข็ง ... ถ้าเป็นแอร์เก่าดรายเออร์จะเย็น
 อย่างนี้รั่วร้อยเปอร์เซนต์ (วัดแรงดันประกอบการวิเคราะห์)
 
 ถ้าจะให้ช่างแอร์บอกว่ารั่วที่ไหน มันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายถ้ามองไม่เห็นในที่แจ้ง ...
 แต่ถ้าช่างไม่ตรวจดูเบื้องต้นตามสมควร ก็เห็นแก่ตัวเกินไป
 
 การทดสอบหาจุดรั่ว ใช้เวลาเป็นวันนะครับ
 ประเภทเจอคราบน้ำมันแล้วฟันธงเลย ... โดนเจ้าของบ้านด่ามาก็เยอะ หาว่าทำไม่ดี
 ช่างถึงไม่อยากทำเพราะไม่คุ้ม  เสนอเปลี่ยนอย่าเดียว อย่างนี้ก็เข้าใจได้
 
 ถ้าการเข้าไปวัดแรงดันน้ำยา ถูกมองว่าช่างหาประโยชน์
 แล้วช่างดี ๆ ที่จะเขาไปวิเคราะห์อาการจะทำอย่างไรครับ
 
 สมมุติว่า แอร์ตัวนั้นเพิ่งรั่วนิด ๆ และบังเอิญสกปรกหน่อย ๆ
 แอร์ยังเย็นนะครับ แต่พอล้างสะอาด ลมผ่านดี กลับเจอปัญหาน้ำยาในระบบพร่อง
 ซัคขั่นกลับไม่พอ ... จะทำอย่างไร  ... ช่างทำไม่ดีใช่ไหมครับ
 
 ผมไม่เคยเข้าข้างช่างที่ไม่ดี และไม่เคยเห็นด้วยกับการเอาเปรียบลูกค้า
 
 แต่ในความเป็นจริง ลูกค้าชอบของถูก
 ช่างบางรายก็ต้องปรับตัว ตามสิ่งที่เขาคิดได้และเกิดการเลียนแบบในวงกว้าง
 
 เหมือนเงาะ ครึ่งกิโล 10บาท
 
 สรุปว่าปล่อยให้ช่างเขาทำ ช่างคนไหนไม่ดีก็อย่างไปจ้าง
 ร้านราคาถูก ๆ หมกเม็ดแน่นอน
 
 ถ้าช่างร้านไหนติดแพง ก็ให้เขารับประกัน
 ก็น่าจะดี
 
 ถ้าช่างเก่ง ๆ รับประกันน้ำยารั่ว 5 ปี ยังได้
 ของผมเป็น 10 ตัวตั้งแต่ปี 51 ก็ยังดีอยู่
 มีบางตัวที่รั่วบ้างครับ ...
 
 มาร่วมกันกดดัน ให้ช่างรับประกันผลงานดีกว่าไปจับผิด
 ช่างคนไหนไม่กล้ารับประกัน ... อย่าไปใช้บริการครับ วงการช่างจะได้พัฒนา
 ถ้าติดตั้งไปแล้วน้ำยารั่วภายใน 2 ปี ... ช่างควรรับผิดชอบ น้ำยาแอร์ราคาไม่ได้แพงมาก
 และต้องยอมรับอย่างจริงใจว่า ... ตัวช่างบกพร่องเอง



จริงๆแล้วบางเจ้าก็วางยาตั้งแต่ตอนติดตั้งแล้วนะครับ
 1.เอาท่อที่แถม(ท่อหนา)ไปขายต่อ เอาท่อบางติดให้ลูกค้าแทน
 -อันนี้ผมโดนเองเลย จุดที่ติดใกล้สุดแค่3เมตร ท่อเดิมพอแน่ๆๆแต่ช่างว่าชุดคอยล์ร้อนติดกับอิฐมวลเบาไม่ได้(แอร์1ตัน)
 ต้องลากสายยาว7เมตร ไม่งั้นเค้าไม่ติดให้ ถ้าไม่เย็นไม่รับผิดชอบงาน
 
 2.ข้อต่อตรงคอยล์ร้อน แอบเห็นว่าพอไขแน่นแล้วหมุนออก1รอบ
 -อันนี้ผมเห็นเองเลย รอเค้าติดเสร็จก็เอามือหมุนกลับได้ครึ่งรอบ แล้วเอาคีมล๊อคหมุนต่ออีกครึ่งรอบ
 
 3.ตอนแรกจะไม่แวคคั่มท่อ ผมบอกว่ายังไงต้องแวคคั่ม
 
 4.ตอนต่อท่อแอบทำช้าๆ ปล่อยน้ำยาออกก่อนต่อท่อ (พอถามเค้าบอกว่าใส่น้ำยาแอร์มาเยอะเกินไป)
 
 ขนาดผมติดเครื่องแรก เจอทั้ง4อาการ
 เครื่องที่สองกำลังจะติด คงต้องยืนคุมเองตลอดครับ



ที่มา: https://pantip.com/topic/33513252