ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักกับส่วนประกอบของแอร์กันเถอะ (ฉบับผู้ใช้งาน)  (อ่าน 1080 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
เนื่องจากเมืองไทยนั้นมีอากาศที่ค่อนข้างร้อนอบอ้าวและถึงแม้จะเข้าหน้าหนาวแล้วก็ยังมีโอกาสที่จะต้องใช้เครื่องปรับอากาศอยู่ดี แต่อาจจะเป็นเพราะนิสัยของคนไทยในสมัยนี้ค่อนข้างที่จะติดกับอากาศที่เย็นสบายๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องในบ้านหรือร้านอาหารต่างๆ ในสมัยนี้ก็ต่างที่จะมีเครื่องปรับอากาศกันทั้งนั้น เครื่องปรับอากาศหรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า “แอร์” นั่นเองในที่นี้เรามาทำความเข้าใจกับการทำงานของเครื่องปรับอากาศซึ่งแบ่งการทำงานหลักๆ ออกเป็น 4 หลักคือ



Evaporator หรือเรียกง่ายๆ ว่าเครื่องระเหย ซึ่งหากถามช่างแอร์จะรู้จักกัน คอล์ยเย็น การทำงานของมันนั้นคือ การดูดความร้อนจากภายในรอบของห้อง จะใช้มอเตอร์พัดลมเพื่อดูดเข้ามาผ่านช่อง retumair โดยมีตัวกรองฝุ่นออกไปก่อน ความร้อนที่ถูกดูดเข้ามาจะมาผ่านกับคอล์ยเย็นซึ่งมีน้ำยาแอร์ที่เป็นของเหลว ที่มีอุณหภูมิที่ติดลบอยู่แล้วโดยวิ่งผ่านท่อ จึงเกิดการระเหยออกมาเป็นไอ




Condenser หรืออีกชื่อคือเครื่องควบแน่น แต่ช่างแอร์จะเรียกว่า คอล์ยร้อน ซึ่งจะทำหน้าที่รับไอร้อนที่ถูก Compressor อัดจนร้อนและอุณหภูมิสูงขึ้น เข้ามาในพื้นที่จากไอที่มีอุณหภูมิสูง พอมาเจอกับอากาศภายในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยความร้อนจึงถูกถ่ายออกไปโดยไอร้อนนั้นจะควบแน่นกลายเป็นของเหลว (แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง) ซึ่งจะมีพัดลมเป็นตัวช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อกลายเป็นของเหลวแล้วนั้นจะสามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีกด้วย แต่เมื่อของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิที่มันสูงอยู่ มันทำให้ห้องลดอุณหภูมิไปตามอัตโนมัติ



Compressor คือเป็นเครื่องอัดไอ ซึ่งการทำงานหรือหน้าที่จริงๆ ของมันก็คือ การดูดไอ ในแรงดันต่ำมันจะเกิดจากการระเหยภายในใน Evapporator หรือคอล์ยเย็น ซึ่งจะทำการอัดอากาศให้เป็นไอด้วยแรงดันสูง อุณหภูมิสูงหลังจากนั้นจะส่งไประบายความร้อนผ่านท่อต่อไปอีกด้ว



Capillary Tube อีกชื่อที่เรียกเป็นภาษาไทยคือ ท่อลดแรงดัน (ท่อรูเข็ม) สำหรับช่างแอร์นั้นจะเรียกติดปากง่ายๆ ว่า แค๊ปทิ้ว จะทำหน้าที่ลดแรงดันของน้ำยาแอร์ ที่ถูกระบายความร้อน มีอุณหภูมิสูงแบบแรงดันสูง เมื่อผ่านทางท่อรูเข็มหรือ Capillary Tube ซึ่งทำให้ของเหลวอั้นซึ่งผ่านได้น้อย มีอุณหภูมิลดลงและแรงดันลดลง น้ำยาแอร์และไหลมาพอดีให้เหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็นเพื่อที่รับความร้อนในห้องอีกครั้งหนึ่ง


ซึ่งการทำงานที่อธิบายสั้นๆ ได้ว่า
 Compressor คือการทำหน้าที่ขับเคลื่อนด้วยสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในระบบ ซึ่งทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและมีความดันสูงขึ้น
 Condenser คือทำหน้าที่ระบายทั้งความร้อนของสารทำความเย็นที่จะเรียกว่า คอยล์ร้อน
 Evaporator คือทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องหรือบริเวณนั้นมาสู่สารความเย็น ซึ่งจะเรียกว่า คอยล์เย็น
 Capillary Tube คือทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำยาแอร์ ทั้งหมดนี้คือการทำงานของเครื่องปรับอากาศเบื้องต้นที่ควรทราบค่ะ

ซึ่งผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเดิมได้ในบทอื่นๆ เพื่อเป็นอีกตัวเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศหรือการบำรุงรักษาเบื้องต้นที่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามนะคะ

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%96%e0%b8%ad%e0%b8%b0-%e0%b8%89%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/