ผู้เขียน หัวข้อ: ชุดแมนนิโฟลเกจ (Manifold Gauge)  (อ่าน 4868 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ชุดแมนนิโฟลเกจ (Manifold Gauge)
« เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2017, 02:33:40 »
 


การใช้งาน

    เพื่อใช้วัดความดันของสารทำความเย็นที่อยู่ในระบบ
    เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับบรรจุสารทำความเย็นเข้าระบบ
    เพื่อเป่าไล่ไอสารทำความเย็นและอากาศออกจากระบบ

หลักการ ความดันของสารทำความเย็นจะวัดได้โดยเกจความดัน 2 ตัวซึ่งประกอบเข้าด้วยกันโดยให้ท่อทางติดต่อกันเป็นชุดที่แมนนิโฟล
เมื่อเปิด/ปิดวาล์วทางด้านต่ำและด้านสูง จะสามารถดูดหรือไล่ไอสารทำความเย็นได้



ขั้นตอนในการทำงาน แมนนิโฟลเกจจะประกอบด้วยสายยาง 3 เส้น สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีแดงและมวาล์วด้าต่ำและด้านสูง

(ก) เมื่อต้องการวัดความดันทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านสูงและด้านต่ำ
     – ให้ปิดวาล์วทั้งด้านสูงและด้านต่ำ
(ข) เมื่อต้องการบรรจุสารทำความเย็น ในกรณีที่เครื่องมีสารทำความเย็นน้อยไป
     – เมื่อเปิดวาล์วด้านต่ำ และปิดวาล์วด้านสูง สารทำความเย็นจากถังเก็บสารทำความเย็นจะไหลผ่านสายยางสีเหลือบต่อไปยังด้านต่ำ และผ่านสายยางสีน้ำเงินไปเข้าระบบ ทำให้ความดันในระบบทางด้านต่ำได้
(ค)  เมื่อต้องการเป่าไล่สารทำความเย็น ในกรณีที่บรรจุสารทำความเย็นมากเกินไป
      – ให้ปิดวาล์วด้านต่ำและเปิดวาล์วด้านสูง
      – สารทำความเย็นจากระบบจะระบายออกโดยผ่านสายยางสีแดง วาล์วด้านสูง และสายสีเหลืองออกสู่ภายนอก
(ง) เมื่อต้องการทำสุญญากาศเพื่อทำให้ระบบแห้ง
      – ให้เปิดวาล์วทั้งสองทั้งด้านต่ำและด้านสูง อากาศจะถูกดูดทางสายยางสีแดงและน้ำเงินผ่านวาล์วด้านต่ำและด้านสูง สายสีเหลืองเข้าเครื่องสุญญากาศ


สูบสุญญากาศ

เมื่อระบบมีอากาศหรือความชื้นจะทำให้เกิดการขัดข้องขึ้นดังนี้

    เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
    ความเย็นลดน้อยลง
    เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ความร้อนสูง มอเตอร์คอมเพรสเซอร์อาจไหม้ได้
    เกิดการผุกร่อนภายในระบบ
    ทำให้วาล์วหรือท่อแคพพิลารี่อุดตัน
    ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ

เพื่อขจัดปัญหาดับกล่าว จะต้องทำการไล่อากาศหรือความชื้นออกจากระบบ


ที่มา: http://www.thaiaircare.com/article/1302/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
วิธีการใช้งาน เกจแมนิโฟลด์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2017, 14:10:16 »
เกจแมนิโฟลด์ (manifold gauge) คือเครื่องมือเฉพาะสำหรับช่างเครื่องทำความเย็น ใช้สำหรับการบริการและการตรวจวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ เช่น การทำสุญญากาศ การเติมสารทำความเย็น การเติมสารหล่อลื่น การตรวจวัดความดัน การหาอุณหภูมิระเหยและอุณหภูมิความแน่นของสารทำความเย็นในระบบ

การอ่านค่าบนหน้าปิดของเกจแมนิโฟลด์
การอ่านค่าของเกจแมนิโฟลด์สามารถอ่านได้จากเกจคอมปาวด์และเกจความดันสูง ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
1. เกจคอมปาวด์



 เกจคอมปาวด์ ติดตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของเกจแมนิโฟลด์ ปกติจะเป็นเกจสีน้ำเงิน ใช้ติดตั้งกับระบบทางด้านความดันต่ำ สามารถอ่านได้ทั้งค่าความดันต่ำและค่าสูญญากาศ
-ค่าความดันต่ำกว่าบรรยากาศ (vacuum) อ่านค่าได้ตั้งแต่ 0-30 นิ้วปรอท (in.Hg) ใช้สำหรับอ่านค่าความพันในระบบขณะทำสุญญากาศ ซึ่งเนค่าความดันที่เราพยายามทำให้มีค่าต่ำที่สุด เพื่อให้น้ำหรือความชื้นที่ปนอยู่ในระบบมีโอกาสเดือดกลายเนไอและถูกดูดออกจากระบบได้หมด ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างค่าความดันต่ำกว่าบรรยากาศและอุณหภูมิระเหยของน้ำ เช่น ที่ความดันบรรยากาศ (0 in.Hg หรือ 0 peig หรือ 14.696 psia) น้ำจะมีอุณหภูมิระเหยที่ 212oF แต่ถ้าลดความดันเป็น 29 นิ้วปรอท อุณหภูมิระเหยของน้ำจะมีค่า 76oF เป็นต้น
-ค่าความดันต่ำ (low pressure) อ่านค่าได้ตั้งแต่ 0-250 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้สำหรับอ่านค่าความดันด้านต่ำของระบบ
-ค่าอุณหภูมิมีระเหยของสารทำความเย็น (evaporating หรือ bolling temperature) อ่านค่าได้จากตัวเลขตามชนิดของสารทำความเย็นที่ระบุบนหน้าปัด มีหน่วยเป็น oF ซึ่งมีค่าอุณหภูมิระเหยของสารทำความเย็นนี้จะเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับค่าความดันที่อ่านได้ในขณะนั้น

2. เกจความดันสูง


เกจความดันสูง ติดตั้งอยู่ทางด้านขาของเกจแมนิโฟลด์ ปกติจะเป็นเกจสีแดง ใช้ติดตั้งกับระบบทางด้านความดันสูง สามารถอ่านค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้
-ค่าความดันสูงในระบบ (high pressure) อ่านค่าได้ตั้งแต่ 0-500 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ใช้สำหรับอ่านค่าความดันด้านสูงของระบบ
-ค่าอุณหภูมิควบแน่น (condensing temperature) ของสารทำความเย็น อ่านค่าได้จากตัวเลขตามชนิดของสารทำความเย็นที่ระบุบนหน้าปัด มีหน่วยเป็น oF ซึ่งค่าอุณหภูมิควบแน่นจะเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับค่าความดันที่อ่านได้ในขณะนั้น

ขอบคุณที่มา : วิธีการใช้งาน เกจแมนิโฟลด์